สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

10 ก.ค. 2562 | 15:25 น.

รุกคืบ 2 สมาคมประมงพื้นบ้าน-รักษ์ทะเล ยื่นปมร้อน "เฉลิมชัย" แก้กฎหมายประมง ชี้จำกัดสิทธิ ส่งสัญญาณเลิกเครื่องมือทำลายล้าง "อวนลาก" ยกเลิกส่งออกปลาป่น รักษ์ทะเล ป้องทรัพยากรแสนล้านที่สูญในแต่ละปี เร่งนิรโทษกรรมให้จดทะเบียนใหม่ได้ เชื่อสร้างความเข้มแข็งอาชีพประมงไทยยั่งยืน

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย เผยว่า ทางสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย และสมาคมรักษ์ทะเลไทย ข้อเสนอให้นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ปรับปรุงนโยบายและกฎหมายการประมง แม้ว่าพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ซึ่งมีส่วนดีอยู่หลายประการ แต่ก็ยังมีข้อกำหนดที่กระทบชาวประมงพื้นบ้าน เช่น ห้ามผู้ได้รับอนุญาตประมงพื้นบ้านออกทำประมงนอกเขตชายฝั่ง ส่วนชาวประมงแบบพาณิชย์ทำการประมงได้ ในพื้นที่กว้างขวาง ลูกหลานในประเทศควรได้กินปลาดีในราคาเป็นธรรม ไม่สูงจนเกินไป พร้อมกับที่ทำให้ผู้ผลิตสัตว์น้ำเป็นอาหารทะเลที่มีคุณภาพและมีราคาเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคอยู่ได้อย่างมั่นคง ควรแก่การแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายและกฎหมาย ดังนี้

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

1) ควรปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ที่มีผลกระทบต่อชาวประมงพื้นบ้าน  ต้องให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงานที่มีเป้าหมายโดยตรง “ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประมงพื้นบ้าน” โดยสร้างโอกาสการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ งบประมาณ การจัดการประมงที่ยั่งยืน การแปรรูป และทางเลือกทางออกของชาวประมงพื้นบ้านเอง 

(2) แก้ไขเพิ่มเติม พระราชกำหนดการประมง โดยการกำหนดหมวดว่าด้วย “การประมงพื้นบ้าน” และนำข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวกับการประมงพื้นบ้านอยู่ในหมวดนี้ เพื่อเป็นหลักประกันการจัดการที่แตกต่างกับการประมงพาณิชย์

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

(3) นิยามการประมงพื้นบ้านเสียใหม่ ในมาตรา 5 ที่ให้นิยามความหมาย “ประมงพื้นบ้าน” ใน มาตรา ว่า เป็นการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งไม่ว่าจะใช้เรือประมงหรือใช้เครื่องมือโดยไม่ใช้เรือประมง ทั้งนี้ที่มิใช่เป็นประมงพาณิชย์ และกำหนดความหมาย “ประมงพาณิชย์” ว่าการทำประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่ 10 ตันกรอส ขึ้นไป หรือเรือประมงที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ซึ่งยังขัดแย้งต่อความเป็นจริง

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

(4) แก้ไขมาตรา 26 ว่าด้วยองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด ที่มีความเกี่ยวโยงกับบทบัญญัติ มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 โดยควรมีประเด็นหลักการ ดังนี้ กำหนดกลไกการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดที่ชัดเจน  ตัดองค์ประกอบกรรมการโดยตำแหน่ง “นายอำเภอ” ออก  กำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง กำหนดแผนงานที่ชัดเจนในการสนับสนุนผลักดันให้คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด จัดทำแผนแม่บท การจัดการประมงระดับจังหวัด เพื่อเป็นทิศทางนโยบายของจังหวัด

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

(5) ยกเลิกบทบัญญัติในมาตรา 34 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ซึ่งหมายถึงให้ทำการประมงภายใน 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง ทั้งนี้ เดิมการกำหนดเขตทะเลชายฝั่งมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองระบบนิเวศชายฝั่งทะเลซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย สำคัญของสัตว์น้ำ รวมถึงแหล่งทรัพยากรชายฝั่งอื่นๆ เช่น ระบบนิเวศแนวปะการัง ระบบนิเวศหญ้าทะเล เป็นแหล่งอนุบาลขยายพันธุ์และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ เครื่องมือประมงที่ไม่ทำลายระบบนิเวศน์ ไม่กวาดจับสัตว์น้ำวัยอ่อนอย่างประมงพื้นบ้าน จึงอนุญาตให้ทำการประมงแบบพื้นบ้านในพื้นที่ชายฝั่งทะเลได้ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องจำกัดสิทธิ “ชาวประมงพื้นบ้าน” ไว้ในพื้นที่ดังกล่าวเท่านั้น

