มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

04 มี.ค. 2563 | 03:15 น.

ปมร้อน “แบ่งปันผลประโยชน์” ยาง-ข้าว “อำนวย”ยกมือสนับสนุนเห็นด้วย ฝ่าย “อุทัย”ค้านสั่งถอนร่างกฎหมายทิ้ง ผวายางดิ่ง 10 กิโล 100 บาท

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

 

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

จากกรณีที่พรรคภูมิใจไทย โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล และคณะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการแบ่งปันผลประโยชน์ยางพารา และข้าว  พ.ศ. .... ซึ่งกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์รัฐสภาตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ร่าง พ.ร.บ.ข้าว เปิดรับฟังตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมานั้น

++หนุนแบ่งปันเชื่อยกระดับรายได้ ฐานะที่มั่นคงแบบชาวไร่อ้อย

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

นายอำนวย ปะติเส อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  หนึ่งในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่ผลักดันการทำงานทำให้ราคาอ้อยและน้ำตาล มีเสถียรภาพจนถึงทุกวันนี้ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เห็นด้วยในหลักการแบ่งปันผลประโยชน์ข้าวและยางพาราของพรรคภูมิใจไทย เพราะตอบโจทย์เกษตรกรจะทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นแบบชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย โดยเฉพาะยางพารา โครงสร้างใกล้เคียงกันมาก

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

“ตอนที่ผมเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดึงคุณวีระศักดิ์ ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)ได้ขายไอเดียในขณะนั้นก็มีคนเริ่มเห็นด้วย แต่พอผมหลุดออกจากตำแหน่งหลายคนไม่เข้าใจหลักการจึงทำให้ไม่กล้าออกมาเป็นหลักปฏิบัติ ซึ่งการที่จะปฏิบัติได้นั้นจะต้องเริ่มจากหลักปรัชญา  หลักคิด หลักทฤษฎีว่าว่าเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าเห็นด้วยก็ต้องลงสู่การปฏิบัติ ในขณะนั้นผมกำลังปรับอยู่ 2-3 หลักการ แต่ไม่ทัน ถ้าทำได้เชื่อว่าจะเป็นผลดีกับเกษตรกรไทย จะยกระดับรายได้ มีฐานะที่มั่นคงแบบชาวไร่อ้อย

 

++อย่าเอาเกษตรกรเป็นหนูทดลอง

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

ขณะที่นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) กล่าวว่า อ้อยมีระบบที่ดี ยอมรับว่าองค์กรดีมาก สถาบันเข้มแข็ง รวมตัวกันเพื่อหวังที่จะแบ่งปันผลประโยชน์กัน กล้าลงทุน แต่ยางพารายังไม่ใช่ เพราะยางเกษตรกรจ่ายเงินเซสส์กิโลกรัมละ 2 บาท แล้วยังจะมาเสียเงินเข้ากองทุนตามกฎหมายแบ่งปันยางพาราอีก เท่ากับเสีย 2 ต่อ จะยอมหรือไม่ คิดแค่นี้ก็ไม่เอาแล้ว “คำว่าแบ่งปันผลประโยชน์” ที่มาก็มาจากนายอำนวย ปะติเส และนายธีรชัย แสนแก้ว ปะธานเครือข่าย กยท. ที่สังกัดพรรคภูมิใจไทยนั่นเอง

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

“ผมว่าควรไตร่ตรองให้ดี ขออย่างเดียวอย่าเอาเกษตรกรเป็นหนูตะเภาทดลองไปเรื่อยๆ จนกระทั่งยาง 10 กิโลฯ 100 บาท เพราะมีโควตา ขายนอกโควตาเกษตรกรก็โดนกดราคาอีก ปัจจุบันกำลังผลิตโรงงานเกินสวนยางแล้วจะทำอย่างไร จะแบ่งปันอย่างไร หากมีการแบ่งโควตากันจริง 5 เสือค้ายางได้ไปก็ต้องไปกระจายขายโควตาให้กับบริษัทรายย่อยลงมาอีกวุ่นวาย เพราะจากอ้อย แค่เป็นน้ำตาล”

 

++มีความหลากหลายชนิดยางพารา

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

แต่จากต้นยางเป็นสารพัดยางหลากชนิด แล้วเข้าโรงงานก็มีทั้งยางแท่ง ยางแผ่น น้ำยางข้น ส่วนราคาแล้วบางครั้งราคาน้ำยางสดก็สูงกว่ายางแผ่นดิบ เกษตรกรเองก็มีทางเลือกที่จะไปขาย แต่ถ้ามีโควตา หรือจำกัดชนิดยาง ไม่เสรี แล้วก็ต้องจำใจผลิตยางตามโควตาหรือชนิดยางไปเรื่อยๆ แม้จะราคาต่ำก็ไม่มีโอกาสที่จะเปลี่ยน

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

นายอุทัย กล่าวว่า การตั้งราคาสูงก็ไม่ได้ เพราะตลาดโลกไม่ซื้อ เพราะโรงงานก็ต้องไปยืดกับราคาตลาดโลก ไม่ใช่ตลาดน้ำตาล ตลาดโลกของยางพาราคือตลาดล่วงหน้า แค่คิดก็ผิดแล้ว ที่สำคัญน้ำตาลบริโภคในประเทศแพง แต่ขายเป็นโควตาส่งออกถูก ยกตัวอย่างคดีที่ถูกจับได้ ผู้ประกอบการเอาน้ำตาลได้โควตาส่งออก นำเรือออกไปอ่าวไทยแล้วก็วกกลับเข้ามาขายในไทย เป็นต้น

