สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

22 ม.ค. 2563 | 12:25 น.

สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 3 หมื่นรายเตรียมเฮ 23 ม.ค.นี้ บอร์ดเตรียมเคาะรองรับมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งตั้งแต่ขยายเวลาชำระหนี้ จนถึงสูงสุดแทงหนี้เป็นสูญ ยันสามารถทำได้มีกฎหมายรองรับ

จากปัญหาภัยแล้งกำลังคุกคามอย่างหนัก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ภัยแล้งตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ถึง 22 มกราคม 2563 มีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ 2562 มีสถานการณ์ทั้งหมด 20 จังหวัด 106 อำเภอ 592 ตำบล 2 เทศบาล 5,065 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย สุพรรณบุรี พะเยา และจังหวัดสกลนคร จากกรณีดังกล่าว

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล กรรมการผู้แทนเกษตรกร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารและประธานคณะทำงานกลั่นกรองวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  เรื่องมาตรการภัยแล้งสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีเงินที่จะไปจ่ายเยียวยาได้เลย เพราะกฎหมายไม่ให้แต่มีระเบียบของคณะกรรมการฟื้นฟูฯ สามารถยกหนี้ได้ในกรณีที่ประสบภัยพิบัติ ตามที่ราชการได้ประกาศตามพื้นที่ประสบภัยพิบัติ

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูได้ซื้อหนี้ให้สมาชิกมีอยู่กว่า 3 หมื่นราย หากรายไหนอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติตามที่ราชการประกาศให้สำนักงานหรือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นสำรวจพื้นที่เสียหาย ให้เร่งมาแจ้งเพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการขยายเวลาการชำระหนี้ตามสัญญา เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการเพื่อจะพิจารณาอาจจะยกเลิกไม่คิดดอกเบี้ย จะได้ไม่มีเบี้ยปรับเพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหา 

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

หรือส่วนเรื่องเงินกู้ยืม จำนวน 10,801 องค์กร มีเกษตรกรกว่า 3 แสนราย เฉพาะถ้าอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติเมื่อสำรวจแล้วเกิดความเสียหายจะไม่คิดดอกเบี้ย หรือขยายเวลาการชำระหนี้โครงการออกไปอีก หรือกรณีที่เป็นภัยพิบัติแล้วเสียหายทั้งหมดก็จะได้รับการพิจารณาเพื่อยกเลิกหนี้ หรือจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดจากการกู้ยืม เป็นต้น

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

อย่างไรก็ดีในส่วนนี้กำลังพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องระเบียบบางอย่างไม่ชัดเจนให้ครอบคลุมกับการแก้ปัญหาเรื่องของการฟื้นฟูให้ครบถ้วนที่จะมีการประชุมในวันที่ 23 มกราคมนี้   นี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง จึงได้มีนโยบายสั่งการให้สำนักงานในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติได้เร่งสำรวจ

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

สอดคล้องกับนายวิเชียร บุตรศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมาจากผู้เชี่ยวชาญ เขต 8  (ลำปาง) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)  มีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า นอกจากทางรัฐบาลยังมีการดูแลผ่าน ปภ. โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน แบ่งเป็น 2 หมวดได้แก่ เงินทดรองจ่าย ที่จ่ายชดเชยเยียวยา โดยให้ตามหลักเกณฑ์ หากเงินในจังหวัดไม่เพียงพอภัยแล้งขยายวงกว้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ ก็สามารถขอใช้งบกลางได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ที่ 6 แสนล้านบาท