“ITD” ดิ้น !  ยื่นหนังสือ แจงบอร์ดอุทธรณ์ ไฮสปีดไทย-จีน

20 ต.ค. 2563 | 15:03 น.

อิตาเลียนไทย ส่งข้อมูล ถึง ปลัดคลัง ประธาน บอร์ด อุทธรณ์ ดักคอ บริษัท บีพีเอ็นพีจำกัด ซึ่งมีบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ร้อง ขอความเป็นธรรม รถไฟไทย-จีน งานประมูลสัญญา3-1  งานโยธา  มูลค่า 1.1หมื่นล้านบาท ถูกปรับตกคุณสมบัติ ไม่เป็นธรรม ทั้งที่เสนอราคาต่ำสุด  

 

 

 

 

 

 มติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ดรฟท.) คัดเลือก   บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)  หรือ ITD  คว้า งานประมูลสัญญา3-1  งานโยธา ช่วง แก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30กิโลเมตร  มูลค่า 1.1หมื่นล้านบาท  โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน  สร้างความงุนงงให้กับ บริษัท บีพีเอ็นพีจำกัด บริษัทกิจการร่วมค้า ซึ่งมีบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่  

เสนอราคา ต่ำสุด  9.33พันล้านบาท เฉือนชนะ ITDไปเพียง 19 ล้านบาท แต่กลับถูกปรับตกคุณสมบัติ ทั้งที่ คณะกรรมการ พิจารณา ผลประกวดราคาโครงการรถไฟไทย-จีน ที่มีนายเอก สิทธิเวคิน รองผู้ว่ารฟท.เป็นประธานที่มีมติเอกฉันท์ว่าคุณสมบัติบีพีเอ็นพีถูกต้องตามเงื่อนไข TOR

 ส่งผลให้ บริษัทนภาก่อสร้าง ยื่นอุทธรณ์ ไปยัง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และข้อเรียกร้อง กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง ที่มี นาย กฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน

เพื่อขอความเป็นธรรม       และมีแนวโน้ม  ว่าบอร์ดอุทธรณ์ ฯ อาจ   มีคำสั่งให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ยืนคุณสมบัติ บริษัท บีพีเอ็นพี ว่าไม่สมควรปรับตก เหมือนกับ   สัญญา3-4    ที่ บอร์ดอุทธรณ์ กรมบัญชีกลางเคยชี้ขาดว่า บีพีเอ็นพี  ผ่าน คุณสมบัติ

   

 

 

  ส่งผลให้ ITD  ต้อง มีหนังสือ  ซึ่ง ทำขึ้นเป็นข้อมูล ส่งให้ ปลัดกระทรวงการคลัง เพื่อนำไปพิจารณา ประกอบการอุทธรณ์ของ บรษัท บีพีเอ็นพี ที่อยู่ระหว่างพิจารณา เนื่องจาก สัญญา3-1 เป็นโครงการใหญ่ มีมูลค่าสูง มองว่า ผู้รับเหมา ทุกรายต้องการได้งาน

 สำหรับ รายละเอียด ของ หนังสือ ที่ ITD ส่งในนาม  กิจการร่วมค้า  ITD-CREC NO. 10 ('ITD-CREC No.10 V) ในฐานะผู้อื่นข้อเสนองานประกวด มีสาระสำคัญ ดังนี้

ราคาจ้าง ก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่งรัฐบาลแห่ราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสรารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วง แก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า

ด้วยวิธีประกวดรคาอิเล็กทรอนิกส์ (-biddig) "งานสัญญาที่ 3-1 ซึ่งต่อมารฟท.ได้ออกหนังสือประกาศ ฉบับลงวันที่ 15 กันยายน 2563 แจ้งว่า ITD-CREC No.10 V เป็นผู้ชนะการเสนอราคางานดังกล่าว หาก

แต่จากข้อมูลที่ปรากฏในสื่อต่างๆ ที่ทราบโดยทั่วกันว่า บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด ในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท บีพีเอ็นพี

"บริษัท บีพี่เอ็นพี จำกัด" ซึ่งเป็นหนึ่งผู้ขอประกวดราคาสัญญาที่ 3-1 ได้ยื่นอุทธรณ์โต้แย้งผลการประกาศผู้ชนะการเสนอรคงนสัญญาที่ 3-1 ของ รฟท. ดังกล่าว (ผู้อุทธรณ์) เนื่องจากถูกตัดสิทธิ เพราะไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ

ในการยื่นข้อเสนอโดย ข้อมูลที่ปรากฎในสื่อ นั้น รฟท. จะรายงานความเห็นให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ("คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ) พิจรณา ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้งและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระบุไว้ว่า ในกรณีที่ รฟท. ไม่เห็นด้วยไม่ ว่า จะทั้งหมดหรือบางส่วน ของการอุทธรณ์ ก็ให้รายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ได้

