นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

22 ก.ค. 2562 | 09:45 น.

นายกโรงสีชี้เป้ารัฐ ถอดบทเรียนช่วยชาวนาแทนที่จะยกระดับรายได้ ชี้ต้องทำให้หลุดจากวงจรหนี้ก่อนลำดับแรก ไม่เช่นนั้นแก้ไม่จบ ให้เท่าไรก็ไม่พอ ควบดูแลต้นทุน ลดรายจ่าย ระบุความเสี่ยงมีน้อยหากเทียบกับอาชีพอื่นนโยบายรัฐ คุ้มครองดูแลภัยพิบัติทั้งแล้ง น้ำท่วม

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

 

นายเกรียงศักดิ์ ตาปนานนท์ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัญหาเกี่ยวกับการสร้างรายได้ที่อยู่บนพื้นฐานความสามารถและศักยภาพของเกษตรกรเฉลี่ยโดยรวม การยกระดับชีวิตเกษตรกรโดยลดภาระหนี้สิน อีกทั้งความเข้าใจด้านรายได้และค่าใช้จ่ายหลักของเกษตรกรที่ตั้งอยู่บนหลักความจริง รวมถึงมุ่งเน้นการสร้างรายได้ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวโดยรัฐสามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงและยั่งยืน

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“วันนี้หากลองมองและวิเคราะห์ถึงการช่วยเหลือที่เป็น “เงินกู้” ถ้าหากรายได้ของเกษตรกรนั้นไม่ดี ไม่สูงพอที่จะชำระหนี้ก็จะเกิดปัญหา  เราชาวนาต่างกู้ ธ.ก.ส.เพื่อนำไปจ่ายเงินกู้นอกระบบ และวนกู้นอกระบบจ่ายคืน ธ.ก.ส. เป็นกับดักวังวน  แต่จะมีสักกี่รายที่กู้แล้วสามารถที่จะทำกำไรสร้างรายได้ที่มากพอเพื่อชำระคืนกนี้ ธ.ก.ส. หรือเงินกู้นอกระบบได้ทั้งหมด โดยเฉพาะยิ่งถ้าหากเป็นนาเช่าที่มีต้นทุนค่าเช่าด้วยแล้ว เพราะเหตุผลใดจึงเป็นเช่นนั้น”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า  การที่ ธ.ก.ส. ปล่อยกู้ นั้นเป็นเรื่องที่ดีทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้  แต่การคิดดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันนั้นสูงพอ ๆ กับธนาคารพาณิชย์ทั่วไป  ซึ่งในเมื่อเป็นธนาคารของรัฐ ธ.ก.ส. ควรมีศักยภาพที่จะช่วยเหลือชาวนาโดยการคิดดอกเบี้ยพิเศษ ประมาณ 1-2% (เพื่อให้ชาวนาสามารถที่จะชำระหนี้คืนได้บนต้นทุนเงินกู้ไม่สูงมาก และค่าดอกเบี้ยรวมเงินต้นนั้น ต้องนำมาจากการทำกำไรสร้างรายได้ของเกษตรกรเอง) 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

 แต่เนื่องด้วยชาวนาประสบปัญหา ดินฟ้าอากาศ น้ำท่วม ฝนแล้ง โรคพืชโรคแมลง ฯลฯ ที่ในบางครั้งไม่สามารถควบคุมได้  ทำให้ผลผลิตเสียหายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย สลับปีสลับฤดูอยู่เป็นประจำ และบวกกับราคาข้าวบ้างชนิด บ้างช่วงเวลา ขายแล้วไม่คุ้มค่าใช้จ่าย หรือได้กำไรไม่มากทำให้เกิดหนี้สินสะสม 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

การช่วยของรัฐโดยการให้กู้และคิดดอกเบี้ยที่สูงกว่ารายได้ของเกษตรกรนั้นคงจะเกินกำลังที่จะชำระหนี้คืน ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ถือเป็นเรื่องน่าเศร้าที่แม้เกษตรกรจะสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของรัฐแต่ติดที่ดอกเบี้ยนั้นอาจสูงเกินไป และเมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้จนเกิดปัญหาหนี้สินสะสม ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องเสียที่นาไปในที่สุดและหมดทางหารายได้อย่างถาวร ทั้งนี้รัฐต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระดอกเบี้ย โดยควรพิจารณาคิดดอกเบี้ยอัตราพิเศษ เช่น 1-2% เท่านั้น เพื่อช่วยลดต้นทุนการเงินอย่างจริงจัง ร่วมกับการยืดหนี้ให้มีระยะยาวออกไป หรือปลอดดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่เหมาะสม

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

ส่วนเรื่องการลดต้นทุนการผลิต  ที่คิดกันมานาน ก็ลดลงได้เพียงเท่าที่ทราบกันอยู่  ฉะนั้นเราต้องเพิ่มผลผลิให้ได้มากขึ้น และผลิตให้ตรงกับตลาด  รวมทั้งต้องพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ใช้พันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงกว่าที่เป็นอยู่และตอบโจทย์ชาวนา ตอบโจทย์ความต้องการซื้อของตลาด ควบคุมปัจจัยการผลิตให้ได้  ที่สำคัญเรื่องค่าเช่านาที่เป็นต้นทุนใหญ่อีกก้อนซึ่งรัฐควรที่จะหาทางเข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง เพราะที่นาบางส่วนเป็นนาเช่า 

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นอกจากนั้นคือการพัฒนาแหล่งน้ำคลองชลประทานให้มากขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่คือให้มีน้ำทำนา (โดยเฉพาะภาคอีสานส่วนใหญ่และภาคกลางบางส่วนทำนาได้เพียง”ปีละครั้ง” มีเพียงบางพื้นที่ซึ่งมีจำนวนไม่มากในภาคอีสานที่ทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้ง)  การทำนาเพียงปีละครั้งผลผลิตที่ได้ก็ต่ำกว่าและเสี่ยงต่อการขาดทุนขาดรายได้ทั้งปีหากเกิดภัยแล้ง

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้สามารถทำนาได้ถึงสองครั้งต่อปี โดยมีพื้นที่คลองชลประทานมากกว่าที่เป็นอยู่ หรือการสร้างรายได้เสริมจากการทำนาแต่ต้องมีความยั่งยืนซึ่งหากเปรียบเทียบผลผลิตต่อพื้นที่ทำนา 1ไร่ ต่อราคาขาย หักด้วยต้นทุนของข้าวแต่ละชนิดก็พอที่จะเห็นความแตกต่างดังนี้

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“ที่นา 1 ไร่ ปลูกข้าวปทุมฯ ได้ข้าวเปลือกสด 80-90 ถัง ราคา 80-85 บาทต่อถัง  หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกได้ถึงปีละ 2 ครั้ง) ข้าวเจ้าธรรมดา 1 ไร่ ได้ข้าวเปลือกสด 80 ถัง ราคา 65-70 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกปีละ 2 ครั้ง) ข้าวหอมพวง 1 ไร่ ได้ข้าวเปลือกสด 100 ถึง 120 ถัง ราคา 70-75 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้ (เพาะปลูกปีละ2ครั้ง) ข้าวหอมมะลิ 1 ไร่ (เพาะปลูกปีละครั้งเดียว) ได้ข้าวเปลือกสด 40-50 ถัง ราคา 95-100 บาทต่อถัง หักลบค่าใช้จ่าย เหลือเป็นรายได้  ทั้งนี้การเลือกปลูกก็ขึ้นอยู่กับความถนัด ความยากง่ายในการเพาะปลูกและความเหมาะสมของพื้นที่อีกด้วย”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

แต่ก็จะเห็นได้ชัดว่าการเลือกชนิดข้าวมีผลอย่างยิ่งต่อผลผลิตและรายได้ที่จะได้รับ  ยิ่งถ้าสามารถปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปีและมีผลผลิตสูงก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียโอกาสและรายได้ทั้งปีไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกจะมีความเหมาะสมหรือไม่ในการปลูกข้าวแต่ละชนิดด้วย และราคานั้นก็ขึ้นกับทิศทางความต้องการตลาดด้วย รวมถึงปริมาณจำนวนผลผลิตที่มากหรือน้อยเกินไปในแต่ละช่วง ซึ่งทั้งนี้ก็จำเป็นที่จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนปรับตัวตามทิศทางที่เหมาะสมได้ด้วย

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

แต่ข้อดีคือหากมีการดำเนินการวางแผนและบริหารจัดการให้ดีชาวนาก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงต่างๆลงได้มาก และยังสามารถเพิ่มรายได้ยกระดับชีวิต มีกำลังในการชำระหนี้ ธ.ก.ส. และยืนอยู่ได้ในระยะยาว  ซึ่งเมื่อถ้าหากชาวนาไม่มีหนี้สินพอกพูน และมีที่นาของตนเอง ก็สามารถอยู่ได้มีรายได้มีโอกาสที่มากกว่า

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

“เรื่องพื้นที่ทำนาเกี่ยวข้องกับต้นทุนก็เป็นเรื่องที่สำคัญและควรใส่ใจ  เนื่องจากชาวนารายย่อยที่มีพื้นทำนาแต่ละรายไม่มากนักจะมีปัญหา “ต้นทุนเฉลี่ยจะสูงกว่า” ผู้ที่ทำนาจำนวนมากหลายๆไร่ (เช่น 50 ไร่ขึ้นไป) และสิ่งที่จำเป็นอีกเรื่องคือการจัดทำบัญชี รายรับรายจ่าย ต้องรู้ว่ารายรับเกิดขึ้นจากอะไรและรายจ่ายเกิดจากอะไร นำมาวิเคราะห์แล้วบริหาร ภาครัฐควรลงทุนงบประมาณในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานการผลผลิตอย่างเต็มที่เพื่อให้ครอบคลุมระบบการผลิตในระยะยาว”

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการแข่งขันที่สูงขึ้น ความเสี่ยง การลงทุนนั้น  เป็นที่ทราบกันดีว่า การแข่งขันมีอยู่ในทุกสาขา ทุกอาชีพมีการแข่งขันที่ดุเดือดไม่ต่างกัน แม้แต่แม่ค้าในตลาดก็แข่งขัน มีคนที่อยู่ได้และอยู่ไม่ได้ต้องเลิกไป ต้องวิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใด  การตลาดมีการทำการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งในทุกๆด้านเพื่อที่จะมีที่อยู่ในตลาด   ซึ่งในตลาดมีทั้งผู้ที่อยู่ได้มีกำไรและมีผู้ขาดทุน  ตัววัดการอยู่ได้และมีส่วนแบ่งในการตลาดหมายถึงรายได้และกำไร  การจะมีส่วนแบ่งในตลาดที่มากนั้นหมายถึงความสามารถในการสนองหรือผลิตสินค้านั้น ๆ ได้ตรงตามความต้องการของตลาดคือตลาดผู้บริโภคนั้นเอง (ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการที่จะอยู่รอด)  ซึ่งขั้นต้นเราจำเป็นต้องควบคุมในสิ่งที่เราควบคุมได้ก่อน แล้วจึงบริหารความเสี่ยงและผลกระทบต่างๆต่อไป

นายกโรงสี เชียร์ ‘ปลดหนี้’ ดีกว่า ‘ประกันรายได้’

สำหรับข้อดีของชาวนา คือการที่มีรัฐ คอยดูแล ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเงินทุนจาก ธ.ก.ส. หรือนโยบายรัฐที่คอยสนับสนุน ไม่ว่าเกิดฝนแล้ง น้ำท่วม ก็มีการประกันภัยพืชผล ในด้านราคามาโดยตลอด  เพราะเกษตรกรนั้นเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ  ที่เป็นผู้สร้างกำลังซื้อ ผลักดันทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียน  การช่วยเหลือเบื้องต้นของรัฐนับว่าเป็นพื้นฐานประกันความเสี่ยง (แม้ว่าการช่วยเหลืออาจไม่คุ้มกับที่ลงทุนไปแล้วได้รับความเสี่ยงหาย)ในอาชีพได้ส่วนหนึ่ง  แต่ส่วนที่เหลือควรอยู่ที่เราเองหรือไม่ ในเรื่องของลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต หรืออะไรก็แล้วแต่ที่สามารถสร้างรายได้ ลดรายจ่าย ที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนของอาชีพชาวนาในที่สุด