พาณิชย์ลุย FTAเต็มสูบหลังเลือกตั้ง

10 มี.ค. 2562 | 08:25 น.

 

สัมภาษณ์

ด้วยภารกิจอันหนักอึ้งในการเจรจาการค้าในกรอบต่างๆ เพื่อสร้างแต้มต่อ ลดปัญหาอุปสรรค ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการของไทยในเวทีการค้าโลก เฉพาะอย่างยิ่งในกรอบความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ของไทยที่ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้วใน 12 กรอบความตกลงทั้งในระดับทวิภาคี และระดับภูมิภาค(ในนามอาเซียน) และยังมีอีกหลายเอฟทีเอใหม่ๆ ที่ในปี 2562 จะต้องเร่งรัดการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปได้แก่ เอฟทีเอไทย-ตุรกี ไทย-ศรีลังกา และไทย-ปากีสถาน รวมถึงการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) พาณิชย์ลุย FTAเต็มสูบหลังเลือกตั้ง

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม

นอกจากนี้ไทยยังเตรียมพร้อมในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงที่ครอบคลุมและก้าว หน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) การเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป(อียู) ไทย-อังกฤษ ไทย-เอฟต้าที่ทั้งหมดนี้คาดจะมีขึ้นหลังไทยได้รัฐบาลใหม่ ขณะที่ในปีนี้ไทยในฐานะประธานอาเซียนยังต้องเป็นแม่งานในการจัดประชุมด้านเศรษฐกิจของอาเซียนในหลายเวที เพื่ออำนวยความสะดวก และลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุน และเพื่อร่วมกันผลักดันการเจรจา RCEP ให้ได้ข้อสรุปภายในปีนี้

ลุยถกอาเซียน-อาร์เซ็ป

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (จร.) แม่งานหลักในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย เผยในการให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” เริ่มจากทิศทางการทำงานในการเจรจาของไทยในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้ว่า อยู่ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” หรือ Advancing Partnership for Sustainability ซึ่งประเด็นด้านเศรษฐกิจที่จะหารือกับประเทศสมาชิกปีนี้ เช่น การเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นจุดเดียวของอาเซียนให้ครบ 10 ประเทศ การใช้เงินสกุลท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการค้าการลงทุนในภูมิภาค การสรุปผลการเจรจา RCEP เป็นต้น พาณิชย์ลุย FTAเต็มสูบหลังเลือกตั้ง

“ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้จะช่วยให้ไทยมีบทบาทและเป็นที่สนใจของประชาคมโลกมากขึ้น เพราะตลอดทั้งปีนี้ จะมีผู้แทนและองค์กรต่างๆ จากนอกภูมิภาคไม่ว่าจะเป็น อียู, อังกฤษ, สหรัฐฯ, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) องค์การพัฒนาอุตสาห กรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) มาเสนอความร่วมมือในการสนับ สนุนการเป็นประธานอาเซียนของไทย ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถผลักดันประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลและผู้ประกอบการไทยให้ความสำคัญในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนของไทยในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงในประเทศอื่นๆ ด้วย”

สำหรับความคืบหน้าการเจรจา RCEP ล่าสุดได้มีข้อสรุปแล้ว 7 ข้อบท จาก 20 ข้อบท 3 ภาคผนวก โดย 7 ข้อบทได้แก่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ, วิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม, พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า, การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ, มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช, กฎระเบียบทางเทคนิคและข้อบทเกี่ยว กับสถาบัน ทั้งนี้กรมตั้งเป้าจะสามารถสรุปผลการเจรจาทุกข้อบทได้ปลายปีนี้หรือต้นปี 2563

FTA ไทย-อียูรอหลังเลือกตั้ง

ส่วนกรอบการเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูที่ชะงักมาก่อนหน้านี้ จากเหตุผลอียูต้องการทำเอฟทีเอกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ทำให้การเจรจาหยุดชะงักไปเกือบ 5 ปี ซึ่งหลังเลือกตั้งคงต้องมาดูในกรอบการเจรจาอีกครั้งว่าเอฟทีเอไทย-อียูจะยังคงเดินหน้าต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมา หรือเริ่มนับหนึ่งใหม่ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปและคณะเจรจาก็เปลี่ยนไปแล้ว ซึ่งช่วงที่หยุดไปอียูก็มีการทำเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ก็เอามาดูว่าเขาคุยอะไรบ้าง เรื่องนี้ทางกรมทำการบ้านอยู่

ขณะที่เอฟทีเอไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือเอฟต้า (EFTA)ประกอบด้วย สมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ซึ่งไทยเคยเจรจากับกลุ่มประเทศเหล่านี้แล้วว่าไทยสนใจ เอกชนสนใจ อยากจะสานต่อหลังจากไทยเลือกตั้งแล้ว 

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 39 ฉบับ 3,451 วันที่ 10-13 มีนาคม 2561

พาณิชย์ลุย FTAเต็มสูบหลังเลือกตั้ง