ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

02 ธ.ค. 2562 | 05:15 น.

เปิดโต๊ะแถลง “วิฑูรย์” กังขามติคณะกรรมการวัตถุอันตรายพลิกมติแบน 3 สารเคมีเกษตรไม่ชอบธรรม  ยันมีสารทดแทนใช้แทน ปลัดเกษตรฯ ส่อเจตนาชัดบิดเบือนข้อมูล ค้าน 3 หมื่นล้านแนะลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรแทนเยียวยา แนะบูมปลูกถั่วเหลืองทั้งประเทศแทนพึ่งพานำเข้า ด้านมูลนิธิผู้บริโภคผลักดันให้สินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ติดฉลากให้ชัดใช้สารเคมีหรือไม่ หวังเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

 

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

วันที่ 2 ธ.ค.62 นายวิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) เปิดเผยผ่านงานแถลงข่าวเดินหน้าขับเคลื่อนการแบน 3 สารพิษ : หลัง "มติสันนิษฐาน" ล้มแบนไกลโฟเซต เลื่อนแบนพาราควอต คลอร์ไพริฟอส กล่าวว่า มี 3 ประเด็น  1.เหตุผลของคณะกรรมการวัตถุอันตรายซึ่งใช้เป็นข้ออ้างในการล้มมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 เห็นว่าเป็นการอ้างเหตุผลที่ไม่ชอบธรรมและไม่มีน้ำหนักเหตุผลที่เพียงพอ 2.กระบวนการลงมติ 27 พฤศจิกายน 2562 เห็นว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

“สารระสำคัญตามที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 โดยอ้างว่าที่ประชุมมีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เลื่อนการแบนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2562 และยกเลิกการแบนไกลโฟเซตเป็นจำกัดการใช้แทน  เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการล้มมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ซึ่งมาจากข้ออ้างว่า ไกลโฟเซตไม่เป็นอันตรายเพราะยังมีการใช้อยู่ในหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา จากการรับฟังความคิดเห็นมีผู้คัดค้านจำนวนมากยังไม่สามารถหาวิธีการทดแทนได้ ต่างประเทศคัดค้านส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและขัดต่อความตกลงใน WTO  เป็นต้น”

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

เครือข่ายฯเห็นว่ามติที่ยกเลิกการแบนไกลโฟเซต เป็นมติที่ไม่ชอบด้วย ทั้งนี้เนื่องจากประการแรกข้ออ้างการทบทวนมติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2652 ไม่มีเหตุผลสนับสนุนอย่างเพียงพอ เพราะ 1) การอ้างว่าไกลโฟเซตไม่เป็นอันตรายเพราะสหรัฐและหลายประเทศยังอนุญาตให้ใช้อยู่ ขัดแย้งกับข้อวินิจฉัยของ IARC องค์การอนามัยโลก และคำตัดสินของศาลสหรัฐที่ให้บริษัทไบเออร์ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าปรับจำนวนมหาศาลแก่ผู้ใช้และแก่รัฐ โดยจำนวนคดีที่มีการฟ้องศาลแล้วมีจำนวนมากกว่า 40,000 คดี

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

2) การอ้างว่าขัดต่อความตกลงในองค์กรการค้าโลกฟังไม่ขึ้น เนื่องจากในความตกลงสุขอนามัยและอนามัยพืช (SPS) มีบทยกเว้นใน Annex B –ข้อ 6 อนุญาตให้ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 60 วันในกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่กระทบต่อสุขภาพ 3) การอ้างว่ามีผู้คัดค้านจำนวนมากจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นออนไลน์เป็นไปโดยมิชอบ เนื่องจากกรมวิชาการเกษตรได้นำรายชื่อผู้คัดค้านจากกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืช 17,527 รายชื่อมารวมด้วย  4) การกล่าวอ้างเรื่องผลกระทบการนำเข้าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะถั่วเหลืองและข้าวสาลีซึ่งประเทศไทยไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ จนส่งผลกระทบต่อเนื่องเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจ ไม่เป็นความจริง เนื่องจากสามารถปรับค่าสารตกค้างการนำเข้า (Import Tolerance) ให้มีค่าต่ำสุดที่ไม่กระทบต่อการนำเข้าได้

