ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

14 เม.ย. 2562 | 17:47 น.

“ยุคล” พลิกตำราแก้ไขปมราคาไข่ไก่ตกต่ำ แนะกรมปศุสัตว์เจรจาคู่ค้าอียูชงมาตรฐานไข่ไก่สู้ แทนการนำเข้าทะลักปี 62 พุ่ง 350 ล้านฟอง สวนการบริโภคลดต่ำลงเหลือ 222 ล้านฟองต่อปีทั้งที่คนในประเทศเพิ่มขึ้น ชี้ตัวเลขผิดปกติ ชงเอ้กบอร์ดตั้งกรรมการศึกษาพ่วงผลกระทบการนำเข้าพ่อแม่- ปู่ย่าพันธุ์เลี้ยงในประเทศ

พลิกปูมการเปิดเสรีนำเข้าไก่ไข่พ่อ-แม่พันธุ์ เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาไข่ไก่ราคาแพง หลังพบว่ามีเอกชนผูกขาดนำเข้าไก่ไข่พ่อ-แม่พันธุ์ ต้นเหตุไข่แพง โดยเปิดโควตานำเข้า 4 แสนตัวต่อปี แต่กลับนำเข้าได้แค่ 3.6 แสนตัว จึงเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการเปิดเสรีนำเข้าเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปริมาณการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ (พีเอส) ในปี 2562 เหลือ 4.6 แสนตัว ขณะที่ปู่ย่าพันธุ์หรือ (จีพี) ลดเหลือ 3,800 ตัว ที่ผ่านมารัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีมาตรการที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเก็บไข่ไก่ส่งออก 128 ล้านฟองไปถึงเดือนมีนาคม ปลดแม่ไก่ยืนกรงอายุต่ำกว่า 18 สัปดาห์ กว่า 2 ล้านตัว จากทั้งหมด  จำนวน 4 ล้านตัว โดยตลาดส่งออกไข่ไก่ยังเป็นที่สิงคโปร์ เป็นหลัก ราคาไข่ไก่คละของเกษตรกรก็ยังคงมีความผันผวน

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร  (สศก.) ว่าในปี 2561 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งหมด 117,162 ราย ในปี 2562 เหลือ 111,100 ราย จำนวนลดลง ขณะที่แม่ไก่ไข่ยืนกรงที่มีการสำรวจในปี 2561 จำนวน 56.9 ล้านตัว และปี 2562 คาดว่ามีแม่ไก่ไข่อยู่ 52 ล้านตัว ลดลงไป8 % ขณะที่เกษตรกรลดลงไป 5% คาดว่าจะมีผลผลิตไข่ไก่วันละ 14,738ล้านฟอง ลดจากปีที่แล้ว 16,031 ล้านฟอง ขณะที่ต้นทุน 2,86 บาท ขณะที่ปีนี 2562 ต้นทุน 2.84 บาทต่อฟอง ตั้งเป้าส่งออก400 ล้านฟองในปี 2561

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

ขณะเดียวกันมีไทยก็การนำเข้าไข่ และไข่ไก่แปรรูป 324 ล้านฟอง ในปี 2561 แล้วตั้งเป้าในปี 2562 จะนำเข้า 350 ล้านฟอง โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยจะกินไข่ไก่ ปี 2561 จำนวน 241 ล้านฟอง 66.4 ล้านคน ส่วนในปี 2562 เหลือ 222 ล้านฟองต่อคนต่อปี  66.6 ล้านคน จากข้อมูลดังกล่าวนี้เมื่อพิจารณาแล้วรู้สึกแปลก กล่าวคือ เกษตรกรลดลง 5% มีฟาร์มมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ 1,545 ฟาร์ม คิดเป็นฟาร์ม 1.4% ความจุของฟาร์มของประเทศ  ขณะเดียวกันเมื่อเอาจำนวนฟองไข่ไก่หารด้วยจำนวนคนกิน คนเพิ่มขึ้น แต่จำนวนบริโภคไข่ไก่ลดลง

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

นายยุคล กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.)ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีที่แล้วพบว่าปริมาณไข่ไก่ลดลงไปประมาณ 3% แต่ราคาไข่ไก่คละอยู่ที่ 2.28 บาทต่อฟองต่ำกว่าปีที่แล้ว ขณะที่คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือเอ้กบอร์ด มุ่งเน้นการควบคุมปริมาณไข่ไก่ ควบคุมปริมาณตัวพ่อแม่พันธุ์ ปู่ย่าพันธุ์ ควบคุมปริมาณของไข่ไก่ยืนกรง เพื่อให้ปริมาณเพียงพอการบริโภคภายในประเทศในขณะนั้นเราต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก ไทยส่งออกอาหารทั้งยุโรปและญี่ปุ่น ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือว่าพอเราส่งออกอาหารไป เราต้องสั่งนำเข้าไข่ทางยุโรปมาผสมแล้วถึงจะส่งไปขายในตลาดได้

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

แต่เราไม่สามารถที่จะทำไข่ไก่แปรรูปที่มีโรงานได้รับการรับรองมาตรฐานจากสหภาพยุโรป (อียู) ให้สามารถส่งอาหารไปให้กับได้ไทยก็คงนำเข้ามาโดยตลอด เป็นช่องทางนำเข้าทั้งที่ไข่ไก่ล้นในประเทศ ดังนั้นต้องให้กรมปศุสัตว์ไปเจรจาทางอียู เพื่อให้เชื่อถือมาตรฐาการส่งออกไข่ไก่ จะต้องทำมาตรฐานโรงงานให้อียูรับรอง จะได้ไม่ต้องนำเข้า มองว่าภาคราชการจะต้องเป็นตัวนำในการขับเคลื่อนในภาพใหญ่

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

แต่สิ่งที่จะทำให้เกิดขึ้นได้จริงอยู่ที่ผู้ประกอบการ อยู่ที่เกษตรกรว่าจะทำอย่างไร ส่วนหน้าที่ราชการก็มีหน้าที่ที่เป็นคนช่วยขับเคลื่อนผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนได้จริง ยกตัวอย่างนโยบายที่ทำมาทั้งหมดวัตถุประสงค์ต้องการควบคุมการนำเข้าพ่อแม่ และปู่ย่า ซึ่งในแต่ละครั้งก็มีการประชุมในเอ้กบอร์ดจะมีการกำหนดแผนในปีหน้าควรจะนำเข้ามาทั้งหมดเท่าไร โดยมีตัวเลขในอดีตที่ผ่านมาว่าควรจะมีไก่ไข่ยืนกรงที่จะจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่เดือดร้อนมากนัก ก็คือไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50ล้านตัว เราจะมีไข่ไก่ในแต่ละวัน พอที่จะบริโภคหมดไปวันๆ ถ้าเราจะคุมตัวเลขอยู่ในขณะนี้ ทุกคนก็มีความสุขเพราะมีไข่ไก่เท่าไรออกมาขายได้หมดตลาดรองรับไปได้หมด

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

ในขณะเดียวกันปีที่ผ่านมาก็มีโครงการของทางราชการเข้ามาที่จะส่งเสริมให้เกษตกรรายย่อยเลี้ยงไข่ไก่ ซึ่งได้มีการนำไข่ไก่ไปให้เกษตรกรรายย่อย พอเอาไปให้แล้วก็คือการเคลื่อนจำนวนจากเดิมของพ่อแม่พันธุ์ที่มีอยู่หรือไม่ ไม่ทราบ อีกด้านหนึ่งเกษตรกรยังคงอยู่กระจายไก่อยู่ในบ้านกลุ่มเรานั้นได้นำมาคิดคำนวณกับปริมาณไก่ไข่ในประเทศด้วยหรือไม่ เช่นเดียวกับโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนโดยที่มีการเลี้ยงไก่ไข่ขึ้นมากระทบการบริโภคไข่ไก่ทั้งประเทศด้วยหรือไม่ ดังนั้นต้องคิดกันใหม่ไม่ว่าจะมีการคิดคำนวณโควตานำเข้าพ่อแม่พันธุ์โดยเป้าหมายเพือบริโภคในประเทศ แล้วมีการส่งออกแค่ 200-300 ล้านฟอง คำถามก็คือว่า 1.4 หมื่นล้านฟองที่มีในประเทศ ขณะที่ปีนี้ตั้งเป้าส่งออกแค่ 400 ล้านฟองแล้วรู้สึกน้อยมาก แต่ในทางธุรกิจหากไม่ส่งออกเลยก็จะมีคนอื่นเข้ามาแทรกตลาดจึงจำเป็นที่จะต้องรักษาตลาดไว้

