“ประกันสังคม”ตอบ25คำถามไขข้อสงสัยรับเงินเยียวยาโควิด

10 เม.ย. 2563 | 11:33 น.

ประกันสังคม ไขข้อสงสัย ลูกจ้างผู้ประกันตน ขอรับเงินเยียวยาว่างงานจากสถานการณ์โควิด-19

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ชี้แจงมาตรการช่วยเหลือ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 (COVID-19)  ในเรื่องของการว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย/ลาออก เลิกจ้าง โดยรวบรวม ข้อคำถามที่พบบ่อยและทำคำตอบเพื่อทำความเข้าใจแก่ นายจ้าง ผู้ประกันตน

อัพเดท ประกันสังคมยอมจ่าย ชี้“โควิด”เหตุสุดวิสัย

สำนักงานประกันสังคม ได้จัดทำแบบ ถาม-ตอบ กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ลาออก เลิกจ้าง จากโรคไวรัสโตวิด-19 ดังนี้

1.นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดกักตัว 14 วัน เพราะมีความเสี่ยง สํานักงานประกันสังคมช่วยเหลืออะไรบ้าง (ลูกจ้างไม่ได้ป่วยแต่โดนกักตัว เพราะมีความเสี่ยง และนายจ้างให้หยุดงาน)

ตอบ นายจ้างไม่ให้ทํางาน ให้กักตัว 14 วัน เพราะมีเหตุสงสัยหรือควรสงสัยว่าลูกจ้างอาจเป็นโรคไวรัส COVID-19 และไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ตามที่นายจ้างรับรอง การหยุดงานหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคมีคําสั่งให้กักตัว แต่ไม่เกิน90 วัน (อยู่ระหว่างแก้กฎหมายตามพ.ร.บ.ประกันสังคม ม.79/1)

ผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย จะต้องมีสถานะความเป็นลูกจ้างและความเป็นผู้ประกันตนยัง ไม่สิ้นสุดลง (ยังไม่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง) และส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนประสบเหตุ หากตรวจสอบข้อมูลแล้ว ครบถ้วนถูกต้องและเป็นไปตามเงื่อนไขที่กําหนด มีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

2.ลูกจ้างหยุดงานเพื่อกักตัว 14 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จะได้รับสิทธิอะไรบ้าง

ตอบ ได้รับเงินว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างที่นําส่งเงินสมทบ แต่ไม่เกิน 90 วัน (อยู่ระหว่างแก้กฎกระทรวง ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม ม.79/1) เมื่อลูกจ้างมีการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนกักตัว และนายจ้างออกหนังสือรับรอง ให้หยุดงาน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณา

3.บริษัทให้หยุดงานเนื่องจากโรคไวรัส COVID-19 เป็นเวลา 14 วันตามที่รัฐบาลสั่งฯ ลูกจ้างเสียวันลาหรือไม่

ตอบ กรณีที่บริษัทหยุดประกอบกิจการตามคําสั่งของรัฐ ทําให้ลูกจ้างไม่สามารถทํางานได้ จึงมิใช่การลาหยุดงานปกติ จึงไม่ถือเป็นวันลา

4.สถานประกอบการถูกสั่งปิด 18 - 31 มีนาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 นายจ้างจะได้รับการยกเว้นการนําส่งเงินสมทบในช่วงเวลาดังกล่าวหรือไม่

ตอบ ถ้าในเดือนมีนาคม 2563 มีการจ่ายค่าจ้างมาแล้วก่อนรัฐมีคําสั่งปิด นายจ้างต้องนําส่งเงินสมทบของเดือนมีนาคม 2563 ตามกฎหมาย ทั้งนี้ สํานักงานประกันสังคมได้ขยายระยะเวลาการนําส่งเงินสมทบออกไปอีก 3 เดือน

5.ผู้ประกันตนมาตรา 38 ได้รับความคุ้มครอง 6 เดือนจากประกันสังคม และหยุดงาน 14 วัน จะได้รับสิทธิว่างงาน จากเหตุสุดวิสัยหรือไม่ และหากชําระเงินสมทบเพียง 3 เดือนใน 15 เดือน จะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานหรือไม่

ตอบ กรณีผู้ประกันตนมาตรา 38 ไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ได้รับความคุ้มครองต่อ 6 เดือน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และตาย ไม่มีสิทธิได้รับกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กรณีว่างงานจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือน

หากส่ง เงินสมทบครบ 3 เดือน ไม่ได้รับสิทธิว่างงานเช่นกัน แต่ระหว่างได้รับความคุ้มครอง 6 เดือน หากลูกจ้างติดเชื้อไวรัส COVID-19 สามารถใช้ สิทธิกรณีเจ็บป่วยได้ โดยได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และหากแพทย์ให้พักรักษาตัว จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ตามมาตรา 57 ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน

“ประกันสังคม”ตอบ25คำถามไขข้อสงสัยรับเงินเยียวยาโควิด

6.ผู้ประกันตนไม่ถูกเลิกจ้างหรือหยุดงาน แต่ถูกลดเงินเดือน จะได้รับสิทธิใดจากสํานักงานประกันสังคม

ตอบ ผู้ประกันตนมีสถานะเป็นลูกจ้าง และได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน

7.ผู้ประกันตนมาตรา 39 ไม่ได้ทํางานกับนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่ได้มีอาชีพและไม่ทํางาน สามารถยื่นขอรับสิทธิการเยียวยา เนื่องจากเหตุสุดวิสัยจากโรคไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่

ตอบ ผู้ประกันตนมาตรา 39 ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ ไม่คุ้มครองกรณีว่างงาน จะไม่ได้รับสิทธิว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

ผู้ประกันตนมาตรา 40 ไม่มีอาชีพ ไม่ทํางาน ทั้ง 3 ทางเลือก ไม่มีการประกันการว่างงานเช่นกัน จึงไม่มีสิทธิได้รับกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย

ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 สามารถขึ้นทะเบียนขอรับสิทธิเยียวยาของกระทรวงการคลัง ได้ที่ เว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน.com หากมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงการคลังกําหนด จะได้รับสิทธิดังกล่าว

8.นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 แต่นายจ้างยังคงจ่ายเงินเดือน/ค่าจ้าง ให้พนักงานครึ่งหนึ่ง พนักงานสามารถไปกรอกแบบฟอร์มกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้หรือไม่ และมีสิทธิได้รับเงินชดเชยจากสํานักงานประกันสังคมหรือไม่

ตอบ ผู้ประกันตนยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง และได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์กรณีว่างงานตามกฎกระทรวง

9.ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 สามารถยื่นขอรับสิทธิการเยียวยาเนื่องจากเหตุสุดวิสัยได้ ภายในระยะเวลากี่ปี

ตอบ ผู้ประกันตนสามารถยื่นคําขอรับประโยชน์ทดแทนได้ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ

10.กรณีเป็นผู้ประกันมาตรา 33 นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานและจ่ายเงินค่าจ้างให้ 75% เพราะเหตุสุดวิสัย สํานักงานประกันสังคมจะเยียวยาให้อย่างไร

ตอบ กรณีนายจ้างจ่ายค่าจ้างถือว่าผู้ประกันตนมีรายได้ จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย และนายจ้างมีหน้าที่หักค่าจ้างเพื่อนําส่งเงินสมทบให้ลูกจ้างตามกฎหมาย

11.หากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนให้ และไม่ออกใบรับรองให้ลูกจ้าง ลูกจ้างจะต้องทําอย่างไร

ตอบ กรณีนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ลูกจ้างสามารถยื่นคําร้องได้ที่สํานักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ใกล้บ้าน แต่หากลูกจ้างประสบเหตุสุดวิสัยจริง ควรแจ้งให้พนักงานควบคุมโรคทราบ และแจ้งสํานักงานประกันสังคมให้ประสานนายจ้างเพื่อชี้แจงในการออกหนังสือรับรอง

“ประกันสังคม”ตอบ25คำถามไขข้อสงสัยรับเงินเยียวยาโควิด

12.นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างและไม่มีการแจ้งออกจากงาน ลูกจ้างควรทําอย่างไร และจะได้รับสิทธิอะไร จากสํานักงานประกันสังคมบ้าง

