“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

25 มี.ค. 2563 | 11:30 น.

ก.เกษตรฯ เผยอีสาน สถานการณ์น้ำโดยเฉพาะแม่น้ำโขงคลายวิกฤติฝนเริ่มตกประปรายแล้ว สวนทางแล้งชาวนาปลูกข้าวเกินแผน180%

 

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึง สถานการณ์น้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เริ่มดีขึ้น มีฝนตกประปราย จึงทำให้แม่น้ำโขงอยู่ในระดับที่คลายวิกฤติลงเทียบจากเมื่อประมาณธันวาคม 2562 ส่วนสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 38,978 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 51% ของความจุอ่างฯ และมีปริมาณน้ำใช้การได้ 15,257 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น29% ของความจุน้ำใช้การ

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุอ่าง จำนวน 20 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่งัดสมบูรณ์ชล แม่กวงอุดมธารา แม่มอก ห้วยหลวง จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง มูลบน ลำแชะ ลำนางรอง ป่าสักชลสิทธิ์ ทับเสลา กระเสียว ขุนด่านปราการชล คลองสียัด บางพระ หนองปลาไหล และประแสร์

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

“สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักฯ) ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 9,429 ล้าน ลบ.ม. (38% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 2,733 ล้าน ลบ.ม. (15% ของความจุน้ำใช้การ) ส่วนผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 แบ่งเป็นทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 13,508 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76 และเจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 4,500 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 3,5641 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 81”

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

นายอลงกรณ์ กล่าวถึง แผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มี.ค.63) ในส่วนของทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.17 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 180.56 ของแผนฯ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.60 ล้านไร่ และลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องฤดูแล้ง ปี 2562/63) เพาะปลูกแล้ว 1.99 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.21 ล้านไร่

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

คุณภาพน้ำ วันที่ 25 มี.ค.63 เวลา 05.00 น. : แม่น้ำเจ้าพระยา สถานีประปาสำแล จ.ปทุมธานี (ปกติ) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี (ปกติ) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลอง สถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

นอกจากนี้ จังหวัดที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จํานวน 23 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รวมทั้งสิ้น 139 อำเภอ 714 ตำบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน (ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ณ วันที่ 24 มี.ค.63)

“อีสาน” เริ่มยิ้มออกมีฝนตกประปรายแล้ว

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทาน จะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนนี้ ซึ่งจะใช้มาตรการควบคุมการใช้น้ำ อาทิ การปรับลดการระบายน้ำให้สอดคล้องกับการใช้น้ำในพื้นที่ การปรับลดแรงดันน้ำประปาในช่วงกลางคืน การนำน้ำจากแหล่งน้ำข้างเคียงที่มีการสำรองปริมาณน้ำไว้ เช่น แก้มลิง หนองน้ำ สระน้ำ และการขุดเจาะบ่อบาดาล รวมทั้ง ขอสนับสนุนการทำฝนเทียมจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นต้น ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายร่วมใจกันประหยัดน้ำ รู้คุณค่าของน้ำ รวมทั้งร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าวิกฤตทั้ง  ภัยแล้งและไวรัสโควิด 19 ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี