ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

27 ก.พ. 2563 | 03:30 น.

เดือด เต้น ฉะผู้ร่างฯ มีทัศนคติเชิงลบโรงสี ไม่เข้าใจธุรกิจต้องแบกความเสี่ยงเสียหายขาดทุน หนี้สินมีมากคนละโมเดลกับอ้อยจะมาใช้แบ่งปันผลประโยชน์ไม่ได้ ซ้ำร้ายโทษรุนแรงมาก

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าหลังจากที่ได้อ่านร่างพ.ร.บ.แบ่งปันผลประโยชน์ข้าว พ.ศ. .... (นายอนุทิน ชาญวีรกูล และคณะ เป็นผู้เสนอ) ที่ได้เสนอร่างฯฉบับนี้เข้าเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 และได้เปิดรับฟังความคิดเห็นโดยให้ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของรัฐสภาได้เมื่อตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2562 เป็นต้นไปแล้ว นั้น

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

ตามบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างฯ เข้าใจว่ามีความปรารถนาดีต่อระบบการค้าข้าวของประเทศ แต่เมื่อได้อ่านศึกษาในรายละเอียด ของร่างฯ กลับเข้าใจได้ทันทีว่าผู้ที่ร่างพ.ร.บ. นี้ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องข้าวอยู่อีกมาก

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

ทั้งนี้เป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่เลือกหยิบยก พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลมาเป็นต้นแบบเนื่องจากผู้ร่างคงมีความเข้าใจว่าระบบโครงสร้างของสินค้าเกษตรสองชนิดนี้นั้นเหมือนกันในหลายๆด้าน ตั้งแต่ด้านการเพาะปลูก การแปรรูป การผลิต และการจำหน่าย มองจากภายนอกแล้วอาจจะคล้ายกัน  แต่ในความเป็นจริงนั้นโครงสร้างข้าวต่างจากโครงสร้างอ้อยเป็นอย่างมาก ซึ่งยังไม่รวมถึงการมีผู้เล่นที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมข้าวมากมายกว่าอ้อยหลายเท่าตัว

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

“ลักษณะการยกร่าง พ.ร.บ.ฯ เป็นการมองผู้ประกอบค้าข้าว (โรงสี) แบบมีทัศนคติในเชิงลบต่อผู้ประกอบการ  และหลายมาตราดูเหมือนมีความต้องการที่จะเข้ามาแทรกแซงและควบคุมในกิจการที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งนี้การเข้ามาควบคุมวางระบบแบ่งปันผลประโยชน์ดังกล่าว โดยกำหนดให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในด้านต่างๆ แต่กลับไม่ได้กล่าวถึงสัดส่วนในการลงทุนของผู้ประกอบการเอกชนที่ได้ลงทุนไปแล้วและหลายแห่งยังมีภาระหนี้สินติดอยู่ด้วย”

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

รวมทั้งยังไม่มีพูดถึงในกรณีที่ว่าจะดูแลและรับผิดชอบอย่างไรหากเกิดความเสียหายขาดทุน และหากขาดทุนหมุนเวียนในระบบจะหาทางออกอย่างไร  จึงถือว่านี่เป็นการมองแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว ขาดหลักการวิเคราะห์ในหลายมิติ นอกจากนี้แล้วยังกำหนดอัตราโทษที่รุนแรงเพื่อหวังบังคับให้ผู้ประกอบการเดินตามแนวทางที่กำหนดอย่างไม่มีทางเลือกอีกด้วย 

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เป็นที่น่าข้องใจว่าผู้ประกอบการจะเดินทางตามแนวทางที่กำหนดได้อย่างไร ในเมื่อผู้ยกร่างฯเองยังคงขาดความความเข้าใจในเรื่องข้าว แล้วใครเล่าที่จะยอมเอาธุรกิจที่ลงทุนสินทรัพย์ทั้งหมดของตนเองเข้าไปเสี่ยง  ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเองก็เป็นเรื่องปกติว่าเมื่อใดหรือกรณีใดๆที่ภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องนั้น  ภาครัฐจะมีหน้าที่ที่จะต้องเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เอกชนมีความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ  รวมไปถึงมีหน้าที่ดูแลสนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรมในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

ทั้งนี้ในฐานะผู้ประกอบการโรงสีไม่เคยปฏิเสธ อีกทั้งยังยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนให้ความสำคัญกับเกษตรกร และมีส่วนช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้เกษตรกรได้อยู่ดีกินดี ขายสินค้าคุ้มทุนและมีกำไร แต่เราไม่เห็นด้วย ร่างฯฉบับนี้เสนอเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562 และไม่เชื่อว่าสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

ทำไมค้านร่างกฎหมายแบ่งปันผลประโยชน์ข้าว?

อีกทั้งยังมีผลเสียมากกว่าผลดีซึ่งจะกระทบต่อระบบการค้าข้าวของประเทศ เพราะ ”การค้าข้าวพัฒนามาไกลเกินกว่าที่จะเดินย้อนกลับแล้ว”  เพราะหากวิเคราะห์แค่องค์ประกอบของคณะกรรมการและคณะทำงานที่มีจำนวนมาก ก็ถือเป็นอุปสรรคที่ก่อให้เกิดการขาดความคล่องตัวในเชิงบริหารอยู่แล้ว ซึ่งนี่ยังไม่รวมถึงการขาดหลักการในเชิงวิเคราะห์โครงสร้างระบบในอีกหลายมิติอีกด้วย