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

ในข้อเท็จจริง ชาวประมงพื้นบ้านซึ่งมีการทำประมงโดยใช้เรือขนาดเล็ก เช่น เรือหัวโทง เรือกอและ เรือท้ายตัด อาศัยความรู้กระแสลม การขึ้นลงของกระแสน้ำในการทำประมง สามารถออกทำการประมงได้ไกลออกไป 20 - 30 ไมล์ทะเล การห้ามไม่ให้ออกไปไกลเกิน 3 ไมล์ทะเล จึงขัดต่อวิถีประมงพื้นบ้าน ในระหว่างที่รอกระบวนการแก้ไขบทบัญญัติในมาตรา 34 ข้างต้น เสนอให้มีกฎหมาย “ยกเว้นชั่วคราว”

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

นอกจากนี้สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการ ให้แก้ไขคำสั่ง คสช. ที่ 24/2558 ที่มีการห้ามจดทะเบียนเรือประมงทุกประเภทมาตั้งแต่ ปี 2558  กลับมาอนุญาตให้จดทะเบียน “เรือประมงพื้นบ้าน” ได้ โดยให้จดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอสได้ทั่วประเทศ (เหตุผล คือ ขนาดเรือ 3-10 ตันกรอส ไม่สามารถทำการประมงได้ ผิดมาตรา 10 เป็นเรือไร้สัญชาติ) เร่งรัด "กรมเจ้าท่า" ให้รีบอำนวยความสะดวกกรณีเปลี่ยนทะเบียนเรือที่จดทะเบียนประมงพื้นบ้าน สามารถประกอบกิจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ควบคู่กันได้

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล
 

พร้อมแก้ไขการบริหารจัดการหน่วยงาน โดยกำหนดให้หน่วยงาน "ออกใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน" และการ "จดทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน" เป็นหน่วยเดียวเฉพาะแยกออกจากระบบเดิมที่ดำเนินการกับ "เรือประมงพาณิชย์" โดยอาจจะมีหน่วยบริการเคลื่อนที่ หรือมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมประมงเพียงหน่วยงานเดียว โดยจัดให้มีระเบียบข้อกำหนดการจดทะเบียนเรือและขออนุญาตสำหรับชาวประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะ เนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้เรือ ลักษณะของเรือ การใช้งานเครื่องยนต์ เครื่องมือประมงที่แตกต่างจากเรือประมงพาณิชย์

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

“ในการดำเนินการจัดระบบใหม่ ให้ประสานการทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 ร่วมตรวจสอบข้อมูล เป็นผู้ดูแลตรวจสอบเครื่องมือทำการประมงของสมาชิกหรืออาจให้หน่วยงานอื่นหรือองค์กรเอกชนเป็นผู้ร่วมตรวจสอบสภาพเรือเพื่อความสะดวกด้วย”

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

อย่างไรก็ดีควรจะเร่งออกประกาศยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างเพิ่มเติม และ กำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ห้ามทำการประมง ที่ผ่านของรัฐบาลได้มีการออกมาตรการเกี่ยวกับเครื่องมือทำลายล้างทรัพยากรประมงหลายมาตรการ เช่น  ห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ติดกับเรือยนต์ ห้ามมิให้ใช้เครื่องมืออวนลากที่มีช่องตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 4 เซนติเมตร หรือ มาตรา 38 ที่บัญญัติว่าห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ซึ่งหมายถึงในเขต 3 ไมล์ทะเล เป็นต้น

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

ถือเป็นการควบคุมเครื่องมือประมงที่ทำลายทรัพยากรประมงเข้มงวดมากขึ้นกว่าในอดีต แต่ยังมีการประมงที่ทำลายที่มีผลสูง พบว่า “สัตว์น้ำเศรษฐกิจวัยอ่อน” ถูกทำลายอย่างต่อเนื่องโดยเครื่องมือประมงจับสัตว์น้ำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ดังนั้น ขอให้ประกาศนโยบายยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างเพิ่มเติม ได้แก่ "อวนลาก"  โดยวางแผนเพื่อจัดลำดับขั้นตอนอันนำไปสู่ การยกเลิกอวนลาก โดยใช้มาตรการ "ไม่ต่อไม่เพิ่ม" ใบอนุญาต

