ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

06 ม.ค. 2563 | 08:40 น.

สทนช.เตรียม ชง ครม. ขอ งบกลางสนับสนุนแหล่งน้ำระยะเร่งด่วนช่วยเหลือภัยแล้งกว่า 3,000 ล้านวันพรุ่งนี้ พร้อมผนึก 3 หน่วยงานเดินแผนผันน้ำจากแม่กลองขับไล่น้ำเค็มรุกล้ำเจ้าพระยาให้กลับสู่ปกติ

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

วันที่ 6 มกราคม 2562 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยว่า เนื่องจากในช่วงปลายฤดูแล้ง ความรุนแรงของภัยแล้งอาจจะเพิ่มมากขึ้น เพื่อความไม่ประมาท พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี จึงมีมติผ่านการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ในการเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันพรุ่งนี้  (7 ม.ค. 63) พิจารณาอนุมัติงบกลาง เพื่อดำเนินการตามปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งระยะเร่งด่วน ที่จะเน้นพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำอุปโภค-บริโภคทั้งในเขตและนอกเขตการประปา รวม 2,041 โครงการ วงเงิน 3,079 ล้านบาท รองรับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคที่อาจจะมีผลกระทบมากขึ้นได้ในปลายฤดูแล้งช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. ดำเนินการโดย 4 หน่วยงาน ได้แก่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพบก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม อาทิ การขุดเจาะบ่อบาดาล เชื่อมโยงแหล่งน้ำผิวดิน เป็นต้น

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

“รัฐบาลให้ความสำคัญและมีข้อห่วงใยต่อภาวะน้ำแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นได้จากการคาดการณ์ปริมาณฝนที่อาจจะล่าช้าไปถึงเดือนมิถุนายน และตกเข้าใกล้เกณฑ์ปกติในเดือนกรกฏาคม ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนระยะสั้น และระยะกลาง ในการแก้ไขภัยแล้ง โดยใช้งบประมาณดำเนินการใน 3 ส่วนหลัก คือ คือ 1) งบกลาง ที่จะเสนอที่ประชุม ครม.เห็นชอบในวันพรุ่งนี้ วงเงิน 3,097 ล้านบาท เพื่อหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมรวม 2,041 โครงการ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้เกิดผลภายใน 90-120 วัน 2.การปรับแผนงานโครงการ งบประมาณปกติปี 2563 ของหน่วยงานเพื่อช่วยแก้แล้งในช่วง 1-2 เดือนนี้ วงเงิน 2,950 ล้านบาท จำนวน 1,337 โครงการ

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

ประกอบด้วย การประปานครหลวง (กปน.) การประปาภูมิภาค และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล ซ่อมแซมระบบประปา เชื่อมโยงแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ำ และ 3) แผนงานโครงการตามงบประมาณปี 2563 เมื่อสภาผู้แทนราษฎร (สส.) พิจารณาผ่านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เรียบร้อยแล้ว จะต้องเร่งรัดดำเนินการทันที โดยเฉพาะโครงการที่ต้องดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 57 จังหวัด จำนวน 1,434 โครงการ วงเงินประมาณ 9,400 ล้านบาท เพื่อเร่งดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซม พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ พัฒนาแก้มลิง ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝน ปี 2563 ซึ่งจะส่งผลให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูฝนประมาณ 166,300 ไร่ ปริมาณน้ำที่เก็บกักได้ 135 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 72,190 ครัวเรือน      

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

ดร.สมเกียรติ กล่าาวว่า จากการคาดการณ์พบว่า ช่วงประมาณวันที่ 8-15 ม.ค. 62 นี้ ลิ่มความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาจะเพิ่มสูงขึ้น และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำโดยตรง ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนนอกจากการระบายน้ำจาก 2 เขื่อนหลักตอนบน ได้แก่ เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลักดันน้ำเค็มแล้ว แต่ด้วยปริมาณน้ำที่มีอยู่จำกัด จึงต้องมีการปรับแผนลำเลียงน้ำจากฝั่งตะวันตกซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำฯ มากกว่า ระบายผ่านแม่น้ำแม่กลองมาช่วยเหลือในพื้นที่ของแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้น โดยมีการทำงานร่วมกันของ การประปานครหลวง(กปน.) กรมชลประทาน(ชป.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ซึ่งนอกจากจะช่วยในการรักษาคุณภาพน้ำในการผลิตน้ำประปาแล้ว ยังช่วยผลักดันน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามาของแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย 

