แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

15 ก.ค. 2563 | 13:10 น.

แกะรอย 13 พืช ตามบัญชีวัตถุอันตรายชนิด2 พ.ศ. 2556 พบมีจริง แต่เป็น “สารสกัด” เท่านั้น “กรมวิชาการเกษตร “ แจงไม่เคยขึ้นทะเบียนสมุนไพร ขึ้นบัญชีวัตถุอันตราย คาด รมช.พูดไม่หมด

วันที่ 15 กรกฎาคม 2563 จากกรณีที่ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงกรณีพืชสมุนไพร 13 ชนิด คือ สะเดา ชา/กากเมล็ดชา ข่า ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายหยาก ถูกล็อคมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 -2556 จึงต้องการปลดล็อกเพื่อให้เกษตรกรใช้ได้

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

แหล่งข่าวกรมวิชาการเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า  หลงกลแล้วความจริงต้องการที่จะแก้กฎหมายเพื่อให้ทำสารชีวภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องการตรวจสอบ เกษตรกรก็ถูกหลอกต่อไป ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ก็ไม่ได้ให้สมุนไพร 13 ชนิด อยู่ในวัตถุอันตรายอยู่แล้ว ชาวบ้านที่เอามาทำน้ำหมักใช้ในฟาร์มเอง ไม่ได้ห้าม ไม่ผิดอยู่แล้วยกเว้นพวกที่เอามา สกัดทำการค้า เป็นพวกชีวภัณฑ์ อันนั้นต้องไปขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่2

 

อย่างที่ทราบพวกที่ทำการค้าสารขีวภัณฑ์ ก็จะเอาสารเคมีไปผสม เพื่อให้ประสิทธิภาพดีที่เค้าจะทำการปลดล็อกก็จะเอาสารชีวภัณฑ์ที่สกัดจากพืช ที่ใช้ฆ่าหญ้า ฆ่าแมลงจากวัตถุอันตรายชนิด2 เป็นวัตถุอันตรายชนิด1  คราวนี้ก็สบาย  ทำการค้า แบบจะผสมอะไร ก็ได้ลงไปในสารชีวภัณฑ์ เพราะ "ไม่ต้องถูกตรวจสอบ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อเท็จจริง ขึ้นทะเบียน "13 สมุนไพร" เป็น "วัตถุอันตราย" ชนิดที่ 1

ปลดล็อกพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เอื้อใคร?

ค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิด ค้านประกาศสมุนไพร 13 ชนิด "สะเดา-ขมิ้นชัน-พริก" เป็นวัตถุอันตราย

ทำความรู้จัก “ตะไคร้” หลังจ่อถูกขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย

ยกเครื่องรื้อบัญชีวัตถุอันตรายใหม่

 

ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ไม่ได้ให้สมุนไพร อยู่ในประเภทวัตถุอันตรายชนิดที่2 มีแต่สารชีวภัณฑ์ที่สกัดมาทำเชิงการค้า มาผสมสารตัวอื่นๆ ที่ต้องอยู่ประเภท 2 เพราะต้องควบคุมว่า ที่สกัดออกมา และเอามาผสมสารตัวอื่น มันปลอดภัยไหม ใช้ได้ไหม ในข่าวก็มีให้เห็นว่า สารชีวภัณฑ์ยัง ใส่พาราควอต ไกลโฟเซต เลยนี่แหละถึงต้องควบคุม ไม่งั้นเกษตรกรโดนหลอกแล้วนี้ยังมาหลอก เรื่องสมุนไพรอีก เพราะ ต้องการให้สารชีวภัณฑ์ ไปอยู่ประเภท1 ไม่ต้องขึ้นทะเบียน เรียกว่า "โดนหลอก" ทั้งประเทศ

 

“ย้ำว่า มีแต่สารสกัดสะเดา กากชา และ ตะไคร้ ที่ผ่าน "กระบวนการสกัด" เท่านั้นที่เป็น วอ.2 ส่วนพริก ข่า ตะไคร้ ขมิ้น ดองดึง สาบเสือ ไม่เคยระบุว่าต้องขี้นทะเบียน เพราะกรมขอถอน วอ.1 ไปตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้ชาวบ้านทำใช้เอง  แต่ถ้าขายเป็นสารสกัดต้องขึ้นทะเบียน ดังนั้น สารชีวภัณฑ์ที่สกัดมาจากสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ที่มาทำเชิงการค้า จะจัดอยู่ในวัตถุอันตรายประเภท2 ที่ต้องขึ้นทะเบียน ส่วนที่ "เกษตรกร" เอาสมุนไพรมาทำภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำกันเอง ใช้เอง อันนั้นไม่ได้ห้ามอยู่แล้ว และ "ไม่จัดเป็นวัตถุอันตราย" ด้วย”

