"นายก" ลงพื้นที่ติดตามแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ

24 ก.ย. 2563 | 12:10 น.

"บิ๊กตู่"ลงพื้นที่เชียงราย ติดตามแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ ด้านกระทรวงเกษตรฯโดยกรมปศุสัตว์ นำเสนอภาพรวมพร้อมแนวทางและนโยบาย

วันที่ 24 กันยายน 2563  พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดตามสถานการณ์การป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควัน - ไฟป่า ในการนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเสนอภาพรวมของกระทรวงฯในการแก้ไขปัญหาหมอกควันไฟป่าพื้นที่การเกษตร ดังต่อไปนี้


โดยกรมปศุสัตว์นำเสนอข้อมูลวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ในภาพรวมทั้งหมด การทำนาข้าว ในเชียงราย 1.3 ล้านไร่ มีวัสดุหลือใช้ 500 กก/ไร่ และการปลูกข้าวโพดประมาณ 300,000 ไร่มีวัสดุเหลือใช้700กก./ไร่ สถานการณ์การปลูกพืชทั้ง 2 ชนิด และการบริหารจัดการวัสดุเหลือจากการเกษตรเพื่อไม่ให้เผาจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่น กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมวิชาการเกษตร ฯ

 "นายก" ลงพื้นที่ติดตามแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ
นอกจากนั้นแล้วกรมปศุสัตว์ได้จัดนิทรรศการการดำเนินการในการแก้ไขปัญหา ดังกล่าว ดังต่อไปนี้
 

1. การบริหารจัดการส่วนของวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่เกี่ยวของด้านปศุสัตว์ เพื่อลดการเผา โดยจัดการฟางข้าว และเปลือกใบข้าวโพด  อัดไวแบบป็นเสบียงอาหารสัตว์ปี 2563 ผลิตฟางอัดก้อนได้ ทั้งหมด จำนวน 2, 176,000 ก้อน คิดเป็น 43,520ตัน สามารถ ลดการเผาได้ประมาณ 87,040 ไร่ และ การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยนำไปเป็นอาหาร โค-กระบือแพะแกะ และผลิตอาหารTMR ใช้เลี้ยงโคเนื้อและโคนมในพื้นที่จังหวัดเชียงราย

 

 "นายก" ลงพื้นที่ติดตามแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ
2. การจัดนิทรรศการมีชีวิตประกอบด้วยจัดแสดงสาธิตการอัดฟาง/เปลือกข้าวโพดจัดแสดงสาธิตการผสมอาหาร TMRจัดแสดงโคเนื้อพันธุ์ลูกผสม บีฟ มาสเตอร์แสดงนิทรรการเกี่ขวกับสูตรอาหารสัตว์และแสดงคุณคำโภชนะของฟางข้าว

 

ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก มีการส่งเสริมสนับสนุนและถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรและนำเสนอทางเลือกให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อลดการเผา ได้แก่ การไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน คืนชีวิตให้ดิน และนำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นๆ ที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ทดแทนปุ๋ยเคมี 
 

นอกจากนี้ยังสามารถนำเศษวัสดุการเกษตร มาใช้เลี้ยงสัตว์ เช่น นำมาอัดก้อน หรือนำมาทำอาหารหมักเลี้ยงโค เป็นต้น