การใช้น้ำมันเบนซินเฉลี่ยต่อวัน ม.ค. 63 เพิ่ม 1.8%

27 ก.พ. 2563 | 06:20 น.

กรมธุรกิจพลังานเผยการใช้น้ำมันเพลิงเฉลี่ยนต่อวันเดือนมกราคมปีนี้เติบโตขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ชี้เบนซินเพิ่ม 1.8% ขณะที่ดีเซลลดลง 2.5%

รายงานข่าวระบุว่า  กรมธุรกิจพลังงาน  กระทรวงพลังงานเผยภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันของเดือนมกราคม 63 ว่า  เติบโตขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 62 โดยกลุ่มน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 1.8% กลุ่มดีเซลหมุนเร็วลดลง 2.5% น้ำมันอากาศยานเจทเอ1 เพิ่มขึ้น 3% ในขณะที่ LPG ลดลง 4.2% และ NGV ลดลง 11% การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 31.8 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 1.8% โดยกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 30.9 ล้านลิตร/วัน คิดเป็น 2.6% ขณะที่น้ำมันเบนซินมีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 20.2%

การใช้น้ำมันเบนซินเฉลี่ยต่อวัน ม.ค. 63 เพิ่ม 1.8%

สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ พบว่า แก๊สโซฮอล์อี 20 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ 6.6 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 9.3% เนื่องจากมีราคาต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.01 บาท/ลิตร จึงจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้เพิ่มขึ้น รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 14.02 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 4.5% เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 มีราคาใกล้เคียงกันโดยมีส่วนต่างเพียง 0.27 บาท/ลิตร จึงทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า

ขณะที่แก๊สโซฮออล์ 91 มีปริมาณการใช้ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 9.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 3.9% และแก๊สโซฮอล์ อี85 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.2 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 1.5% การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 64.1 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 2.5% โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 มีปริมาณการใช้ลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 54.3 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 17.1% น้ำมันดีเซล หมุนเร็ว บี10 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจ้าหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562) และน้ำมันดีเซล หมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 7.5 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจ้าหน่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม.2561)

อย่างไรก็ดี  ปริมาณการใช้ น้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วดังกล่าวอยู่ในช่วงการปรับเปลี่ยนตามนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เป็นน้ำมัน ดีเซลฐานของประเทศและใช้มาตรการราคาเป็นกลไกผลักดันให้เป็นไปตามเป้าหมาย การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 22.1 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 3เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลปีใหม่  การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 16.8 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็น 4.2% โดยปริมาณการใช้ภาคขนส่งลดลงมากที่สุด มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 2.6 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 12.7% เนื่องจากผู้ใช้รถยนต์ บางส่วนหันไปใช้น้ำมันชนิดอื่นแทนเนื่องจากราคาขายปลีกน้ำมันอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก

การใช้น้ำมันเบนซินเฉลี่ยต่อวัน ม.ค. 63 เพิ่ม 1.8%

รองลงมาเป็นภาคปิโตรเคมีมีปริมาณการใช้ลดลงอยู่ที่ 6.5 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 3.2% ถัดมาเป็น ภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.8 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 2.9% และภาคครัวเรือน มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 5.9 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลง 1.4% เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและสนใจใช้เตาไฟฟ้ามากขึ้น  การใช้ NGV เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 4.9 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 11% โดยมีสาเหตุ มาจากการปรับราคา NGV สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ประกอบกับนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ท้าให้ประชาชนและรถบรรทุกสินค้าหันไปใช้ดีเซลหมุนเร็วบี 20 ทดแทน 

อย่างไรก็ตาม การน้าเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมีปริมาณรวมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 980,741 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 8.5% โดยมีมูลค่าการน้าเข้าน้ำมันดิบคิดเป็น 66,973 ล้านบาท/เดือน  เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าวมีการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นและ Emergency Shutdown ท้าให้ต้องลดปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นลง  สำหรับน้ำมันสำเร็จรูปเป็นการน้าเข้าน้ำมันเบนซิน  น้ำมันดีเซลดีเซลพื้นฐาน  น้ำมันเตา  น้ำมันอากาศยานและก๊าด  และ LPG โดยมีปริมาณน้าเข้าลดลงอยู่ที่ 26,839 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 63.6% และมีมูลค่าการน้าเข้าน้ำมันสำเร็จรูปอยู่ที่ 1,849 ล้านบาท/เดือน  การส่งออกน้ำมันส้าเร็จรูป เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน  น้ำมันดีเซลดีเซลพื้นฐาน  น้ำมันเตา  น้ำมันอากาศยานและก๊าด  และ LPG โดยมีปริมาณลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 171,386 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลง 2.1% โดยมีมูลค่าการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ย 11,624 ล้านบาท/เดือน