อุทยานฯดัน “ถ้ำนาคา”แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศใหม่หลัง โควิด

28 พ.ค. 2563 | 10:43 น.

  “ถ้ำนาคา- น้ำตกตาดวิมานทิพย์” เส้นทางเชิงนิเวศแห่งใหม่  กระหึ่ม  อุทยานภูลังกา เสนอกรม –กระทรวงทรัพยฯ พัฒนาสาธารณูปโภค –บ้านพักรองรับ ผู้มาเยือน บูมท่องเที่ยวหลังรัฐบาลคลายล็อก

 

 

 

 

  

  

กระหึ่มโลกโชเชียว สำหรับ “ถ้ำนาคา  “ และ”น้ำตกตาด วิมานทิพย์แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แห่งใหม่ ที่ซุกซ่อนตัวกลางป่าลึก บริเวณแนวหน้าผา ทางลง วัดชัยมงคล หรือสำนักปฏิบัติธรรมถ้ำ ชัยมงคลภูลังกา ภายในเขตอุทยาน แห่งชาติ ภูลังกาเขต   อำเภอ บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬซึ่งถูกค้นพบโดยบังเอิญ จากนักท่องเที่ยวต่างถิ่น ก่อนหน้าที่จะเกิดการระบาดของไวรัสโคโร นาหรือโควิด-19   เมื่อรัฐบาลเตรียมคลายล็อกดาวน์ ระยะ3และระยะ4  จึงเกิดการแชร์ภาพกระตุ้นต่อม นักเดินทาง  ด้วย จุดเด่นลักษณะหิน เป็นรอยแตก ระแหงคล้ายเกร็ดของงูใหญ่ คด เป็นเกลี้ยวพันรอบภูผาสูง สร้างความแปลกประหลาด ยิ่งให้กับ ผู้พบเห็น  เชื่อว่า นับจากนี้ จะมีนักท่องเที่ยวนักแสวงโชคเดินทางไปสัมผัสเป็นจำนวนมาก  ซึ่งข้อดี เปิดสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆกระจายเม็ดเงินเข้าพื้นที่ขณะข้อเสียหาก ดูแลไม่ทั่วถึงเกรงว่าผื่นป่าธรรมชาติ ที่สดปลั่งอาจถูกทำลายลง ด้วยฝีมือมนุษย์

อุทยานฯดัน “ถ้ำนาคา”แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศใหม่หลัง โควิด

“ฐานเศรษฐกิจ”สอบถาม นายพันธ์ยศ กีรติพงศ์ศักดา  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูลังกา สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช   อธิบายว่า    พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ ภูลังกา  เป็นผืนป่าดิบ สลับเขารกทึบสูงชัน คงความอุดมสมบูรณ์ บนพื้นที่กว่า3หมื่นไร่ครอบคลุม จังหวัดนครพนม อุดรธานี บึงกาฬเป็นต้น  ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจ เข้ายี่ยมชมธรรมชาติเฉลี่ยปีละ 20,000คน รายได้ต่อปี กว่า7-8แสนบาท จาก น้ำตกที่มีอยู่เดิม 2แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม  อย่าง น้ำตกตาดขาม  ที่มีถ้ำน้ำหยาดไม่เคยเหือดแห้ง และน้ำตกตาดโพธิ์-เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์ ตลอดเส้นทาง ต้องเดินเท้า  ไม่ต่ำกว่า1-2วัน เพราะ พื้นที่ที่เปิดให้ ผู้มาเยือนเก็บเกี่ยวธรรมชาติ แต่ละแห่งมักมีระยะทางห่างกัน หลายกิโลเมตร ซึ่ง ทางอุทยานได้พัฒนาทางเดิน จุดชมวิว  และที่พัก เพื่อ สร้างรายได้   

 

อุทยานฯดัน “ถ้ำนาคา”แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศใหม่หลัง โควิด

 

ขณะ”ถ้ำนาคา” ค่อนข้างเรียกเสียงอือฮา เพราะ มีลักษณะคล้ายงู  ทำให้ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันว่า เป็นงูยักษ์ที่ตายแล้วกลายเป็นหิน ตามความเชื่อ ชาวบ้าน ซึ่งต้องใช้วิจารณญาณ  ทั้งนี้ตามข้อเท็จจริง สาเหตุที่ทำให้ หิน บริเวณนี้เกิดรอยแยก เป็นเกร็ดเนื่องจาก ถูกน้ำกระเซ็นเซาะตลอดเวลา นานวัน จึงทำให้เกิดการสึกกร่อน รอเวลาสร้างสีสันมหัศจรรย์แห่งธรรมชาติ ได้อย่างเหลือเชื่อ โดยพิกัด ถ้ำนาคา ที่เจ้าหน้าที่ลาดตระเวณพบจะอยู่บริเวณ แนวหน้าผา ด้านทิศใต้ของอุทยาน ลงไปทางวัด ชัยมงคงอยู่ในเขตปกครองของ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ บริเวณนี้ยอมรับว่า เป็นแหล่งอยู่อาศัยของงูจงอาง และงูเห่าชุกซุม นอกจากนี้ ยังมี หมู่ป่า ค่างบ่างชะนี กล้วยไม้ป่า โดยไม่มีสัตว์ดุร้ายอย่างเสืออยู่อาศัย  โดยเร็วๆนี้ อุทยานฯมีแผนเข้าสำรวจและเตรียม พัฒนา สาธารณูปโภค เข้าสู่พื้นที่ รวมถึงการก่อสร้างบ้านพักบริเวณรอบๆอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว รองรับช่วง เปิดให้บริการหลังโควิดระบาด

อุทยานฯดัน “ถ้ำนาคา”แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศใหม่หลัง โควิด ​​​​​​

“หาก นักท่องเที่ยวต้องการเข้าพื้นที่บริเวณนี้ สามารถทำได้ เพียงแต่ 1.รอ ให้อุทยานเปิด2.สถานการณ์โควิดคลี่คลายและ 3.ต้องเดินทางไปกับเจ้าหน้าที่ หากยังไม่มีการพัฒนา  “

  เช่นเดียวกับ น้ำตกแห่งใหม่ ที่ถูกค้นพบ“ตาดวิมานทิพย์ที่มีน้ำตกไหลบ่ามาจากซะง่อนผา  ตั้งอยู่ห่างจาก “ถ้ำนาคา “ประมาณ4กิโลเมตร ทุกเส้นทางจะใช้วิถีเดินเท้า จากบริเวณที่ทตั้งสำนักงานอุทยานด้านหน้า โดยไม่อนุญาตให้ รถยนต์เข้าสู่พื้นที่ ซึ่งทั้ง2 แหล่งท่องเที่ยวใหม่ จะกำหนดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ สำหรับคนที่รักษ์ป่ารักษ์ธรรมชาติเท่านั้นคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกราว20%

 

อย่างไรก็ตามเนื่องจาก เป็นสถานที่ ท่องเที่ยว ถูกค้นพบขึ้นใหม่ โดยแต่ละแห่งตั้งชื่อตาม ภูมิลำเนา ตำบลหมู่บ้านล่าสุด อุทยานภูลังกาได้รายงานต่อกรมอุทยานฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาให้เกิดการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่แล้ว ที่ผ่านมา อุทยานภูลังกายัง ค้นหา จุดท่องเที่ยวใหม่ๆ ต่อเนื่องต่อไป โดยมองว่ายังมีอีกหลายแห่งที่ ถูกซ่อนตัวอยู่กลางดงมืดของผืนป่า