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

ควบคู่กับประกาศยกเลิกการประมงที่ใช้อวนช่องตาเล็กประกอบแสงไฟล่อ (ปั่นไฟจับลูกปลา) โดยทันที เนื่องจากผลผลิตที่ได้จากการประมงใช้แสงไฟล่อมีลูกปลาเศรษฐกิจปะปนมาด้วย มีปริมาณสูง ส่วน "ปลากะตัก" ส่งเสริมให้จับกลางวัน แต่กำหนดเงื่อนไขมิให้เข้าใกล้ชายฝั่ง

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

นายบรรจง กล่าวอีกว่า  ขอให้ออกแนวนโยบายห้ามส่งออกผลผลิตปลาป่น ไปนอกประเทศ เนื่องจากปลาป่นสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ที่ผลิตในประเทศไทยนั้น ร้อยละ 18 ของปลาป่นทั้งหมด หรือประมาณ 352,198.7 ตันต่อปี ผลิตจากปลาเป็ด และในปี 2558 ประเทศไทยส่งออกปลาป่นจำนวน 150,450.73 ตัน ปลาป่นซึ่งผลิตจากปลาเป็ด หมายถึง การนำลูกปลาเศรษฐกิจถ้าหากปล่อยให้โตเต็มวัยจะมีมูลค่าสูง แต่กลับนำมาแปรรูปขณะเป็นสัตว์น้ำวัยอ่อน ราคาเพียง 4 - 15 บาทต่อกิโลกรัม

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

การผลิตปลาป่นจากกระบวนการนี้จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในวงจรธุรกิจตลาดทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ รวมถึงส่งผลต่อระบบนิเวศน์และห่วงโซ่อาหารในทะเล ก่อให้เกิดความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล ลูกปลาเศรษฐกิจเหล่านี้จับได้โดยการใช้เรื่องมืออวนรุน เรือปั่นไฟปลากะตัก ซึ่งเป็นเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย หรือจับได้จากอวนลากซึ่งใช้อวนขนาดตาอวนเล็กกว่า 4 เซนติเมตร เป็นตาอวนเล็กกว่าขนาดที่กฎหมายกำหนด ให้รัฐออกมาตรการห้ามการส่งออกปลาป่นที่ใช้ปลาเป็ดจากทะเลไทยออกนอกประเทศ เพื่อหยุดการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเร่งด่วน เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับไม่คุ้มกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่สูญเสียไป และสามารถทำให้ราคาอาหารสัตว์ที่ผลิตจากปลาป่นในประเทศลดลง

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

พร้อมกับให้จัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้าน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการประมงแบบครบวงจร โดยอาจจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านในแต่ละจังหวัด เพื่อสนับสนุนกลุ่มพื้นที่มีการจัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้านอยู่เองแล้ว รัฐควรเข้ามาหนุนเสริมเพิ่มเติมตามศักยภาพ  หรือช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านเมื่อเกิดภัยพิบัติและกรณีเครื่องมือเสียหายหรือเครื่องมือหายโดยไม่ทราบสาเหตุ และควรมีการจดบันทึกสถิติเกี่ยวกับประมงจากชุมชน ส่งเสริมนวัตกรรมด้านการตลาด หรือโปรโมทมาตรฐานสัตว์น้ำคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้า

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

“ติดระบบติดตามเรือ สำหรับเรือขนาด 10- 30 ตันกรอส โดยเลือกติดเฉพาะเรือประมง ที่ใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง  เพราะที่ผ่านมามีการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งโดยไม่สามารถตรวจจับได้ ต้องยอมรับการประมงไทย มีการประมงด้วยเครื่องมือไม่เหมาะสม ที่ทำลายล้างผลาญต้นทุนธรรมชาติแหล่งอาหาร และเศรษฐกิจของชาติ โดยที่การประมงเหล่านั้น ไม่ได้มุ่งผลผลิตด้านอาหารของมนุษย์ แต่มุ่งผลิตป้อนโรงงานอาหารสัตว์ หากวิเคราะห์โดยบวกรวมปัจจัยเสี่ยงอัตรารอดการเติบโตในทางวิชาการแล้ว คิดเป็นปีละนับแสนล้านบาทจนเกิดผลกระทบต่อฐานทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลไทยอย่างรุนแรง เป็นความจริง

