70 ปี THAICID  นวัตกรรมชลประทาน สู่ความยั่งยืน

13 ส.ค. 2563 | 10:35 น.

THAICID จัดประชุมวิชาการ “70 ปีแห่งความมุ่งมั่น คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายนํ้า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายนํ้าแห่งประเทศไทย (THAICID) จัดประชุมวิชาการ 13th THAICID National Symposium 2020 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 ภายใต้หัวข้อหลัก "70 ปีแห่งความมุ่งมั่น คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการชลประทานและการระบายนํ้า (ICID) และคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายนํ้าแห่งประเทศไทย (THAICID) ในการเป็นองค์กรเครือข่ายสนับสนุนภารกิจ เพื่อมุ่งสู่อนาคต ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมิติที่ 6 มุ่งเน้น การสรรสร้างนวัตกรรมในการจัดการนํ้าชลประทานและการระบายน้ำ"

 

  70 ปี THAICID   นวัตกรรมชลประทาน  สู่ความยั่งยืน

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ประธานคณะกรรมการการชลประทานและการระบายนํ้าแห่งประเทศไทยกล่าวเปิดการประชุมผ่านระบบ e-Symposium ถ่ายทอดสดจากสถาบันพัฒนาการชลประทาน​​ มีอาจารย์วสันต์ บุญเกิด​ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันพัฒนาการชลประทาน และประธานคณะอนุกรรมการด้านนํ้าและระบบนิเวศของนาข้าว (INWEPF) ประจำประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความยินดีในวาระครบรอบ 70 ปี ของ ICID และ THAICID ในการนี้​ นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์​ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการ THAICID ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา​ผ่านทาง Live onstage ณ Studio ชั้น 2 อาคารเรียน 2 สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชล ประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 

70 ปี THAICID   นวัตกรรมชลประทาน  สู่ความยั่งยืน

 

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน​ กล่าวว่า การจัดประชุมวิชาการของ THAICID มีวัตถุประสงค์หลักในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นวัตกรรมต่างๆ ของงานชลประทานและการระบายนํ้าของประเทศไทย ซึ่งมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปี พ.ศ. 2563 นี้ เป็นวาระ 70 ปี ของ ICID และ THAICID ถือเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่เราต้องการ ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติมิติที่ 6 มุ่งเน้นการสรรสร้างนวัตกรรมในการจัดการนํ้าชลประทานและการระบายนํ้า 

 

70 ปี THAICID   นวัตกรรมชลประทาน  สู่ความยั่งยืน

 

การจัดงาน THAICID Symposium ในทุกครั้งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดต่างต้องอาศัยการพัฒนาเทคนิคความรู้ในเชิงวิทยา ศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ จากเครือข่ายให้ดำเนินควบคู่ไปอย่างใกล้ชิดกับกระบวนการสร้างวัฒน ธรรมระหว่างสมาชิกในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชน ซึ่งการเติบโตขึ้นของชุมชนจะควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาพร้อมหาแนวทางการป้องกันโดยมิได้อยู่แยกขาดจากบริบททางสังคมการเมือง หากแต่ความรู้ดังกล่าวนั้นล้วนแล้วแต่เป็นผลผลิตจากการปรับตัวเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หรือ Disruption to the New normal ทั้งสิ้น

 

70 ปี THAICID   นวัตกรรมชลประทาน  สู่ความยั่งยืน

 

ดังจะเห็นได้จากการเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานการประชุมทางวิชาการ จากรูปแบบเดิม มาเป็นรูปแบบ Online e-Symposium โดยใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนผ่าน Digital Platforms มาช่วยให้การดำเนินงานทางวิชาการในครั้งนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจหลักของ THAICID อย่างมีประสิทธิภาพ และคงการเป็นประเทศศูนย์กลางแห่งวิชาการด้านการชลประทานการระบายนํ้าและสาขาที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคที่มีเครือข่ายกว้างขวางทั้งใน และต่างประเทศอย่างยั่งยืน

 

หน้า 9 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,600 วันที่ 13 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2563