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

นายยุคล กล่าวว่า เอ้กบอร์ดต้องกลับไปทบทวนว่าการกำหนดโควตาพ่อแม่พันธุ์ปู่ย่าพันธุ์ที่เราทำกันอยู่ควรจะต้องทบทวนกันใหม่หรือไม่ หรือถ้าจะทบทวนแล้วกำหนดโควตาไม่เกิน 5 แสนตัว เพื่อให้มีไก่ไข่ยืนกรงประมาณ 50 ล้านตัว หรือปู่ย่าพันธุ์ 3,800 ตัวให้ผลผลิตเป็นพ่อแม่พันธุ์ไก่ไก่ไข่เท่าไร แล้วให้ไก่ไข่ยืนกรงเท่าไร ลูกที่เกิดขึ้นจากปู่ย่าพันธุ์ มาเป็นพ่อแม่พันธุ์มาเป็นไก่ไข่จะต้องติดตามตรวจสอบต่อเนื่อง ในส่วนของเอ้กบอร์ดได้มีการดูแลส่วนนี้หรือไม่

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

ในอดีตมีการตั้งคณะกรรมการบริษัทที่นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ 16 รายจะใช้วิธีการตรวจไขว้ โดยให้บริษัทหนึ่งไปตรวจอีกบริษัทหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไปนอนค้างก่อน 1 คืนเข้าไปจะมีตัวเลขค่อนข้างที่ชัดเจนว่ามีพ่อแม่พันธุ์และไก่ในฟาร์มเท่าไร ควบคู่กับมาตรการเคลื่อนย้ายสัตว์ของกรมปศุสัตว์ในการเก็บตัวเลข คือ ถ้ารู้ชัดตัวเลขไข่ไก่ยืนกรง อายุเท่าไรไม่ชัดเจนจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมปริมาณไข่ไก่ในประเทศไม่ได้

ทุบสถิติ“ไข่ไก่”นำเข้าทะลัก 350 ล้านฟองเจรจาอียูชงมาตรฐานแข่ง

ที่ผ่านมามีการปลดไก่เป็นแสนตัว อายุที่ปลดออก ราคาไข่ไก่ควรจะขึ้นเพราะเป็นเรื่องของดีมานด์และซัพพลาย แต่ตอนนี้ทำไมปลดไม่ขึ้น คำถามคือว่า การบริโภคเท่าเก่าหรือไม่ ดังนั้นเป็นสิ่งที่จะต้องหารือกันว่าในอนาคตจะทำอย่างไรในการที่ให้มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงในประเทศ หรือมีการอนุญาตให้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์เข้ามา มีบางท่านเสนอความคิดว่า “ไม่ต้องเอาพ่อแม่พันธุ์เข้ามา” เพราะควบคุมลูกไม่ได้ ลำบากนำเข้าปู่ย่าพันธุ์อย่างเดียวเลยได้ไหม แล้วเกษตรกรในประเทศให้ซื้อพ่อแม่พันธุ์ในประเทศแทน ขณะเดียวกันในเมืองไทยก็มีกฎหมายคอนเทคเกษตรพันธสัญญาที่ชัดเจนออกมาก็สามารถนำมาใช้กระบวนการจัดการตรงนี้ได้จะรับข้อเสนอตรงนี้ไหม หรือถ้ามี "ปู่ย่าพันธุ์" กำหนดเข้ามาไม่ถึง 1,000 ตัวจะทำให้การบริหารจัดการง่ายขึ้น โดยกระบวนการจัดการพ่อแม่พันธุ์และลูกไก่ไข่ที่เกิดในประเทศจะจัดการได้ง่ายขึ้นหรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ เหล่านี้ต้องนำมาคิดแล้วหาทางแก้ปัญหาร่วมกันโดยให้ชั่งน้ำหนักว่าอะไรที่จะเกิดประโยชน์กับ"ประเทศไทย"มากที่สุด