เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

02 ม.ค. 2563 | 12:29 น.

กรมชลฯ เข้มสั่ง 22 จังหวัดงดทำนาปรัง แต่มีคนฝืน 1.54 ล้านไร่ คิกออฟ 3 ม.ค.ปรับแผนระบายน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาวันละ 18 ล้านลบ.ม. อีกด้านป้องน้ำเค็มรุกล้ำสวนกล้วยไม้

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,906 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 23,070 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (57,622 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,716 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 16.06 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำ ระบายจำนวน 85.78 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,161 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 44,074 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำ ใช้การได้ 20,622 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (54,184 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,110 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 12.90 ลบ.ม. ปริมาณน้ำ ระบายจำนวน 71.73 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 26,853 ล้าน ลบ.ม.

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

"ในวันพรุ่งนี้ (3 ม.ค.62) จะปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนหลัก 4 เขื่อนให้เหลือ 18 ล้านลบ.ม. และคงการระบายเท่านี้ไว้ตามแผนตลอดฤดูแล้ง สิ่งสำคัญคือ ได้ขอความร่วมมือจากฝ่ายปกครองและทางท้องถิ่นให้ควบคุมการสูบน้ำจากแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน โดยขอให้งดการสูบไปใช้เพื่อการเกษตร อีกทั้งขอให้เกษตรกรงดทำนาปรังเนื่องจากขณะนี้พื้นที่นาปรังใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาถึง 1.54 ล้านไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2562)จากที่กระทรวงเกษตรฯ แจ้งเตือนล่วงหน้าแล้วว่า ไม่มีแผนส่งเสริมการปลูกข้าวนาปรังเนื่องจากกรมชลประทานไม่มีน้ำเพียงพอสนับสนุน โดยก่อนหน้านี้พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มประมาณ 2 แสนไร่ต่อสัปดาห์ ส่วนแผน-ผลการเพาะปลูกพืชนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทานทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ ปัจจุบันเพาะปลูกแล้ว 2.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.55 ของแผนฯ 

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

แต่จากการทำความเข้าใจกับชาวนาทำให้อัตราการเพิ่มของพื้นที่นาปรังลดลงแล้ว อีกทั้งนี้ยังผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมท้ายลุ่มเจ้าพระยา ผ่านคลองพระยาบันลือที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนซึ่งสามารถผลักดันน้ำเค็ม ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกกล้วยไม้แหล่งใหญ่ในจังหวัดนครปฐมได้ ขณะนี้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่คลองจระเข้สามพันและคลองท่าสารบางปลาเพิ่มเพื่อควบคุมค่าความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตประปาเลี้ยงพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันตกและปริมณฑล

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

“จะต้องรักษาระดับน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จ. ชัยนาท ไม่ให้ต่ำกว่า 13.20 เมตร ซึ่งจะเป็นผลให้น้ำไหลเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนไม่ได้ อีกทั้งท้ายเขื่อนจะทำให้ตลิ่งทรุดพัง ระบบนิเวศเสียหาย และน้ำเค็มรุกจนไม่สามารถผลิตประปาทั้งของการประปานครหลวงและภูมิภาคได้”

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

นายทองเปล่า กล่าวว่า หากได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง จะทำให้การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งนี้จะเป็นไปตามแผน โดยในเขตชลประทานไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ทั้งยังมีน้ำสำรองถึงช่วงต้นฤดูฝนด้วย