แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

08 ม.ค. 2563 | 07:10 น.

ปภ.ประกาศภัยแล้ง 14 จ. ป้องหมู่บ้านร่วม 4 พัน เร่งประสานจังหวัดแจกน้ำ ขณะที่น้ำเค็มสูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง เร่งผันน้ำแม่กลองไล่ต่อเนื่อง

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

วันที่ 8 มกราคม 2563 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย รายงานสถานการณ์สาธารณภัยแล้ง ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ถึงปัจจุบัน มีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ 2562 มีสถานการณ์ทั้งหมด 14 จังหวัด 70 อำเภอ 422 ตำบล 3,800 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่จ.เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ จ.อุตรดิตถ์ นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมากาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และอุทัยธานี

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

โดยมีมาตรการ 1) ใช้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ตามกฎหมายและแผนว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยแบ่งเป็น3 กลุ่มภารกิจหลัก ประกอบด้วย กลุ่มพยากรณ์ กลุ่มบริหารจัดการน้ำ และกลุ่มปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ 2) ให้สำรวจ ตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พร้อมทั้งกำหนดมาตรการรับมือ อาทิ การจัดทำแผนสำรองน้ำ การหาแหล่งน้ำสำรอง การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบ การขุดขยายสระพักน้ำดิบ เพื่อสำรองปริมาณน้ำในการอุปโภคบริโภค รวมถึงการสูบส่งน้ำ

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

จากแหล่งน้ำใกล้เคียงไปยังระบบการผลิตน้ำประปาและให้กำหนดพื้นที่ที่เหมาะสมเป็นพื้นที่นำร่อง การพัฒนาพื้นที่รับน้ำ (แก้มลิง) ชั่วคราว ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นพื้นที่กักเก็บน้ำถาวร ตลอดจนการพิจารณาจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินที่มีการควบคุมคุณภาพน้ำที่กักเก็บให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการใช้ประโยชน์

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

3) ในส่วนของการจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร ให้สนับสนุนมาตรการควบคุมการใช้น้ำในพื้นที่โดยขอความร่วมมือไม่ให้เกษตรกรทำการปิดกั้นลำน้ำ หรือสูบน้ำเข้าพื้นที่การเพาะปลูก ตามแผนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภคในพื้นที่ พร้อมทั้งประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการจัดทำฝนหลวงในพื้นที่เมื่อสภาวะอากาศเอื้ออำนวยเพื่อกักเก็บน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ให้ได้มากที่สุด และ4) เฝ้าระวัง และควบคุมไม่ให้มีการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ คู

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

ด้านกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 46,549 ล้าน ลบ.ม. (61% ของความจุอ่างฯ) เป็นน้ำใช้การได้ 22,721 ล้าน ลบ.ม. (44% ของความจุอ่างฯ)  อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (น้อยกว่า 30%) จำนวน 10 แห่ง ได้แก่แม่กวงอุดมธารา แม่มอก จุฬาภรณ์อุบลรัตน์ ลำพระเพลิง ลำนางรอง ทับเสลา ป่าสักชลสิทธิ์กระเสียว และคลองสียัด

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ม.ค.63)ปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 10,906 ล้าน ลบ.ม. (44% ของความจุอ่างฯ) เป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 4,210 ล้าน ลบ.ม. (23% ของความจุอ่างฯ) ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 7 ม.ค.63) ทั้งประเทศ แผนการจัดสรรน้ำ 17,699 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 5,959 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 34 เจ้าพระยา แผนการจัดสรรน้ำ 4,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 1,839 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

ส่วนแผน-ผลการเพาะปลูกข้าวนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 ม.ค.62) ทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ ปัจจุบัน เพาะปลูกแล้ว 2.27 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 98.12 ของแผนฯ ลุ่มเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง –ล้านไร่ (รณรงค์งดทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2562/63) ปัจจุบัน เพาะปลูกแล้ว 1.58 ล้านไร่

แล้งคุกคาม14 จังหวัดกระทบร่วม 4 พันหมู่บ้าน

คุณภาพน้ำ :แม่น้ำเจ้าพระยาสถานีประปาสำแลจ.นนทบุรี(สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ท่าน้ำนนทบุรี จ.นนทบุรี ท่าน้ำกรมชลประทาน สามเสน(สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ทั้งนี้ กรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยทำการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกง สถานีปราจีนบุรี (ปกติ) แม่น้ำท่าจีน สถานีปากคลองจินดา (ปกติ) และแม่น้ำแม่กลองสถานีปากคลองดำเนินสะดวก (ปกติ)