ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

18 ม.ค. 2563 | 06:35 น.

กรมชลประทาน ออกมายืนยันทุ่งบางระกำที่ปรับเปลี่ยนเวลาปลูกข้าวทุกวันที่ 1 เม.ย.ต้องได้ปลูก ปรับเปลี่ยนทยอยปลูกข้าว

ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

โครงการบางระกำโมเดลนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2560 ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มต่ำของแม่น้ำยมและแม่น้ำเจ้าพระยาดำเนินการปลูกข้าวและเก็บเกี่ยวให้ทันก่อนฤดูน้ำหลากเพื่อที่จะใช้ทุ่งนาที่เก็บเกี่ยวแล้วรับน้ำหลากจากแม่น้ำเป็นการตัดยอดน้ำไม่ให้เกิดในน้ำท่วมในพื้นที่เมือง โดยมีทุ่งรับน้ำ 2 ส่วน คือ พื้นที่ อ.บางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ 2.65 แสนไร่ จะเริ่มปลูกในเดือนเมษายนและเก็บเกี่ยวในเดือนสิงหาคม สามารถรองรับน้ำหลากได้ 500 ล้าน ลบ.ม. แต่ปีนี้สถานการณ์น้ำค่อนข้างน่าเป็นห่วง กรมชลประทานจะดำเนินการอย่างไร

ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ยืนยันว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อเนื่อง ไม่หยุด แต่จะสามารถปลูกได้พื้นที่เท่าไร คาดว่าในเร็วๆ นี้จะมีการเรียกทางผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียกประชุมกันอย่างน้อยยังมีเวลาอีก 2 เดือนที่จะเตรียมการว่าจะเริ่มวันที่ 1 เมษายน ได้กี่ไร่ และวันที่ 15 เมษายน ได้กี่ไร่ จะค่อยทยอยทำไม่แบบในอดีตที่จะทำพร้อมกันทั้งทุ่งนาเลย

ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

ด้านกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ  รายงานสถานการณ์ปริมาณน้ำ ณ วันที่ 18 มกราคม 2563 ปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 48,204 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 59) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 19,664 ล้าน ลบ.ม. (ร้อยละ 41) เฝ้าระวังน้ำน้อย 14 แห่ง (แม่กวง ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก ทับเสลา กระเสียว จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำแซะ ลำนางรอง ป่าสักฯ คลองสียัด และหนองปลาไหล) 

ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

แหล่งน้ำขนาดกลาง 354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่ง ที่มีระบบติดตามได้ เฝ้าระวังน้ำน้อย 105 แห่ง (เหนือ 31 แห่ง ตะวันออกเฉียงเหนือ 56 แห่ง กลาง 2 แห่ง ตะวันออก 12 แห่ง ตะวันตก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง)

ยัน ‘ทุ่งบางระกำ’ มีน้ำปลูกข้าว

สำหรับภาพรวมน้ำประปาวันนี้ (18 มกราคม 2563) น้ำประปารสชาติปกติ แนะสำรองไว้บริโภค 

✔ค่าคลอไรด์ น้อยกว่า 250 มิลลิกรัม/ลิตร
✔ค่าความนำไฟฟ้า น้อยกว่า 1,200 ไมโครซีเมนต์/เซนติเมตร

✅ ไม่ส่งผลต่อการรับรู้รสชาติ ✅ แนะนำประชาชน สำรองน้ำไว้บริโภค

(ค่าคลอไรด์ ต้องมากกว่า 250 มิลลิกรัม/ลิตร ถึงจะส่งผลต่อการรับรู้รสชาติ ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO Guideline for Drinking Water 2017