ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

26 ก.พ. 2563 | 08:10 น.

เกษตรฯ กุมขมับไวรัสโคโรนาทุบสินค้าเกษตรส่งออกไปจีนแล้ว 3 เดือนแรกลดลง 940 ล้านบาท แต่หากยืดเยื้อลามครึ่งปีแรกคาดว่ารายได้จะสูญกว่า 5 พันล้าน  เร่งหามาตรการรับมือด่วน

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

วันที่ 26 ก.พ.2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยถึงสถานการณ์ผลกระทบจากสถานการณ์ไวรัสโควิค-19 หรือโคโรนาที่แพร่ระบาดหนักในประเทศจีน และอีกหลายประเทศทั่วโลกที่จะมีสินค้าผลไม้ของประเทศไทย ว่า จากการวิเคราะห์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในส่วนของจำนวนนักท่องเที่ยวนั้น ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 คือ ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม คาดว่านักท่องเที่ยวจะหายไป 2 ล้านคน แต่หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อไปอีก 6 เดือน หรือถึงเดือนมิถุนายน (มกราคม-มิถุนายน 2563) จำนวนนักท่องเที่ยวจะหายไป 4.37 ล้านคน

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

ส่วนผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทย นายอลงกรณ์ชี้ว่า ความต้องการสินค้าเกษตรไทยภาพรวมลดลงในระยะสั้น โดยเฉพาะผักและผลไม้สด โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ประมาณการมูลค่าการส่งออก ผัก ผลไม้สด ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม 2563) ลดลงร้อยละ 0.33  เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดไปจีนในปี 2562 หรือคิดเป็นมูลค่า 940 ล้านบาท  แต่หากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อไปอีก 6 เดือน (มกราคม-มิถุนายน 2563) จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก ผักผลไม้ลดลง เป็นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดไปจีนในปี 2562 หรือคิดเป็นมูลค่า 5,278 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงให้ผลของ ทุเรียน และมังคุด ซึ่งกว่าร้อยละ 50 ผลผลิตทุเรียนส่งออกไปยังตลาดจีน โดยเฉพาะทุเรียนสด

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อไปว่า  ในส่วนของมาตรการรองรับที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมเพื่อดำเนินนั้น จะเน้นการใช้กลไกสหกรณ์เข้ามาช่วย เหมือนกับความสำเร็จที่เกิดขึ้นกับการแก้ไขปัญหาเกลือทะเลของคณะกรรมการพัฒนาเกลือทะเลไทย โดยการใช้กลไกของสหกรณ์นี้ เชื่อมั่นว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาปริมาณส่งออกผลไม้ที่ลดลง และแก้ไขปัญหาผลผลิตล้นตลาด ด้วยการประสานกับสหกรณ์ทั่วประเทศ ให้เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงและกระจายสินค้าให้กับผู้ประกอบการจำหน่ายผลผลไม้ในท้องถิ่น

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

 รวมถึงผู้บริโภคที่เป็นสมาชิก ผ่านระบบตลาดทั้งในรูปแบบของออนไลน์ และออฟไลน์ รวมถึงกระบวนการของ logistic เพื่อเพิ่มความต้องการบริโภคผลไม้ในประเทศให้มากขึ้น ทั้งจากคนไทยทั้ง 70 ล้านคนทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวจากชาติต่างๆ ที่เข้ามาท่องเที่ยวอีกไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน ซึ่งเชื่อแน่นอนว่าช่วยให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้สามารถผ่านสถานการณ์ในครั้งนี้ไปได้อย่างแน่นอน

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงคาดว่า จะมีผลไม้จากพื้นที่ปลูกทั่วประเทศออกสู่ตลาดตลอดฤดูกาล ปี2563  ดังนี้ ผลผลิตมังคุด เงาะ ทุเรียน ลองกองของภาคตะวันออก มีผลผลิตออกระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน และมีปริมาณมากในช่วงเดือนมิถุนายน ส่วนผลผลิต ลำไยและลิ้นจี่ ของภาคเหนือนั้น สำหรับลิ้นจี่จะออกระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน และลำไยจะออกระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ขณะที่ทางภาคใต้ จะมีผลผลิตมังคุด เงาะ ทุเรียน และลองกอง ออกระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม และจะมีปริมาณสูงสุดในช่วงปลายเดือนสิงหาคม

ไวรัสโคโรนาทุบส่งออกสินค้าเกษตรไปจีนแล้ว 5 พันล้านบาท

“ทั้งนี้ จากการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ หรือ Fruit Board ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2563 ที่มุ่งเน้นว่า จะต้องมีข้อมูลการผลิตที่ชัดเจน เพื่อเชื่อมโยงกับตลาดผู้ซื้อได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้จังหวัดสามารถบริหารจัดการผลไม้แบบเบ็ดเสร็จด้วยตัวเอง อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีนโยบายในการบริหารจัดการตลาดผลไม้ผ่านระบบสหกรณ์ ในเรื่องต่าง ๆ ทั้งแนวทางการบริหารจัดการผลไม้ในปีนี้เน้นการปรับสมดุลระหว่างปริมาณผลผลิต (Supply) และปริมาณความต้องการของตลาด (Demand) เพื่อยกระดับคุณภาพและราคาผลผลิตให้แก่เกษตรกร ตามนโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายอลงกรณ์กล่าว