 

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

 

ผู้สื่อข่าว “ฐานเศรษฐกิจ” เปิดบัญชีวัตถุอันตรายชนิด2 พ.ศ. 2556  บัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม วัตถุอันตรายชนิดที่2 สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้ หอม ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช ต้องผ่านกระบวนการ

 

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะมีการควบคุมหากทำในเชิงการค้า หรือ พาณิชย์ เนื่องจากมีการหลอกลวงเกษตรกรจำนวนมาก โดยนำผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ที่อ้างว่าผลิตจากสมุนไพร แต่ไม่ได้มาตรฐานมาหลอกขายให้เกษตรกร เมื่อใช้ไม่ได้ผล ไม่สามารถตรวจสอบกลับได้ว่าผลิตจากไหน ใครเป็นผู้ผลิต ดังนั้น เมื่อมีการกำหนดให้ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อการจำหน่าย ทำให้ สามารถตรวจสอบกลับได้ว่าใครผลิต, มีพืชอะไรและมีสารออกฤทธิ์อย่างไร หากมีการหลอกลวงจะสามารถเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้ แต่ถ้าทำใช้เองในครัวเรือน ปกติเกษตรกรใช้ทำอยู่แล้ว

 

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

แหล่งข่าวคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวว่า มีเงื่อนงำที่ต้องตรวจสอบหลายประเด็น ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2552 ให้ ผลิตภัณฑ์จากชิ้นส่วนพืชซึ่งไม่ผ่านกรรมวิธีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเฉพาะที่นำไปใช้ป้องกัน กำจัด ทำลาย ควบคุม แมลง วัชพืช โรคพืช ศัตรูพืช หรือควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ สะเดา ชา/กากเมล็ดชา ข่า ขิง ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม สาบเสือ ดาวเรือง พริก ขึ้นฉ่าย ชุมเห็ดเทศ ดองดึง และหนอนตายยาก เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1

 

หลังมีประกาศฉบับนี้ได้ถูกภาคประชาชนร้องเรียนให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณายกเลิกให้ถอดพืชสมุนไพรข้างต้นออกจากการเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 และประกาศฉบับนี้ได้ยกเลิกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2538 ที่ประกาศให้ สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ให้ประกาศเป็น วัตถุอันตรายชนิดที่ 1 แทน ต่อมา ได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2556 ให้สารสกัดจากพืช เช่น สะเดา ข่า ตะไคร้หอม เพื่อประโยชน์ในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 อีกครั้ง

 

“สังเกตปี 2556 เพิ่ม 3 ชนิดสมุนไพร เท่านั้น  แต่พืชสมุนไพร 10 ชนิด อยู่ลอย ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทวัตถุอันตราย ทำไม จึงจะมาเพิ่มบรรจุทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่1 ต้องให้ชัดว่า คือ สมุนไพรที่ผ่านกระบวนการสกัด "

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

ขณะที่เพจสมาคมสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย วิจารณ์สนั่น ต่อเรื่องดังกล่าวนี้ ใครจะรับประกันได้ว่า ในอนาตค จะไม่เจอปัญหา????"สาบเสือ"...ผสมพาราควอต ไกลโฟเซต ???? "ตะไคร้หอม"....ผสมคลอร์ไพริฟอส เมื่อ 6 ปีก่อน เคยมีสารสกัดใบยูคาลิปตัส ผ่านการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตรเป็น วอ. 2 ชื่อการค้าว่า "กรีนเบิร์น" และ "คิวสตาร์" ต่อมา มีคนสงสัยว่าตายเร็วเหมือนสารพาราควอต เลยส่งไปตรวจวิเคราะห์ พบว่ามีพาราควอตผสมอยู่ 4-5% หลอกขายให้เกษตรกรทำอินทรีย์

 

เช่นเดียวกับแฟนเพจ วิจารณ์

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

 

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร

 

 

ขณะที่แอพพลิเคชั่นไลน์สื่อมวลชนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชีัแจงกรณีพืชสมุนไพร 13 ชนิด

แฉ “พูดไม่หมด” ปม 13 พืชสมุนไพร