อีอีซีเจาะ4ชาติ ดึงลงทุนกว่า 400 บริษัท

20 ม.ค. 2563 | 23:20 น.

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้มีการสรุปตัวเลขการลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลในพื้นที่อีอีซีช่วงปี 2560-2562 มีมูลค่าการลงทุนจริงราว 1.22 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นภาครัฐลงทุน 1.2 แสนล้านบาท และเอกชน 1.86 หมื่นล้านบาท อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 8.82 แสนล้านบาท และนอกนิคมฯ 3.19 แสนล้านบาท

ส่งผลให้เกิดการจ้างงาน 1.83 แสนคน อยู่ในนิคมฯ 8.11 หมื่นตำแหน่ง และนอกนิคมฯ 1.02 แสนตำแหน่ง มีโรงงาน เปิดใหม่ 2,647 โรงงาน อยู่ในนิคมฯ 504 โรงงาน และนอกนิคมฯ 2,143 โรงงาน

ทั้งนี้ ในการเร่งรัดขับเคลื่อนการลงทุน ทั้งในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ไทย (กนอ.) สกพอ. หรือกระทั่งในส่วนของภาคเอกชนเอง ส่งผลให้ในปี 2562 ที่ผ่านมา มียอดขอรับคำขอส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซีจำนวน 506 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 444,880 ล้านบาท

ดึง 4 ชาติลงทุนอีอีซี

ขณะที่การดำเนินงานของสกพอ. พยายามเร่งรัดให้เกิดการลงทุนในอีอีซีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเข้าไปเชิญชวนนัก ลงทุนเป็นรายมณฑลใน 4 ประเทศหลัก ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีน ที่เป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ มาลงทุน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาทางอีอีซี พยายามเข้าไปเจาะนัก ลงทุนเป็นรายมณฑล ของแต่ละประเทศ ที่เป็นบริษัทชั้นนำของ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งในปี 2563 นี้ สกพอ.จะเข้าไป สานต่อการดำเนินงานจากปีที่แล้วมากขึ้น โดยส่วนของจีน มณฑลกวางตุ้งนั้น ได้มีความร่วมมือกับคณะทำงาน High Level ไทย-กวางตุ้ง ที่จะเข้าไปผลักดันให้เกิดการลงทุนในกลุ่มอุตสาห- กรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ดิจิทัล ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมการแพทย์ ซึ่งได้มีคณะทำงาน High Level ไทย-กวางตุ้ง เพื่อร่วมทำข้อเสนอโครงการลงทุน โดยมีบริษัทหรือเทคโนโลยีเป้าหมาย เช่น หัวเว่ย ลงทุน 5G และหัวเว่ย อะคาเดมี่ บริษัท BYD ทำรถไฟฟ้า บริษัท BGI ธุรกิจการแพทย์จีโนมิกส์ และ Mindray


 

 

หวังทุนจีนกว่า 400 บริษัท

รวมถึงมณฑลเจ้อเจียง ที่ร่วมกับสมาคมธุรกิจเจ้อเจียง ในการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง และอี-
คอมเมิร์ซ ซึ่งได้มีการเจรจาที่จะเปิดนิคมอุตสาหกรรมรองรับนักลงทุนจากมณฑลเจ้อเจียง 400 บริษัท กับ บริษัท ฟู่ทง กรุ๊ป กองทุนเกาเผิง (Peng Capital) และ Funs (Beijing) Group Co., Ltd. เข้ามาลงทุน

อีกทั้ง มณฑลเหอหนาน ได้มีความร่วมมือกับรัฐบาลมณฑลเหอหนานและคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษท่าอากาศยานเจิ้งโจว ZAEZ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์กับ ZAEZ ด้านมหานครการบิน ที่จะนำไปสู่การร่วมลงทุนธุรกิจโลจิสติกส์ทางอากาศ เจิ้งโจว-ลักเซมเบิร์ก-อู่ตะเภา

ในส่วนของฮ่องกง ได้ร่วมกับองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) และสมาพันธ์อุตสาหกรรมฮ่องกง (FHKI) ผลักดันการลงทุนในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ดิจิทัล Start Up บุคลากรทักษะสูง ซึ่งขณะนี้มีหลายบริษัทอยู่ในระหว่างการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และยังร่วมกันทำข้อเสนอการพัฒนา Start up กับทาง HKTDC รวมถึงร่วมทำข้อเสนอการลงทุนให้นักลงทุนฮ่องกงรายสำคัญ เช่น King Wai Group, Hong Kong Science, Technology Parks Corporation เป็นต้น

 

อีอีซีเจาะ4ชาติ  ดึงลงทุนกว่า 400 บริษัท

 

ใช้นิคมฯอมตะรับทุนไต้หวัน

นอกจากนี้ ยังมีไต้หวัน ที่ได้หารือแนวทางความร่วมมือกับทางสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศ ไทย (TECO) ไปแล้ว 2 ครั้ง ที่ จะดึงลงทุนในกลุ่มเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะ เศรษฐกิจสีเขียว และการแพทย์และเภสัชกรรมอัจฉริยะ โดยมีแผนที่จะเดินทางพบปะกับบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงของไต้หวัน ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2563 นี้ พร้อมทั้งจัดตั้งพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะนักลงทุนไต้หวัน 600 ไร่ที่นิคมฯอมตะซิตี้ รองรับนักลงทุนเป้าหมาย เช่น TCI Co., Ltd. เป็นผู้ผลิตอาหารและเกษตรครบวงจร มุ่งเน้นนำผลผลิตมาแปรรูปอาหาร กลุ่ม Anti-aging และกลุ่ม Probiotics บริษัท OBI Pharma มีความเชี่ยวชาญในการผลิตยากลุ่มโรคมะเร็ง โรคติดเชื้อ ผลิตยาที่ใช้เทคโนโลยี passive glycan ในการรักษาโรคมะเร็ง มีศูนย์วิจัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาและจีน และบริษัท PharmaEssentia ผู้ผลิตยารักษาโรคทางโลหิตวิทยาโรคติดเชื้อ เนื้องอก มีสำนักงานและศูนย์วิจัยหลักที่ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา และบริษัท Solomon technology เป็นต้น

 

 

ประเคนสิทธิพิเศษให้เกาหลีใต้

ขณะที่เกาหลีใต้นั้น ได้ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KOTRA) ที่จะดึงการลงทุนในกลุ่มดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ อาหาร และอุตสาหกรรมความงาม โดยมีแผนที่จะเดินทางพบปะกับบริษัทเทคโนโลยีระดับสูงของเกาหลีใต้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ พร้อมจัดตั้งพื้นที่พิเศษ เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะนักลงทุนเกาหลี ช่องทางพิเศษ เช่นจัดให้มีKorean Desk อำนวยความสะดวกพิเศษผ่าน EEC-OSS รวมทั้งอีอีซีจะร่วมมือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ KOTRA จัดสิทธิประโยชน์พิเศษด้านการลงทุนให้ ดังนั้นเชื่อว่าใน ปี 2563 นี้ การลงทุนในพื้นที่อีอีซี จะคึกคักกว่าปี 2562 ที่ผ่านมา

 

หน้า 5 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,541 วันที่ 19-22 มกราคม 2563