ตอบ ลูกจ้างยังคงทํางานแต่ไม่ได้รับค่าจ้าง สามารถยื่นคําร้องได้ที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ สํานักงานสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงานทุกจังหวัด

กรณีไม่มีการจ้างงาน และนายจ้างไม่แจ้งออกจากระบบประกันสังคม สํานักงานประกันสังคมมีหน้าที่ติดตามนายจ้างให้ดําเนินการ แจ้งข้อเท็จจริงตามกฎหมาย เพื่อให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์

13.กรณีรัฐสั่งให้กักตัว นายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้าง ลูกจ้างจะได้รับเงินทดแทนกรณีว่างงาน จากสํานักงานประกันสังคม ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันหรือไม่

ตอบ สํานักงานประกันสังคมจะพิจารณาจ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างที่นําส่งเงินสมทบ แต่ไม่เกิน 90 วัน เมื่อลูกจ้างมีการจ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนภายใน 15 เดือน ก่อนรัฐสั่งให้กักตัว และนายจ้างออกหนังสือรับรองให้ หยุดงานตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณา

14.กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบหลักเกณฑ์เงื่อนไขในการรับสิทธิว่างงาน มีสิทธิได้รับเงินว่างงานหรือไม่

ตอบ ไม่มีสิทธิรับเงินทดแทนกรณีว่างงานได้ ซึ่งประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ลูกจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

15.กรณีลูกจ้างเข้าทํางานได้ 2 เดือน ในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในนามของบริษัทฯ แต่แผนกที่ทําถูกสั่งปิด ลูกจ้างต้องหยุดงาน 21 วัน และยังเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่งหรือไม่ และสามารถยื่นเบิกสิทธิการเยียวยาด้วยสาเหตุสุดวิสัยได้หรือไม่

ตอบ ลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย เนื่องจากจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน การจ่ายค่าจ้างครึ่งหนึ่ง หรือไม่นั้น อยู่ในอํานาจของนายจ้าง ทั้งนี้ ลูกจ้างสามารถลงทะเบียนใช้สิทธิเยียวยาในเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้

16.นายจ้างให้ลูกจ้างลาป่วยจากผลกระทบของโรคไวรัส COVID-19 โดยไม่ได้รับค่าจ้าง ลูกจ้างจะต้องทําอย่างไร

ตอบ นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างกรณีลาป่วย 30 วัน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานครบ จะต้องยื่นคําร้องต่อสํานักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และหากลาป่วยเกิน 30 วัน สํานักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วยตามที่แพทย์สั่งให้หยุดงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากเจ็บป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน ตามที่แพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว

“ประกันสังคม”ตอบ25คำถามไขข้อสงสัยรับเงินเยียวยาโควิด

 

นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมยังได้ทำแบบสอบถาม-ตอบ เรื่อง e-form ว่างงาน อีก 9 ข้อ ดังนี้

1 ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน empui เรียบร้อยแล้ว ยังสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form ได้หรือไม่

ตอบ การขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่าน www.empui.doe.go.th สําหรับการว่างงานเนื่องจากการลาออกหรือเลิกจ้าง จะต้องยื่นคําขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน e-form ทางอิเล็กทรอนิกส์ บนเว็บไซต์สํานักงานประกันสังคม www.sso.go.th ทุกครั้งโดยผู้ประกันตน จะต้องรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางานเดือนละ 1 ครั้ง

2.ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form เรียบร้อยแล้ว ใช้เวลากี่วันในการตรวจสอบ และเมื่อไหร่จะได้รับเงิน

ตอบ กรณีว่างงานจากสาเหตุลาออก/เลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะต้องรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ของกรมการจัดหางาน เดือนละ 1 ครั้ง และเมื่อรายงานตัวแล้วเจ้าหน้าที่อนุมัติ จะได้รับเงินหลังจากรายงานตัวทุกครั้ง ภายใน 7 วัน

3.ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form จะรู้ได้อย่างไรว่ายื่นแบบคําขอฯ ผ่านระบบเรียบร้อยแล้วสํานักงานประกันสังคมจะติดต่อแจ้งผลผ่านช่องทางใด