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

ปัจจุบันได้มีการดึงน้ำจากแม่น้ำแม่กลองผ่าน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1) คลองท่าสาร-บางปลา 2) คลองจรเข้สามพัน โดยขณะนี้มีการปรับอัตราการระบายเพิ่มขึ้น จาก 35 ลบ.ม./วินาที เป็น 50 ลบ.ม./วินาที ก่อนน้ำไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน เข้าสู่คลองพระยาบันลือและไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยา โดยขณะนี้กรมชลประทานกำลังพิจารณาเพิ่มปริมาณน้ำในคลองพระยาบันลือให้มากขึ้น และ 3) คลองประปา ปัจจุบัน กปน. ปรับการระบายเพิ่มขึ้นเป็น 30 ลบ.ม./วินาที แต่ยังไม่เพียงพอ จะต้องปรับเพิ่มขึ้นอีก 10 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ ในส่วนของคลองประปาด้านหลังที่เชื่อมกับคลองบางกอกน้อย อาจจะต้องมีการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำหรือใช้ระบบสูบน้ำเข้าช่วยนอกจากนี้ กรมชลประทาน โดยการสนับสนุนจาก กทม.และกองทัพเรือ อาจต้องมีการวางกระสอบทรายปิดกั้นเพื่อช่วยให้น้ำลำเลียงเข้าสู่คลองบางกอกน้อยให้ได้อย่างเต็มศักยภาพ

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

“ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวได้ร่วมกันเพิ่มศักยภาพการผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการดำเนินการได้เริ่มตั้งแต่ช่วงก่อนปีใหม่ และจะต่อเนื่องไปในอีก 3-4 วัน ข้างหน้านี้ ทั้งนี้ กรมชลประทานได้มีการวิเคราะห์ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว และยืนยันว่าน้ำที่ผันมาจากแม่น้ำแม่กลองยังคงอยู่ในปริมาณที่กำหนดไว้ คือ 500 ล้าน ลบ.ม. โดยขณะนี้ใช้ไปแล้วกว่า 200 ล้าน ลบ.ม. อีกทั้งในการประเมินล่าสุดยังพบว่าสามารถผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเพิ่มเติมได้อีกประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งลุ่มน้ำแม่กลองได้มีการสำรองน้ำไว้เพียงพอแล้ว”

ของบ ครม.พรุ่งนี้ 3 พันล้านแก้แล้ง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ น้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งและฤดูฝนที่จะมาถึง ปริมาณน้ำที่ผันมานี้จึงนับว่าเป็นน้ำส่วนที่มากเกินความต้องการ สามารถผันมาช่วยเหลือแม่น้ำเจ้าพระยาได้ โดยมั่นใจได้ว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของชาวแม่กลองอย่างแน่นอน นอกจากนี้กรมชลประทานจะพยายามปล่อยน้ำที่กักเก็บไว้ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้ทันต่อช่วงวันที่ 8-15 ม.ค. นี้ เป็นการควบคุมไม่ให้ลิ่มความเค็มไม่ให้ขึ้นสูงจนกระทบต่อความกร่อยของน้ำประปา แต่ก็ต้องยอมรับว่าในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง อาจส่งผลกระทบถึงคุณภาพน้ำอยู่บ้าง อย่างไรก็ดี การประปานครหลวงจะรับหน้าที่การตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยเฉพาะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะนำไปใช้ในการผลิตน้ำประปา เพื่อให้การใช้น้ำประปาไม่เกิดปัญหาต่อสุขภาพของประชาชน