ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

21 ก.พ. 2563 | 12:20 น.

สั่งทบทวนโครงการวิจัยยาง ชี้ไม่ต้องผูกมัดกับบริษัท ดึงเครือซีพีสนับสนุน ช่วยหาช่องทางจัดจำหน่ายขายยางทั้งในและต่างประเทศ เล็งชงบอร์ด กยท.24 ก.พ.นี้ 

ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 นายอุทัย  สอนหลักทรัพย์  ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินโครงกา แผนบูรณาการต้นแบบยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตยางแท่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำเสนอโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  ที่คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์   โดยมีคุณสุภาพร โชคเฉลิมวงค์ รักษาการผู้อำนวยการกองบริหารแผนและงบประมาณการวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ   เป็นประธานในการประชุม   ผศ.ดร.วีระศักดิ์  สมิทธิพงศ์   เป็นผู้ประสานงาน สำนักประสานงานชุดโครงการยางพารา

ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

 นายอุทัย เผยว่า ได้เสนอแนะให้งานวิจัยไม่ต้องผูกมัดกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งควรยึดโยงงานวิจัยเน้นไปที่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับยางมากกว่า อาทิ เช่น การยางแห่งประเทศไทย เพราะอยู่ในกฎระเบียบข้อบังคับ  นอกจากนี้เรื่องกรดฟอร์มิกนั้น ไม่ต้องทำวิจัยใหม่ให้ใช้ผลงานวิจัยที่มีอยู่แล้วและนำมาต่อยอด   ส่วนด้านเครื่องจักรนั้นอาจมีการต่อยอด ไม่ต้องลงทุนใหม่เช่นกัน

ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

ส่วนระบบบำบัดน้ำเสีย ทางม.เกษตรได้สรุปผลงานวิจัยแล้วให้นำมาต่อยอด เชื่อมโยงผลงานวิจัยที่มีอยู่  ให้การผลิตยางโดยมุ่งเน้นดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย  ส่วนรูปแบบการพัฒนายางนั้นเริ่มแรกควรเปลี่ยนชื่อยางก้อนถ้วยก่อน โดยพัฒนายางให้เป็นเกรดพรีเมี่ยมให้สามารถเข้าสู่วงการล้อยางได้  นอกจากนี้ควรนำน้ำยางมาทำหา DRC จะให้ผลดีกว่าเอายางก้อนถ้วยมาทำ ส่วนเรื่องโลจิสติกให้มีการศึกษาเพื่อต่อยอดหรือเติมเต็มกันเพื่อก้าวพัฒนาไปด้วยกัน

ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

นอกจากนี้ควรความเชื่อมโยงกับเครือซีพี ควรมุ่งเน้นให้ซีพีเป็นผู้หาช่องทางการตลาดที่มีอยู่ในมือขายยางทั้งในประเทศและทั่วโลก หรือหากมีการวิจัยกับซีพี ควรให้ซีพีสมทบทุนวิจัยร่วมด้วย  ส่วนการยางแห่งประเทศไทย ควรเน้นเรื่องการอบรมการให้องค์ความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร 

ดึงซีพีขายยางทั่วโลก

อย่างไรขอให้คณะวิจัยมีการทบทวนโครงการฯ ที่นำเสนออีกครั้ง  นอกจากนี้นายอุทัยจะนำโครงการฯ ที่นำเสนอวันนี้เสนอบอร์ดการยางพาราแห่งประเทศไทยในวันที่ 24 ก.พ.นี้ เพื่อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับงานวิจัยยางทั้งหมด ร่วมมืองานวิจัยกันเพื่อมิให้เกิดการซ้ำซ้อน แต่มีการเชื่อมโยงต่อยอดจับมือกันพัฒนางานวิจัยให้เป็นหนึ่งเดียวสามารถพัฒนาใช้ประโยชน์ได้จริงแก่เกษตรกรต่อไป