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

เคยเผชิญกับเรือประมงเถื่อนสวมทะเบียนนับหมื่นลำ และใช้แรงงานทาส อยู่จริง โดยที่ ผลผลิตของการประมงเหล่านั้นตอบสนองต่อตลาดปลาป่นอาหารสัตว์เป็นหลัก อีกทั้ง ไม่ได้ตอบสนองต่อการกระจายรายได้ให้ภาคแรงงานไทย (แม้มีส่วนในการกระตุ้นการจ่ายในพื้นที่ ของแรงงานเพื่อนบ้านอยู่บ้างก็ตาม)

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

ที่ผ่านมารัฐบาลอ้างว่า หลักการกฎหมายประมงเป็นไปเพื่อสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้าน แต่ปรากฏว่ามีข้อกำหนดหลายประการ ที่จำกัดสิทธิชาวประมงพื้นบ้านไม่ให้ทำประมงได้ตามปกติ เช่น การให้ความหมายว่า ประมงพื้นบ้านให้ ทำประมงได้เฉพาะในทะเลชายฝั่งที่แคบกว่าที่ชาวประมงพื้นบ้านเคยทำการประมงปกติ และห้ามผู้ได้รับ อนุญาตประมงพื้นบ้านออกทำประมงนอกเขตชายฝั่ง แต่ให้ชาวประมงแบบพาณิชย์ทำการประมงได้ ในพื้นที่กว้างขวาง โดยกำหนดให้ชาวประมงพาณิชย์จับสัตว์น้ำในทะเลไทยได้กว่าร้อยละ 80-90 แต่ให้ ชาวประมงพื้นบ้านจับได้ประมาณร้อยละ 10 ของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้จับได้ทั้งหมดเท่านั้น  ทั้งที่ชาวประมงพื้นบ้านมีจำนวนหลายแสนคน ส่วนชาวประมงพาณิชย์มีประมาณหนึ่งหมื่นคน เท่านั้น

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

นโยบายและกฎหมายดังกล่าวคือความลำเอียงและไม่เป็นธรรมอย่างชัดเจน รัฐบาลได้ใช้งบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการประมงพาณิชย์ ให้การสนับสนุนปัจจัย พื้นฐาน จัดจ้างบุคลากรเพื่อจัดตั้งหน่วยงานใหม่ (PIPO) ใช้เงินซื้อเรือผิดกฎหมายนับร้อยล้านบาท และเตรียมใช้อีกหลายพันล้านบาทเพื่อซื้อเรือผิดกฎหมายดังกล่าว แต่รัฐบาลไม่เคยตอบสนองข้อเสนอ แม้แต่ข้อเดียว จนในขณะนี้มี ผู้ฉวยโอกาสอ้างตนเป็นชาวประมงพื้นบ้านลักลอบทำการประมงแบบ ทำลายเพิ่มมากขึ้นอีก เช่นการ ปั่นไฟจับปลาด้วยอวนตาถี่ และอวนลากเล็ก เป็นต้น

สนั่นโลก!! ชง 'เฉลิมชัย'เลิกส่งออกปลาป่น-ยกเลิกเครื่องมือทำลายล้างทะเล

ชาวประมงพื้นบ้าน คือคนพี่น้องในชุมชนชนบท ไม่ต้องการเห็นผู้บริโภค ต้องกินปลาดีในราคาสูงจนคนในสังคมทั่วไปไม่มีปัญหาเข้าถึง เราต้องการเป็นผู้ผลิตสัตว์น้ำเป็นอาหารทะเล ที่มีคุณภาพและมีราคาเป็นธรรมแก่ผู้บริโภคทุกคน ต้องการเห็นคนไทยได้กินปลาดีๆ ทุกคนเข้าถึงได้ และมีสัตว์น้ำในปริมาณที่คุ้มกับการทำงาน แต่ทุกวันนี้ไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เลย ตราบใดที่ยังมีการ ทำลายลูกพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนด้วยเครื่องมือประมงที่ รัฐบาลรับรองอยู่