น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

20 ม.ค. 2564 | 03:05 น.

“น่าน” จังหวัดในฝัน ที่ชีวิตหนึ่งต้องขอไปสักครั้ง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น...เรื่องนี้ อาจไม่ต้องถาม หากคุณเคยได้ไปเยือนน่านนคร หรือ จังหวัดน่านมาก่อนแล้ว เมืองเล็กๆ น่ารักแห่งนี้ บรรยากาศสงบเรียบง่าย แต่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรม โบราณสถาน ธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น  

เมืองเล็กๆแห่งนี้ กำลังจะกลายเป็น Destination แห่งความยั่งยืนระดับโลก ด้วยการผลักดันและปลุกปั้นขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรืออพท. ที่มีเป้าหมายปลุกปั้น 6 พื้นที่พิเศษให้เป็นแหล่งชุมชนสร้างสรรค์ และยั่งยืน เพื่อยกระดับเมืองเข้าสู่การเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก้ในปี 2564 นี้

น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

6 พื้นที่พิเศษของจังหวัดน่าน ครอบคลุม 5 ตำบล รวมพื้นที่ 138.37 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย เขตอำเภอเมือง ตำบลในเวียง ตำบลดู่ใต้ ตำบลนาซาว ตำบลบ่อสวก เขตอำเภอภูเพียง และ ตำบลม่วงตึ๊ด รวมกันเป็นพื้นที่พิเศษ “น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต

ขณะนี้ อพท. กำลังเตรียมความพร้อมให้กับจังหวัดน่าน เพื่อเข้าสู่การประเมินเข้าเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์  (UCCN) ขององค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านโดยนำเครื่องมือที่เรียกว่า Global Sustainable Tourism Criteria (GSTC) ซึ่งเป็นเกณฑ์ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) เข้ามาจับ และยกมาตรฐานด้วยเกณฑ์การท่องเที่ยวชุมชน หรือ CBT  Thailand  โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมหรือ โค-ครีเอชั่น ให้ทุกคนได้ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์

นั่นคือแนวทางของการส่งเสริมและผลักดันให้น่าน ได้เดินหน้าสู่เมืองแห่งความยั่งยืนระดับโลก

น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

น่าน Destination เมืองแห่งความยั่งยืน

มิติหนึ่งของความยั่งยืนที่สำคัญมากๆ ก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งน่าน ถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายพัฒนา จนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างหนัก จนทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และภาคชุมชน ต้องร่วมแรงร่วมใจหาทางออก และผลที่ได้จากความร่วมมือเหล่านั้น ก็ทำให้ภูเขาหัวโล้นที่น่าน ค่อยๆหายไป

เรื่องนี้ “ดร.รอยล จิตรดอน” กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) เคยพูดไว้ว่า ต้นเหตุของปัญหาหากย้อนกลับไปดูที่ต้นทาง จะพบว่า “น้ำ” คือเรื่องหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยคืนความสมดุล ลดปัญหาภัยแล้ว ลดปัญหาการทำกิน หากแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ ปัญหาเหล่านั้นก็จะทุเลาลง

หนึ่งในความน่าทึ่ง และเป็นสิ่งที่หลายๆ คนไม่เคยรู้มาก่อนก็คือ กลางเมืองน่าน มีทะเลสาบถึง 3 แห่ง “ดร.รอยล” กระซิบบอก และได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การฟื้นฟูทะเลสาบกลางเมืองน่าน ซึ่งท่านบอกว่า มีถึง 3 แห่งด้วยกัน ซึ่งขณะนี้ได้ฟื้นฟูไปแล้ว 2 แห่ง

ทะเลสาบทั้ง 3 แห่งนี้ หากนำมาปรับปรุง ก็น่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือแหล่งน้ำที่ดี ช่วงส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองน่านให้สมบูรณ์ขึ้นอีก หากใครอยู่แถวนั้น ลองเปิด Google Map แล้วแวะเวียนไปดูได้เลย

 

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ  ปีที่ 40 หน้า 24 ฉบับที่ 3,645 วันที่ 17 - 20 มกราคม พ.ศ. 2564