เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

09 ม.ค. 2563 | 11:19 น.

ลุ้นกันข้ามปีสำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่าการลงทุน 2.9 แสนล้านบาท  ที่การประมูลล่าช้าไปกว่าที่วางไว้ จากประเด็นที่กลุ่มธนโฮลดิ้ง (CP) ซึ่งมีเจ้าสัวธนินท์ เจียรวานนท์ เป็นแกนนำและพันธมิตร  ยื่นซองเอกสารข้อเสนอซอง 2 (ด้านเทคนิคและแผนธุรกิจ) กล่องที่ 6 และซอง 3 (ข้อเสนอด้านราคา) กล่องที่ 9 เกินเวลาไป 9 นาที  จนถูกคณะกรรมการคัดเลือกฯตัดสิทธิ์ ไม่รับพิจารณาซองที่ยื่นเกินเวลาดังกล่าว

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

ส่งผลทำเอากลุ่มธนโฮลดิ้งฯดิ้นสุดตัวเริ่มตั้งแต่ฟ้อง “ศาลปกครองกลาง” กรณีถูกตัดสิทธิดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2562  และศาลปกครองกลางมีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2562 ยกคำร้องของกลุ่มธนโฮลดิ้ง(CP)และพันธมิตร  โดยเห็นชอบที่คณะกรรมการคัดเลือกไม่รับพิจารณาซองเอกสารยื่นเกินเวลา 
 

การเดินหน้าต่อฟ้องร้องไปยัง “ศาลปกครองสูงสุด” เมื่อวันที่ 16  กันยายน 2562 จึงเป็นความหวังเฮือกสุดท้ายของกลุ่มธนโฮลดิ้งฯ(CP)และพันธมิตร และในวันที่ 10 มกราคม 2563 เวลา 10.00 น. ก็จะเป็นวันที่ศาลปกครองสูงสุด นัดพิพากษาคดี  ว่า กลุ่มธนโฮลดิ้ง (CP)และพันธมิตร  จะไปได้ต่อจนครบกระบวนการประมูล หรือ ตกม้าตาย ทั้ง ๆ ที่วาดความหวังไว้ว่าจะได้ต่อจิกซอร์บิ๊กโปรเจ็คอีอีซีอย่างครบวงจร

ทั้งโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)  และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพื่อหวังว่าจะได้กำไรจากการลงทุนสนามบินอู่ตะเภา มาถัวกับโครงการไฮสปรีด มีความเสี่ยงในการขาดทุนสูง จากปัญหาการส่งมอบพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ที่ล่าช้า อีกทั้งธุรกิจสนามบินเป็นธุรกิจที่สามารถทำกำไรได้ดีในช่วงอายุสัญญา 50 ปี

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

รวมถึงการลงทุนในพื้นที่ 6,500 ไร่ในสนามบินอู่ตะเภา ยังมีความเสี่ยงในการลงทุนน้อยกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เพราะเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ที่สามารถพัฒนาได้ทันที ไม่มีปัญหาเรื่องเวนคืน หรือมีความยุ่งยากในการนำพื้นที่มาพัฒนา
วันที่ 10 มกราคม จึงเป็นวันชี้ชะตาของกลุ่มธนโฮลดิ้ง(CP)และพันธมิตร กลุ่มใดจะเป็นผู้ชนะการประมูลในครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทาง 

 

แนวทางแรก คือ ถ้าศาลปกครองสูงสุดมีมติยกคำร้องเหมือนที่ศาลปกครองกลางเคยมีมติไว้เมื่อวันที่21 สิงหาคม2562 ที่เห็นชอบไม่ให้รับซองยื่นเกินเวลาดังกล่าว ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯก็จะไม่นำซองยื่นเกินเวลาของกลุ่มธนโฮลดิ้งฯมาพิจารณา งานนี้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส มีโอกาสชนะการประมูลครั้งนี้แน่นอน เนื่องจากเสนอผลตอบแทนให้รัฐอยู่ที่ 3.05 แสนล้านบาท สูงกว่าแกรนด์คอนซอร์เตียม เสนอผลตอบแทนให้รัฐ อยู่ที่ 1 แสนล้านบาท


แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางคณะกรรมการคัดเลือกจะนำข้อเสนอที่ยื่นเกินเวลาของกลุ่มธนโฮลดิ้ง(ซีพี)และพันธมิตรมาพิจารณาข้อเสนอซอง2 ไว้แล้ว ตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม2562 ระหว่างรอพิพากษาคดี

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

แนวทางที่ 2 หากศาลปกครองสูงสุด มีมติให้คณะกรรมการคัดเลือกฯรับซองที่เกินเวลาของกลุ่มธนโฮลดิ้งมาพิจารณา เหมือนเช่นมติที่เคยมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนหน้านี้ ก็จะทำให้กลุ่มธนโฮลดิ้ง เข้าสู่การแข่งขันได้เต็มร้อย เช่นเดียวกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส และกลุ่มแกรนด์คอนซอร์เตียม
 
ดังนั้นขั้นตอนต่อไปทางคณะกรรมการคัดเลือกฯก็จะพิจารณาประกาศผลซอง 2 ของกลุ่มธนโฮลดิ้ง ซึ่งถ้าผ่านคุณสมบัติซอง 2 ก็จะมีการเปิดข้อเสนอราคา (ซอง3) ต่อไป โดยจะมีการเรียกทั้ง 3 กลุ่มที่ยื่นประมูลมารับรู้ราคาพร้อมกันในวันเปิดซองของธนโฮลดิ้ง ใครเสนอราคาสูงสุดก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

เปิดอาณาจักรทุนใหญ่ชิงเค้กอู่ตะเภาแสนล้าน

 

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

ผ่าอาณาจักร"ธนโฮลดิ้ง" ใต้ปีกเจ้าสัวซีพี

เกาะติดคดีอู่ตะเภา CP ไปต่อหรือตกม้าตาย

หุ้น2กลุ่มคดีอู่ตะเภาบวกยกแผง