เปิดโมเดลแบริเออร์หุ้มยาง หนุนลดอุบัติเหตุ

24 ก.พ. 2563 | 11:05 น.

คมนาคมร่วมสังเกตการณ์การทดสอบการรับแรงกระแทกของคอนกรีตแบริเออร์หุ้มยางพารา หวังช่วยเกษตรกร เร่งต่อยอดโครงการพื้นถนนในไทย

 

 

 

 

 

 

    คณะกระทรวงคมนาคม เดินทาง ไป   ​ พร้อมด้วย นายสราวุธ​ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง​ นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท และนายชยธรรม์​ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนกรมทางหลวงชนบท​ ผู้แทนสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร​ และผู้แทนกองการต่างประเทศ​ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม​ ร่วมสังเกตการณ์การทดสอบการรับแรงกระแทกของคอนกรีตแบริเออร์หุ้มยางพารา​เพื่อประเมินสมรรถนะความปลอดภัย เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563  ที่ผ่านมา  ณสาธารณรัฐเกาหลี

การทดสอบดังกล่าว ใช้รถกระ บะขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ​ โดยควบคุมด้วยระบบคลื่นแม่เหล็ก ด้วยความเร็วในการชน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมงมุมชน 20 องศา รถกระบะมีน้ำหนัก 2,000 กิโลกรัม ตามมาตรฐาน EN13146-3 (Euro Code)  โดยสรุปผลการนำเสนอดังนี้

 สามารถทำให้รถกระบะแฉลบไปตามแนวคอนกรีตแบริเออร์หุ้มยางพารา​  ซึ่ง ปกติการชนในลักษณะนี้ด้วยความเร็วที่ทดสอบกับแบริเออร์คอนกรีตที่ไม่ได้หุ้มยางพาราจะชนทะลุแท่งคอนกรีต  การชนแนว ​แบริเออร์หุ้มยางพารา​ มีค่าระยะการร่นของแบริเออร์ที่อยู่ในระยะปลอดภัยต่อผู้ขับขี่ ตามหลักการทดสอบที่ปลอดภัยการชนในลักษณะนี้ต้องมีระยะการร่นที่ไม่เกิน​ 1​ เมตร​ จากเส้นจราจร​ ผลการทดสอบครั้งนี้ทดสอบได้ระยะร่นเพียง​ 50​ เซนติเมตรอีกทั้งยังรับแรงกระแทกได้ดีโดยหุ่น คาดเข็มขัดนิรภัย ในรถกระบะไม่กระเด็นเปลี่ยนทิศทาง (รับแรงกระแทกน้อยกว่า​ 60g) ซึ่งค่ามาตรฐานในการรับแรงกระแทกจากตัวรถมายังคนขับที่ปลอดภัยตามหลักสากลไม่ควรสูงกว่า 60g โดยการทดลองฯ วัดค่าจากอุปกรณ์ sensors ที่ติดตามหุ่น ภายใต้การคาดเข็มขัดนิรภัย  นอกจากนี้ แผ่นยางบนแท่งคอนกรีต​เสียหายเพียง 4 แผ่น​ บางแผ่นสามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่ ซึ่งปกติแผ่นยางจะหลุดเพราะการชนทำให้เกิดแรงเฉือนมากกว่า 3 ตันต่อตารางเมตรเป็นต้น