"โคโรนา" กระทบส่งออกไตรมาสแรกลบ 3.6%

03 มี.ค. 2563 | 06:18 น.

สรท. เผยไวรัสโคโรนา คาดส่งผลกระทบส่งออกไทยไตรมาสแรก ติดลบ 3.6% แนะรัฐเร่งหามาตรการช่วยเหลือด่วน

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)  กล่าวว่า  สรท.คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 เติบโต 0-1%  โดยมีปัจจัยบวกสำคัญ เช่น ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และจากความกังวลในสถานการณ์การระบาดของโรคโคโรนาหรือ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ รวมทิศทางราคาทองคำยังไม่ขึ้นรูปยังปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เป็นให้ผลดีช่วยให้ทิศทางการเติบโตของการส่งออกในภาพรวมให้ดีขึ้น และราคาน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องหลังตลาดวิตกสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาฉุดความต้องการน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศลดต่ำลงรวมถึงผลกระทบจากภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงในปี 63 ส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรที่ออกสู่ตลาดลดลง ไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง และผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น

 "โคโรนา" กระทบส่งออกไตรมาสแรกลบ 3.6%

ทั้งนี้ สถานการณ์ไวรัสโคโรนา ในปัจจุบันจะส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการส่งออกและนำเข้าของไทย ภายใต้สมมติฐานว่าถ้าการส่งออกไปจีนได้รับผลกระทบ -75% ถึง -25% โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่คาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดที่ -75%  และเดือนมีนาคม ได้รับผลกระทบ -50% และเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ได้รับผลกระทบ -25% ตามลำดับ จะทำให้การส่งออกของไทยในช่วงไตรมาส 1/2563 หดตัวประมาณ -3.6% ไตรมาส 2/2563 หดตัวประมาณ -2.91% และครึ่งปีหลัง 2563 หดตัวประมาณ -3.3%

 "โคโรนา" กระทบส่งออกไตรมาสแรกลบ 3.6%

อย่างไรก็ตามสรท.ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เช่น   ด้านต้นทุนการเงินโดยให้เน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะแป็น การสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะ 6 เดือน และการขยายระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อเพื่อการส่งออก ระยะเวลา 12 เดือน ,การหยุดพักชำระหนี้ธนาคารและค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นระยะเวลา 12 เดือน ,การยกเว้นภาษีสรรพสามิตและภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ ผปก.ที่พึงพาตลาดจีนเป็นหลัก ,การชะลอการเรียกเก็บภาษีใหม่ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว เช่น  ภาษีความหวาน ความเค็ม เป็นต้น

ส่วนด้านการตลาดและโลจิสติกส์ เสนอให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคม ควรจัดให้มีทีม Social Media หรือ Call Center เพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสอบถามและรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามข้อมูลสำหรับประกอบการวางแผนในการดำเนินธุรกิจ และควรเป็นสื่อกลางในการแจ้งข้อมูลข่าวสารล่าสุดเพื่อประกอบการการตัดสินใจของผู้ประกอบการเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศจีนรายมณฑล จุดขนส่งสินค้าต่างๆ ที่สามารถดำเนินการได้

รวมถึงเพิ่มความถี่การจัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Thailand Exhibition)3. กระทรวงพาณิชย์ควรประสานขอความร่วมมือกับรัฐบาลจีนทั้งส่วนกลางและรายมณฑล ในเรื่อง 3.1 ผ่อนปรนกฎระเบียบการนำเข้าและส่งออกสินค้า 3.2 ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ อาทิ congestion surcharge และ storage charge  นอกจากนี้ ขอให้เร่งเจรจาเขตการค้าเสรี FTA อาทิ Thai-EU, RCEP, Thai – United Kingdom, Thai – Pakistan, Thai – Turkey, Thai – EFTA และ Thai – Sri Lanka เพื่อชดเชยการพึ่งพาตลาดจีนและเป็นการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใหม่เพิ่มมูลค่าการส่งออก และเพื่อไม่ให้ไทยเสียตลาดหลักให้กับคู่แข่งที่ได้มีการทำ FTA ไปกับกลุ่มประเทศดังกล่าวก่อนหน้า

 "โคโรนา" กระทบส่งออกไตรมาสแรกลบ 3.6%

สำหรับการส่งออกเดือนมกราคม 2563 มีมูลค่า 19,626 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 3.35% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ การนำเข้าในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 21,181 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.86% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่งผลให้ เดือนมกราคม 2563 ประเทศไทยขาดดุลการค้า 1,556 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 56,017 ล้านบาท (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันเดือนม.ค. หดตัวร้อยละ -0.6) (การส่งออกเมื่อหักทองคำและน้ำมันเดือน ม.ค. หดตัวร้อยละ 0.6) 

 

โดยการส่งออกในเดือนมกราคม กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -6.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน โดย สินค้าที่ยังขยายตัว ได้แก่ น้ำตาลทราย ยางพารา ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เครื่องดื่ม ขณะที่กลุ่มที่หดตัว ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้สด แช่แข็งและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวที่ 5.2 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน โดย กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ ทองคำ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ขณะที่สินค้ากลุ่มที่หดตัว เช่น นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น