ข้าพเจ้า ITD CREC No.10  จึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากการยื่นอุทธรณ์ของผู้อื่นอุทธรณ์ดังกล่าว และทราบว่าตามชั้นตอนที่กำหนดไว้ตาม พรบ. ดังกล่าว หาก รฟท. ไม่เห็นด้วยไม่ทั้งหมดหรือบางส่วน รฟท.สามารถทำรายงานความเห็น พร้อม เหตุผล ไปยังคณะกรรมกรรการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนได้ ประกอบกับจาก ประสบการณ์อันยาวนานในการเข้าร่วม เสนอ ราคางานโครงการต่างๆ ต่อภาครัฐ ของ บริษัท อิตาเลียนไทย  ซึ่งเป็นสมาชิกของกิจการร่วมค้า ITD-CREC No. 10   และเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการยื่นข้อเสนองาน สัญญาที่ 3-1  ข้าพเจ้า มีความเข้าใจโดยตลอดว่าคุณสมบัติของผู้เข้าประกวดราคาถือเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งในการ ตรวจสอบและพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดและงื่อนไขขอบเขต งานสัญญา ในการดำเนินงาน โครงการของภาครัฐให้สำเร็จลุล่วงตามมาตรฐานและเกิดความเป็นธรรมต่อผู้ยื่นประมูลทั้งหมด ดังนั้นผู้เข้าประกวดราคา

งานสัญญาที่ 3-1 จะต้องปฏิบัติตามขอบเขตของงานสัญญาที่ 3-1 ("Torms of Reforence" หรือ "TOR'") อย่างเคร่งครัดโดยไม่มีข้อยกเว้น

ข้าพเจ้าจึงใคร่ขอรายงนชี้แจงข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงมายังท่าน เพื่อประกอบการพิจารณาการอุทธรณ์ของผู้ยื่น อุทธรณ์ ดังนี้

1.การพิจารณาสถานะบริษัทของผู้ยื่นข้อเสนอ จากการสืบค้นข้อมูลที่ กรมพัฒนรุกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์ พบ ผู้อุทธรณ์จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติ

บุคคลในรูปแบบ "บริษัทจำกัด" ต่อกรมพัฒนาธุกิจการค้า  กระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 30 มษายน 2562 โดยมีข้อสังเกต ประกอบการพิจาณาดังนี้  คือ มีทุนจดทะเบียนบริษัท จำนวน 5,000,000 บาท ผู้ถือหุ้นจำนวน 3 ราย โดยหนึ่งในผู้ถือหันนั้นเป็นบุคคลธรรมดา วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท มิได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการในรูปแบบกิจการร่วมค้า แต่อย่างใด

ทั้งนี้ จากที่ทราบโดยทั่วไปว่าผู้อุทธรณ์ ตั้งนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัดดังกล่าวนี้ในการยื่นข้อเสนองานสัญญาที่ 3-1 จึงเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันในการประกวดราคาครั้งนี้ว่า ผู้อุทธรณ์ได้ยื่นข้อเสนองานประกวดราคาในรูปแบบของนิติบุคคลรายเดียว และเป็นที่คาดหมายได้ว่า ผู้อุทธรณ์ ลงทะเบียนในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e - GP) ของกรมบัญชีกลางแบบ "บริษัทจำกัด" ไม่ใช่แบบ "กิจการร่วมค้า" ซึ่งมีข้อสังเกตเรื่องความถูกต้องครบถ้วนตามที่ TOR กำหนด ดังนี้ คือ การพิจารณาคุณสมบัติของผู้อุทธรณ์ จึงต้องนำเอาหลักเกณฑ์ของผู้ยื่นข้อเสนอในรูปแบบ "นิติบุคคลรายเดียว" มาพิจารณา ซึ่งรวมถึง (ก) คุณสมบัติผู้ถือหุ้น และ (ช) ผลงานก่อสร้งของผู้อุทธรณ์ ที่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด และเงื่อนไขของ TOR ข้อ 3:10 ระบุว่า "ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีผลงาน ก่อสร้างประเภทเดียวกันกับงานที่ประกวดราคาจ้างก่อสร้างในวงเงินไม่น้อยกว่ 1,106,000,000.00 บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยหกล้านบาทถ้วน) และเป็นผลงานที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงกับหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานเอกชนที่รฟท.เชื่อถือ"

 

 

 

 

หากผู้อุทธรณ์ไม่ ยื่นเอกสารแสดงผลงานก่อสร้าง ตามข้อกำหนดดังกล่าวในนามของ "บริษัท บีพีเอ็นพี

จำกัด" ในการประกวดราคาครั้งนี้ ก็จะถือว่าผู้อุทธรณ์ (ซึ่งยื่นข้อเสนอในรูปแบบนิติบุคคลรายเดียว) มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ตามที่กำหนดใน TOR

อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ ฯ จะพิจรณาสถานะของผู้อุทธรณ์ โดยอาจตั้งข้อสันนิษฐานว่าผู้อุท ธรณ์มีความประสงค์จะยื่นข้อเสนอในรูปแบบ "กิจการร่วมค้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่" ก็จะเกิดปัญหาในการพิจารณา สถานะ ของผู้อุทธรณ์ ว่า แท้จริงแล้วผู้ อุทธรณ์ประสงค์จะยื่นข้อเสนอในรูปแบบนิติบุคคลรายเดียวหรือในรูปแบบกิจการร่วมค้า  จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ทำให้ติดปัญหาความลักลั่นในการพิจารณาสถานะของผู้อุทธรณ์ และสร้างความไม่เป็นะรรมให้แก่ผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นที่ปฏิบัติตาม TOR กำหนดอย่างเคร่งครัด เป็นต้น