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

 5) ส่วนกรณีข้ออ้างว่าไม่มีระยะเวลาเพียงพอและไม่มีวิธีการทดแทนนั้น กระทรวงเกษตรฯมีระยะเวลากว่า 2 ปี 7 เดือน สำหรับดำเนินการแต่กลับไม่เสนอทางเลือกที่เป็นรูปธรรม ทั้งๆที่ในทางปฏิบัติและการวิจัยของกรมวิชาการเกษตรเองพบว่าในพืชหลักหลายกลุ่ม วิธีการควบคุมวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมีเป็นแนวทางหลักของเกษตรส่วนใหญ่อยู่แล้ว

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

ประการที่สอง กระบวนการลงมติเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่อ้างว่ามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ เป็นกระบวนการที่มิชอบ เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข แถลงยืนยันมติเดิมให้มีการแบน 3 สาร ตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.วัตถุอันตรายกำหนดไว้ว่า “ .. การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด..” โดยที่ผ่านมา การวินิจฉัยในกรณี 3 สาร ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกันของคณะกรรมการ ได้ใช้วิธีการลงคะแนนตลอด 3 ครั้งที่ผ่านมา 

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

ดังนั้น ข้อเสนอ  1. ยืนยันให้ทุกฝ่ายเคารพมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 โดยกระทรวงอุตสาหกรรมต้องดำเนินการตามขั้นตอนในการออกประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้การแบนพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายโดยเร็ว

2. เครือข่ายฯขอประกาศจะดำเนินการฟ้องศาลปกครอง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ดำเนินการประชุมเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 โดยมิชอบ 3. เครือข่ายฯได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบการตกค้างของ 3 สารพิษ ในสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ใส่ใจและมีนโยบายคุ้มครองสุขภาพของประชาชน

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

 4. เครือข่ายฯจะดำเนินการฟ้องคดีแบบกลุ่มให้กับผู้ที่ได้รับอันตรายจาก 3 สารพิษนี้ ภายในเดือนนี้ โดยความร่วมมือกับทีมทนายความที่ต่อสู้คดีให้กับนายดเวนย์ ลี จอห์นสัน ที่ชนะคดีไกลโฟเซตในสหรัฐอเมริกา และ 5. เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนเกษตรกรในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยดำเนินการตามมติและข้อเสนอของกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ด้วยเสียงเป็นเอกฉันท์ 423 ต่อ 0

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

นายวิฑูรย์   กล่าวว่า หลังจากการแบนแล้ว เป็นโอกาสชองเกษตรกรไทย ที่รัฐต้องปลูกส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองทั่วประเทศทดแทน ไม่ใช่พึ่งพาถั่วเหลืองราคาถูกจากต่างประเทศ และเป็นถั่วเหลืองจีเอ็มโอ และไม่เห็นด้วยที่รัฐจะเยียวยาเกษตรกรเป็นมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้าน ดังนั้นขอให้ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรทดแทนดีกว่า

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

สอดคล้องนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค กล่าวว่าขอประนามการตัดสินใจที่ไม่ยืนเคียงข้างสุขภาพผู้บริโภค เกษตรกร และสิ่งแวดล้อม ประเด็นเรื่องสารเคมีไม่ใช่สิทธิของเกษตรกรในการใช้สารเคมีแต่ฝ่ายเดียว แต่เป็นสิทธิของผู้บริโภคที่ต้องได้รับความปลอดภัยและมีสิทธิในการเลือกซื้อสินค้าที่ได้รับการคุ้มครองมามากกว่า 40 ปี จากผลการทดสอบเมื่อเดือนที่ผ่านมาของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พบการตกค้างสารเคมีมากถึง 13 ชนิด และสูงถึง 60% ในน้ำส้มสดและน้ำส้ม 100% จำนวน 30 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจจากท้องตลาด

ไบโอไทยค้านล้มแบน 3 สารเคมี

ดังนั้นจึงขอผลักดันให้สินค้าเกษตรทั้งผักและผลไม้ มีการระบุแหล่งที่มาของสินค้า(Food Origin) และกระบวนการผลิตว่า มีการใช้สารเคมีอันตรายหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลือกและได้รับความปลอดภัยอันเป็นการคุ้มครองสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค รวมทั้งเกษตรกรที่ยังยืนยันถึงความจำเป็นในการใช้สารเคมีขอให้ระบุสินค้าเกษตรของตนว่า กระบวนการผลิตมีการใช้สารเคมีอันตรายเหล่านี้ พร้อมกับปรับปรุงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหาร ให้ระบุสารเคมีที่ใช้ในทางการเกษตรให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามหลักเกณฑ์การแสดงฉลากอาหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา