มาดูกันประเทศไหน เกษียณแล้วไม่อดตาย

15 ม.ค. 2559 | 06:43 น.
ประเทศไทยไม่ใช่เป็นประเทศเดียวที่ต้องเผชิญกับปัญหาระบบบำเหน็จบำนาญ ประเทศส่วนมากกำลังหาวิธีแก้ไขผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ประชากรทั่วโลกถูกคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น โดยภายใน ปี 2100 ทางสหประชาชาติ คาดว่าประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 หมื่นล้านคน จาก 7.3 หมื่นล้านคน ขณะที่จำนวนประชากรผู้เกษียณอายุตอน 60 ปี จะเพิ่มเป็นสองเท่า ภายใน 2050 และจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ขณะที่สังคมทั่วโลกเตรียมรับมือกับการขยายตัวของคนเกษียณ

ความท้าทายของนโยบายแต่ละประเทศจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำไปสู่ความยั่งยืนทางการเงินของระบบบำเหน็จบำนาญ เพื่อให้รายได้เกษียณที่เพียงพอสำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่ง ณ เวลานี้จากข้อมูลของ  Allianz มีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ ประเทศฟินแลนด์ นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ต่างมีระบบเบี้ยบำนาญที่แข็งแกร่งสุด เพราะรัฐแทบจะไม่ต้องเข้าไปแบกรับภาระในการจ่ายเงินให้ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำงานเหล่านี้มากจนเกินไป

ซึ่งก่อนหน้านี้ ก็ได้มีการวิเคราะห์ความยั่งยืนของระบบบำเหน็จบำนาญ 50 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศษ กรีซ อิตาลี และสเปน มีระบบรัฐสวัสดิการยุโรปที่อ่อนแอ สัมผัสได้ถึงปัญหาของภาระหนี้สินของประเทศ อายุเกษียณต่ำ และสัดส่วนผู้รับเบี้ยบำนาญที่มากเกินไปเมื่อเทียบกับคนทำงานและเบี้ยบำนาญที่ยังไม่ดีพอ โดยในปี 2010 รายจ่ายบำเหน็จบำนาญของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป คิดเป็น ร้อยละ 11.3 ของ GDP และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 12.9 ของ GDP ในปี 2060

cc

ขณะเดียวกัน ถึงแม้ประเทศออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และไอร์แลนด์ อยู่ในระดับระบบเบี้ยบำนาญที่ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม ผู้เกษียณยังต้องการรูปแบบการออมเงินและรายได้เพิ่มเติม เพื่อรักษามาตรฐานการครองชีพ ซึ่งแน่นอนมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่วัดความเพียงพอของระบบบำเหน็จบำนาญ ส่วนประเทศที่มีระบบเบี้ยบำนาญของผู้สูงอายุเป็นอันดับต้นในประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ตามมาด้วยประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และออสเตรีย โดยทุกประเทศได้ประโยชน์จากระบบที่ได้รับเงินสนับสนุนส่วนบุคคลที่มีการพัฒนาอย่างมาก ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระต่อฐานะการคลังสาธารณะ

สำหรับระบบบำนาญของไทย ก็ยังมีความน่าเป็นห่วงจากสถานการณ์จำนวนประชากรในวัยสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากข่าวก่อนหน้า ปฏิรูประบบ‘บำนาญ’ หนีวิกฤติ…ออมไม่พอใช้หลังเกษียณ

ที่มา: weforum