 

++ท้าตีเบต

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

“ผมท้าดีเบตกับพรรคภูมิใจไทยที่จะให้ผมเป็นหนูตะเภาโดยที่ไม่ฟังเสียงเกษตรกรเลย ทั้งที่ผมเป็นตัวแทนเกษตรกรก็ต้องเห็นใจตรงนี้บ้าง แล้วถ้าจะลอง มี กยท. ซึ่งใน พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย 2558 ตั้งบริษัทได้ แล้วให้เกษตรกรเข้าหุ้นแล้วให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ลองทำสัก 2-3 ปี ซึ่งถ้าได้ผลก็ให้ทำประเทศ นั้นแหละผมจึงจะยอมรับ ที่สำคัญคุณจะไปร่าง พ.ร.บ.ซ้อน กับกฎหมาย กยท. ผมไม่เห็นด้วยกฎหมายเก่ายังใช้ไม่ถึง 5 ปี แล้วถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้แยกหน่วยงานกัน กลับไปแบบในอดีต เนื่องจากรวมองค์กรวุ่นวาย ยังมีปัญหาทุกวันนี้ ถ้าแยกองค์กรปัญหาอาจจะจบ

 

++โควตาไม่เพียงพอ ต้องสร้างบอร์ดใหม่เพื่อรองรับ

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

สอดคล้องกับนายเพิก เลิศวังพง อดีตประธานชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (ชยสท.) และคณะทำงานของ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่กล่าวว่า กฎหมายอะไรก็แล้วแต่ไม่ควรมีออกมาแล้ว ก่อนหน้านี้เคยเตือนแล้วว่าไม่ควรที่จะแอบออกไป รู้อะไรเกี่ยวกับยางพาราบ้าง เพราะกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่มีปัญญาที่จะแก้เลย แล้วบอร์ดที่มีปัจจุบัน ก็มี 2 บอร์ด คือ บอร์ดคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นคนกำกับดูแล และบอร์ด กยท. ที่กำกับดูแลโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

“ปัจจุบันผมคิดว่าแค่ 2 บอร์ดก็มีมากเกินไปแล้ว แล้วยังบอร์ดซุกอยู่ใต้ พ.ร.บ.แบ่งปันฯ อีก ผมว่าเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า แล้ว พ.ร.บ.การยางฯ ติดขัดอะไร ทำไมไม่แก้กฎมายที่มีอยู่แล้ว ผมไม่เข้าใจ อีกด้านหนึ่งอดคิดไม่ได้ว่าโควตำแหน่งได้ไปไม่เพียงพอ หรือพวกนักการเมืองสอบตกมีมากหรืออย่างไร ทำให้คุณอนุทิน ต้องสร้างบอร์ดใหม่เพื่อรองรับใช่หรือไม่”

 

ตีฆ้องให้ไปแสดงความคิดเห็น

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

ด้านดร.ธีระชัย แสนแก้ว ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง กยท. ระดับประเทศ  (สังกัดพรรคภูมิใจไทย) กล่าวว่า ในขณะนี้กำลังรับฟังความคิดเห็นก็อยากให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวและชาวสวนยางพารา ไปแสดงความคิดเห็นกันก่อนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา77 ถ้าทุกฝ่ายเห็นด้วย ว่ามีประโยชน์ก็ทำต่อไปได้ ยังมีขั้นตอนอีกมาก ยอมรับว่าต้องหาแนวทางไปเรื่อยๆ จากการเห็น พ.ร.บ.การยางฯ เดินแบบติดขัด ก็ควรที่จะมองแนวทางอย่างอื่นไปด้วย เรียกว่ายังพอมีเวลา

++ดันให้เกิดคืนการค้าที่เป็นธรรมให้เกษตรกร

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?
 

“ที่แน่ๆ ก็ขอประกาศให้ทราบกันว่าทางรัฐสภากำลังทำเปิดรับฟังความคิดเห็นอยู่ มั่นใจว่าระบบแบ่งปันจะได้ผล ถ้าทุกคนไม่เห็นแก่ตัวเพราะเห็นว่าระบบนี้เป็นระบบที่น่าจะไปได้ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการเองมีความเห็นพ้องด้วยหรือไม่ก็ให้มาคุยกัน เพราะบางครั้งมัวแต่เอารัดเอาเปรียบกัน กล่าวหากัน คล้ายกับอ้อยและน้ำตาลในอดีต พอได้ใช้แล้วปัจจุบันก็ไม่มีใครอยากเลิกระบบนี้เลย ดังนั้นพรรคจึงเสนอเป็นโมเดลเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ได้เสนอเรื่องเข้าสภาตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา”

มองต่างมุมแบ่งปันผลประโยชน์ตอบโจทย์เกษตรกร?

อย่างไรก็ดีฝากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกวงการให้ไปศึกษาและอ่านดูให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทันที แต่เห็นด้วยที่จะดันให้โมเดลร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์นี้เกิดเช่นเดียวกับโมเดลอ้อยและน้ำตาล