ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

14 ส.ค. 2562 | 12:15 น.

อนุฯ กรรมาธิการฯผัก ผล ไม้ และสมุนไพร ดึง กัญชง ถกประเด็นเข้ม เล็งโอกาสปั้นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ชง ปลดล็อคถอดจากยาเสพติด เผยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 2.7 หมื่นล้าน ทั้งเพิ่มมูลค่าเพิ่มหลากลายผลิตภัณฑ์ ข้อดีเพียบอีกทั้งฤทธิ์ที่มีส่งผลระบบประสาทต่ำกว่ากัญชา หากส่งเสริมจริงจังจะทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

วันที่ 14 ส.ค.62 น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน รองประธานคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาเรื่องผัก ผลไม้ และสมุนไพร คนที่ 5 และโฆษกคณะอนุกรรมาธิการฯ แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ พิจารณาศึกษาแนวทางแก้ปัญหาสมุนไพร เปิดเผยว่า ทางคณะอนุฯกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษาเรื่องกัญชงและกัญชา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประเภท 5 มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัย ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขและคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ โดยมีคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นหน่วยให้การพิจารณาอนุญาต

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

“ในการพิจารณาวันนี้คณะอนุฯ ให้ความสนใจกัญชง เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ประโยชน์ได้สูงมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.7 หมื่นล้านบาท โดยกัญชงมีสารออกฤทธิ์ทางยาที่มีค่าสาร THC ที่ส่งผลต่อระบบปราสาทต่ำกว่ากัญชา และมีค่าสาร CBD ซึ่งไม่ส่งผลต่อระบบปราสาทมากกว่ากัญชา สามารถนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น เส้นใย สิ่งทอ กระดาษ เครื่องสำอาง สารสกัด น้ำมันกัญชง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ฯลฯ”

ชงปลดล็อค ‘กัญชง’พืชเศรษฐกิจตัวใหม่รับตลาด 2.7 หมื่นล้าน

น.ส.ญาณธิชา กล่าวว่า เห็นว่า อย.ควรมีการเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่ ปลดล็อคกัญชงจากการเป็นยาเสพติดและให้ภาคเอกชนสามารถเข้าดำเนินการได้โดยเร็ว การพัฒนาสายพันธุ์และเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดกัญชงควรมีการกำหนดคุณสมบัติและส่วนประกอบของสารสกัดให้ชัดเจน ควรให้สนับสนุนการศึกษาวิจัยสารสกัดกัญชง-กัญชาของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาและลดความซ้ำซ้อนในการทำงานจะทำให้ช่วยลดระยะเวลาในการขอใบอนุญาตลงได้ ทั้งนี้หากรัฐบาลให้การสนับสนุนอย่างจริงจังจะก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับเกษตรกรและประชาชน