ชาวบ้านอีอีซี รวมพลต้านเวนคืนไฮสปีด

13 ม.ค. 2563 | 23:40 น.

แม้ รฟท.จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าจะถูกกระทบบริเวณใดบ้าง โดยเฉพาะ กลุ่มที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ ตามเส้นทาง ที่ไม่มีโฉนด อาจได้รับผลกระทบไม่มีที่อยู่อาศัยทำกิน

 

วันที่ 12 มกราคม 2563 ชาวบ้านใน 3 จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี นัดรวมพลต่อต้านการเวนคืน ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  (ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท หลังพระราช กฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เตรียมลงพื้นที่ ทั้งนี้ ผู้แทนชาวบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทรา ระบุแม้ รฟท.จะเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า จะถูกกระทบบริเวณใดบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่อาศัยบนที่ดินรถไฟ ตามเส้นทางที่ไม่มีโฉนด อาจได้รับผลกระทบไม่มีที่อยู่อาศัยทำกิน เช่นเดียวกับเลือกสวนไร่นา บ้านเรือนประชาชนที่มีโฉนด อาจจะกระทบเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะจุดที่จะสร้างสถานีใหม่บริเวณ ตำบลวังตะเคียน พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นท้องนา อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านยังกังวลอีกว่า ร่างกฎหมาย การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี(ทีโอดี) มองว่า จะเป็นการย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยวิธีเวนคืนและอาจจะมอบที่ดินให้เอกชนผู้รับสัมปทาน เข้าพัฒนาเชิงพาณิชย์แทน

สำหรับเขตที่ดินที่จะเวนคืน ครอบคลุมท้องที่แขวงคลองสามประเวศ แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ตำบลราชาเทวะ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ขณะ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลท่าไข่ ตำบลบางขวัญ ตำบลบ้านใหม่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และ ชลบุรี ที่ถูกกระทบในหลายพื้นที่ ไล่ตั้งแต่ ตำบลบ้านสวน ตำบลหนองข้างคอก ตำบลห้วยกะปิ อำเภอเมืองชลบุรี ตำบลบางพระ ตำบลสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง ตำบลนาจอมเทียน ตำบลบางเสร่ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ ขณะจังหวัด ระยอง จะได้รับผลกระทบบริเวณ ตำบลสำนักท้อน ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง เชื่อมกับเมืองการบินและสนามบินอู่ตะเภา ที่กำลังชิงดำร้อนฉ่า ระหว่างกลุ่มซีพี และกลุ่มบีทีเอส อยู่ในขณะนี้

ชาวบ้านอีอีซี รวมพลต้านเวนคืนไฮสปีด

 

ด้านความพร้อมนายวรวุฒิมาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า พ.ร.ฎ.เวนคืนมีกำหนดระยะเวลา ส่งผลให้การรถไฟฯต้องเข้าพื้นที่ตรวจสอบ โดยเฉพาะ กลุ่มที่ดำเนินการได้ ก่อนจะเป็น กลุ่มบุกรุก ขณะการลงพื้นที่ เวนคืน ตลอดเส้นทางกฎหมายให้อำนาจไว้ คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ตาม ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ไม่เกิน 1-2 ปี พร้อม ทั้งหารือเอกชน ปรับแบบก่อสร้างใหม่

หน้า 12 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับที่ 3,539 วันที่ 15 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2562

ชาวบ้านอีอีซี รวมพลต้านเวนคืนไฮสปีด