ความเชื่อมั่นฯปรับตัวดีขึ้นในรอบ14เดือน

09 ก.ค. 2563 | 08:31 น.

ดัชนีหอการค้าไทยเดือนมิถุนายน2563ปรับขึ้นจากเดือนก่อนอยู่ที่31.5 ถือเป็นการปรับตัวดีขึ้นในรอบ30เดือน  แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50ทุกรายการ  สะท้อนความเชื่อมั่นผู้ประกอบการยังกังวลปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอลง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือน มิ.ย.63ปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 31.5 ปรับตัวครั้งแรกในรอบ 14 เดือนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2562 แต่ตัวเลขดัชนีที่ต่ำ50 ทุกรายการ ยกเว้นภาคที่มีการค้าชายแดน แต่ก็ยังถือว่าเศรษฐกิจอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงจากผลกระทบจากการระบาดไวรัสโควิด-19ดังนั้นปัจจัยที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการได้นอกจากรัฐบาลจะมีมาตรการผ่อนคลายแล้วต้องเร่งนำงบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจลงสู่ระบบให้เร็วที่สุดภายในไตรมาสที่ 3 และมาตรการสร้างความเขื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชน เป็นต้น

ความเชื่อมั่นฯปรับตัวดีขึ้นในรอบ14เดือน

ผู้ประกอบการเห็นว่ารัฐบาลต้องเร่งมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเม็ดเงิน 100,000 ล้านบาทที่ครม.เพิ่งเห็นชอบหากสามารถเร่งโครงการต่างๆของภาครัฐไปในพื้นที่ให้มากขึ้นเพื่อสร้างงานในระบบ เช่น ภาคการเกษตร ต้องเป็นประโยชน์ต่อคนในพื้นที่ เป็นต้นก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้เพิ่มอีก0.3-0.5% อย่างไรก็ตามหากมีล๊อต 2 ตามมาอีกด้วยการเพิ่มเงินอีก 100,000 ล้านบาท รวมถึงโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาลที่มีงบประมาณ 20,000 ล้านบาท และเงินจากเอกชน ทั้งโครงการปันสุข โครงการแทรลเวล บับเบิล รวมวงเงินทั้งหมดที่ลงไปกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 250,000-350,000 ล้านบาทก็จะกระตุกเศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 0.6 - 1 %

 

“ส่วนไตรมาสที่ 4 จะมีเรื่องของงบประมาณปี 64 ที่เร่งจัดสรรได้ตามกกรอบ รวมถึงการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 63 ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าเศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4 และพยุงเศรษฐกิจไทยไม่ให้ทรุดลงไปได้ แต่หากไม่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 หรือดำเนินการล่า ช้า ไม่มีมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องทางการเงินของเอสเอ็ม ก็จะเห็นภาพของการปลดแรงงานเป็นล้านคน เกิดภาวะเกิดหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลในผู้ประกอบการเอสเอ็มอี หนี้ครัวเรือนที่มีมากขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจจะติดลบ 8-9 % แต่หากรัฐบาลอัดเงินได้ตามที่คาดไว้เศรษฐกิจก็จะขยายตัวติดลบ 5-6 % และความเชื่อมั่นผู้ประกอบการก็จะกลับมา”

ในส่วนของการท่องเที่ยวนั้นผู้ประกอบการมองว่าเริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะภาคกลาง เห็นได้จากเมื่อช่วงวันหยุดต่อเนื่องประชาชนเดินทางไปท่องเที่ยวมากขึ้นทั้งในแบบไป กลับและค้างคืน โดยการเดินทางไปแบบการขับรถและโดยสารเครื่องบินที่มากขึ้น แต่ยอมรับว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศยังไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวไทยมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการเห็นพ้องกันว่า หากจะฟื้นการท่องเที่ยวต้องนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ จากโครงการแทรลเวล บับเบิล ภายใต้ที่ไม่มีความเสี่ยงจากโควิด-19 ก็จะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้เป็นระดับ

 

 

 สำหรับข้อเสนอของผู้ประกอบการใน5 ภูมิภาค คือ เร่งกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวเน้นการเจาะตลาดนักท่องเที่ยวที่มีรายได้สูง, เร่งช่วยเหลือผู้ว่างงาน, เร่งมาตรการช่วยเหลือธุรกิจเพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินการได้, มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินในภาวะตึงตัวจากการหยุดกิจการชั่วคราวในช่วงที่ผ่านมาและเร่งพิจารณาการเปิดด่านสำหรับสินค้าตามแนวชายแดนอย่างเต็มรูปแบบเพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว