ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

22 ม.ค. 2563 | 09:06 น.

จุรินทร์ จับมือเอกชน ยกระดับ SMEs-วิสาหกิจชุมชน-สหกรณ์-ผู้ประกอบการท้องถิ่น บุกตลาด กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภูมิภาค โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ต่าง ๆ ให้มีศักยภาพในการทำการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน  เพื่อยกระดับผู้ประกอบการ SMEs ในภูมิภาค (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)  ในการบุกตลาด CLMV  (กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) โดยได้เชิญผู้แทนจากทุกหน่วยงานในกระทรวง ผู้แทนจากสภาหอการค้าและหอการค้าจังหวัด กลุ่มต้นกล้าทูโกล กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP กลุ่ม Biz Club กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์/วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสินค้าเกษตรนวัตกรรม (API)  จากภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 82 ราย เป็นเบื้องต้นวันนี้

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

โดยการประชุมมีข้อสรุปในการร่วมมือกับภาคเอกชนเหล่านี้ในการขับเคลื่อนการส่งออก โดยมีมาตรการต่างๆมี 9 มาตรการประกอบด้วย  1. มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูกระบวนการส่งออกทั้งระบบซึ่งจะมีหลายกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าระบบการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการค้าชายแดนและข้ามแดนยังติดปัญหาอุปสรรคที่เป็นคอขวดอยู่ที่หน่วยงานใดบ้าง และให้นำกลับมารายงานเพื่อหาวิธีขจัดปัญหาและอุปสรรคเหล่านั้นให้เสร็จโดยเร็ว

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

2. กระทรวงพาณิชย์จะร่วมกับภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีศักยภาพในการส่งออก เพื่อร่วมกันทำโรดโชว์ในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้ง 4 ประเทศโดยจะมุ่งเน้นลงลึกไปถึงเมืองที่มีศักยภาพ ไม่เฉพาะเมืองหลวงเท่านั้น 3. เน้นการจัดกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจให้บ่อยขึ้น ทั้งที่ทำในประเทศไทยหรือบริเวณชายแดนและในประเทศ CLMV

4. เร่งรัดการเจรจากับจีนในเรื่องการส่งสินค้าโดยเฉพาะผลไม้ข้ามแดนจากภาคอีสานของไทย เช่น ด่านมุกดาหาร หรือด่านนครพนม เพื่อให้การส่งออกผ่านลาวและเวียดนามไปสู่จีนตอนใต้ให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าและผลไม้ข้ามแดนไปยังตอนใต้ของจีนผ่านด่านนครพนมและมุกดาหาร ที่ยังมีปัญหาอุปสรรคบางประการในเรื่องข้อตกลงระหว่างประเทศ ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้กระทรวงเกษตรฯจะเร่งเจรจากับหน่วยงานรัฐบาลจีนที่รับผิดชอบด้านศุลกากรเพื่อหารือข้อตกลงร่วมกันในการส่งออกผลไม้ผ่านด่านนครพนม

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

5. จัดคาราวานส่งออกตามแนวชายแดนที่สำคัญ เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจท้องถิ่นและสินค้าไทยที่มีศักยภาพที่จะดึงผู้นำเข้าทั้งปลีกและส่งข้ามแดนมาซื้อสินค้าจากไทยไปยังประเทศนั้นๆ ได้สะดวกขึ้น และจะมีการอำนวยความสะดวกครบวงจรทั้งในการเจรจากับฝ่ายตรงข้ามในเรื่องประชาสัมพันธ์และการเจรจาเพื่อเปิดด่านให้ยาวนานเป็นพิเศษเช่น เปิดทั้ง 24 ชั่วโมง 3 วันติดกัน เป็นต้น

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

6. สร้างศูนย์กระจายสินค้าชายแดนและศูนย์กระจายสินค้าข้ามแดนเพื่อความสะดวกในการกระจายสินค้าไทยไปยังประเทศที่สามหรือในประเทศนั้นๆ ให้ได้มากขึ้น ขณะนี้หอการค้าได้มีข้อเสนอว่าจุดหนึ่งที่มีศักยภาพคือบ่อเต็น โดยกระทรวงพาณิชย์ จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ โดยมีหลักการว่ารัฐบาลจะไม่เข้าไปลงทุนแต่จะมีเอกชนเป็นผู้นำ

7. เร่งรัดในการสนับสนุนให้มีการนำสินค้าท้องถิ่นของไทยให้มีโอกาสไปขึ้นแพล็ตฟอร์มระดับสากลมากขึ้น และจะเร่งรัดความร่วมมือระหว่าง Thaitrade.com ของกระทรวงพาณิชย์และ Kha-leang.com ซึ่งเป็นแพล็ตฟอร์มที่เป็นที่นิยมอย่างมากในกัมพูชา เป็นต้น และจะขยายต่อไปในอนาคต

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

8. การส่งเสริมสินค้าโอท้อปที่สนามบินเพื่อส่งไปยัง CLMV ซึ่งจะมีการเจรจากับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสินค้าโอท้อปไม่จำเป็นต้องหิวขึ้นเครื่องบินไปโดยตรง หากซื้อในปริมาณมาก แต่สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้และจัดส่งตามไปทีหลัง9. กระทรวงพาณิชย์จะเดินหน้าในการอบรมให้ความรู้กับผู้ส่งออกรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผลิตการสร้างแบรนด์ และการทำตลาดใน CLMV ทั้งนี้มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการเอสเอ้ฒอีที่มีกว่า2.7-3ล้านรายมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศCLMVมากขึ้น

ดันSMEs 2.7-3ล้านรายส่งออกไปCLMV

สำหรับ แนวโน้มการส่งออกในปีนี้ ยังเชื่อว่าจะดีขึ้นเนื่องจากสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนมีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ที่เข้มข้นในปีนี้