ตอบ จะมีข้อความแจ้งทาง e-mail ที่ท่านกรอกในระบบ e-form หากไม่มี e-mail สอบถามได้ที่สํานักงานประกันสังคมที่ท่านแจ้งความประสงค์การยื่นแบบในระบบ e-form ซึ่งสามารถค้นหาช่องทางติดต่อสํานักงานประกันสังคมทั่วประเทศได้ที่เว็บไซต์ www.sso.go.th

4.ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form แต่กรอกข้อมูลผิด สามารถแก้ไขข้อมูลได้อย่างไรบ้าง ลงข้อมูลใหม่ได้หรือไม่

ตอบ หากกรอกข้อมูลผิด ไม่สามารถแก้ไขได้ให้กรอกข้อมูลที่ถูกต้องและกดส่งใหม่ สํานักงานประกันสังคมจะดําเนินการกรองข้อมูลโดยใช้ข้อมูลล่าสุดที่ท่านกรอก

5.ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form ต้องส่งเอกสารกรณีว่างงานไปเหมือนเดิม เพื่อขอรับเงินด้วยหรือไม่

ตอบ การยื่นแบบ e-form ท่านได้กรอกรายละเอียดชื่อและเลขที่บัญชีเงินฝากถูกต้องแล้ว ไม่ต้องส่งเอกสารมาที่สํานักงานประกันสังคม เพราะถือว่าลูกจ้างและนายจ้างได้มีการยืนยันข้อมูล หากข้อมูลไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่จะขอเอกสารเพื่อการตรวจสอบภายหลัง

6.หากไปยื่นเอกสารที่สํานักงานประกันสังคม หรือส่งไปรษณีย์/Fax/e-mail เรียบร้อยแล้ว ยังจะต้องกรอก e-form หรือไม่

ตอบ ไม่ต้องกรอกข้อมูลผ่านระบบ e-form เพราะถือว่าท่านได้ยื่นเอกสารขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานแล้ว

7.ขึ้นทะเบียนว่างงานผ่าน e-form และยังจะได้รับเงินจากกรณีเพิ่มสิทธิอนุมัติจ่าย 5,000 บาท เยียวยาลูกจ้างประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบโควิดหรือไม่

ตอบ หากท่านขึ้นทะเบียนว่างงานแล้วและท่านผ่านการพิจารณาเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย / ลาออก เลิกจ้าง ไม่สามารถรับสิทธิเยียวยา 5,000 บาท จากกระทรวงการคลังได้อีก

8.กรณีนายจ้างกําหนดวันหยุดชั่วคราวใน e-form ไว้แล้ว หากมีการประกาศเพิ่มวันหยุดจะสามารถรับสิทธิว่างงานต่อได้อย่างไร

ตอบ นายจ้างสามารถบันทึกแบบหนังสือรับรองฯ ใน e-form ได้ใหม่ โดยระบุวันที่ให้หยุดงานต่อเนื่องจากฉบับแรก ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามคําแนะนําในการกรอกแบบของนายจ้างอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ถูกต้อง

9.สถานประกอบการที่มีลูกจ้างจํานวนมาก ไม่สะดวกกรอกข้อมูลลูกจ้างในระบบ e-form ต้องทําอย่างไร

ตอบ  สํานักงานประกันสังคมขอแนะนําให้ดําเนินการ ดังนี้

1.ท่านสามารถพิมพ์รายละเอียดของลูกจ้างตามคําแนะนําการออกแบบใน e-form ของนายจ้าง และ Copy ไปวางได้ที่ละหลายรายการ

2.กรณีที่นายจ้างจัดทําข้อมูลใน excel ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดตามที่กําหนดใน e-form ให้ส่งไฟล์ excel ให้กับสํานักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ / จังหวัด / สาขา ทาง e-mail เพื่อให้สํานักงานประกันสังคมอัพโหลดข้อมูล

3.ขณะนี้สํานักงานประกันสังคมอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบเพื่อให้นายจ้างอัพโหลดไฟล์ excel ได้เอง เพื่อรองรับกรณีสถานประกอบการ มีลูกจ้างที่ต้องรับรองจํานวนมาก

“ประกันสังคม”ตอบ25คำถามไขข้อสงสัยรับเงินเยียวยาโควิด