กรมสุขภาพจิตชี้พฤติกรรมรุนแรงพบเร็วแก้ไขได้

03 ก.ค. 2560 | 07:24 น.
นาวาอากาศตรี นายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงพฤติกรรมความรุนแรงของเด็กและวัยรุ่นที่ปรากฏเป็นข่าวในสังคมอยู่บ่อยครั้งว่า โดยทั่วไป จะมีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงดู ในวัยเด็ก โดยเฉพาะในช่วงปฐมวัยและ  วัยเรียน จากการเติบโตมาในลักษณะที่ ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว ถูกทำร้าย ถูกทอดทิ้ง ที่ทำให้เด็กสะสมความรุนแรงและแสดงออกกับสิ่งของ สัตว์เลี้ยง และเพื่อน โดยไม่รู้สึกผิด และพอกพูนจนเป็นวิถีชีวิต เข้าสู่กระบวนการของความรุนแรง กลายเป็นอาชญากรได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม หากพบความผิดปกติทางพฤติกรรมเช่นนี้ ตั้งแต่วัยเด็กหรือช่วงวัยรุ่นถือเป็นโอกาสที่ยังสามารถแก้ ไขได้ทัน

อธิบดีกรมสุขภาพจิต  กล่าวต่อว่า แนวทางแก้ปัญหาความรุนแรงที่ดี ที่สุด คือ การป้องกัน ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยการดู แลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด คอยชี้แนะ สั่งสอน แนะนำลูกตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะ ในวัยเด็ก ช่วง 3-6 ขวบ ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ในการปลูกฝังและวางรากฐานทางคุ ณธรรมจริยธรรมให้กับเด็ก โดยเฉพาะ ศีล 3 ใน 5ข้อ ได้แก่ ศีล ข้อที่ 1 ไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ศีลข้อที่ 2 ไม่เอาของของผู้อื่นหรือไม่ลั กขโมย และศีลข้อที่ 4 คือ ไม่พูดปด หรือพูดหยาบ ซึ่ง 3 ข้อนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถปลูกฝั งให้กับเด็กๆ ได้ ปัญหาพฤติกรรมก็จะไม่เกิด แต่หากเด็กมีปัญหาด้านสติปัญญา เลี้ยงยาก หรือสมาธิสั้น อาจสอนแล้วไม่เชื่อฟัง แนะนำให้มาพบจิตแพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือน่าอายแต่อย่างใด แสดงถึงความรัก ความเอาใจใส่ลูก ที่สำคัญช่วยป้องกันปัญหาความรุ นแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตามในหลายครอบครัวอาจไม่มีเวลาใกล้ชิดลูกมากนัก แต่อย่างน้อยขอให้พ่อแม่ สละเวลาสักนิดให้กั บพวกเขาในการแสดงความรัก ความเอาใจใส่ที่สามารถทำได้ง่ายๆ  เช่น หากเราต้องทำงานบ้าน ก็ชวนลูกๆ มาช่วยทำด้วยและชื่นชมพวกเขา หรือเล่นเกมกระดาน อ่านหนังสือร่วมกับพวกเขา ไม่ว่าจะกับลูกคนใด ขอให้ปฏิบัติต่อพวกเขาเช่นเดี ยวกัน เพื่อให้พวกเขาได้เรียนรู้ว่า พวกเขามีเวลาดีๆ กับพ่อแม่ พ่อแม่ดูแลเอาใจใส่และรั กพวกเขาเท่ากัน ที่จะช่วยลดช่องว่างและความน้ อยเนื้อต่ำใจที่เกิดขึ้นได้ ในเด็กทุกคน ครอบครัวจึงเป็นเหมือนต้นแบบในการใช้ชีวิตของเด็ก หากเด็กขาดบุคคลที่อบรมสั่ งสอนอย่างเอาใจใส่หรือขาดแบบอย่างที่ดีหรือความสัมพันธ์ ในครอบครัวเปราะบาง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาการใช้ ความรุนแรงได้ในอนาคต ทั้งนี้ กรณีเด็กที่โตขึ้นมา ที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม จนเกินความสามารถของครอบครัวที่จะดูแล สามารถใช้กระบวนการทางสังคม เข้ามาช่วยได้ เช่น จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะเข้ามาประเมินเด็กถึงความเหมาะสมในการอยู่กับครอบครัว หากไม่เหมาะสม ก็จะส่งเข้าสู่กระบวนการสวัสดิ การสังคมต่อไป อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าว

616583 ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิตและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในส่วนของสื่อที่จะส่งผลให้เด็ กมีพฤติกรรมความรุนแรงมากขึ้ นหรือไม่นั้น ผลกระทบจะเกิดกับกลุ่มเด็กเสี่ ยงที่มีความเปราะบางด้านจิ ตใจอยู่แล้วมากกว่า เช่น กลุ่มเด็กที่เติบโตมาในชุมชนหรื อสภาวะสังคมที่มีความรุนแรงสูง ครอบครัวมีการทะเลาะวิวาท ใช้ ความรุนแรง หรือเด็กถูกทอดทิ้ง ถูกกระทำความรุนแรงโดยตรง เป็นต้น การเห็นสื่อความรุนแรงบ่อยๆ ทั้งในชีวิตครอบครัวและสังคม ใน สื่อกระแสหลัก สื่อโซเชี่ยล หรือเกมออนไลน์และออฟไลน์ ที่มี แต่ความก้าวร้าว เต็มไปด้วยเรื่องของการฆ่า การทำลายล้างกัน ย่อมทำให้เด็กกลุ่มนี้เกิ ดความกระด้าง ชาชิน ต่อความสูญเสียและความเจ็บปวด บางครั้งมองเห็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ ตรงหน้า หรือภาพที่เลวร้ายในสื่อ เป็นตัวชี้นำการแสดงออกความเก็บกดทางอารมณ์ที่ผิดๆ ย่อมทำให้ เด็กกลุ่มเปราะบางเหล่านี้ มีพื้นฐานเติบโตขึ้นด้วยการใช้ ความรุนแรง เพราะเห็นว่าเป็นแบบอย่าง อีกทั้งทำให้มีความยับยั้งชั่ งใจลดน้อยลง มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ตนเองต่ำได้

นอกจากนี้ การป้องกันความรุนแรงกับเด็ กและสตรีในครอบครัวจะต้องอาศั ยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เริ่มได้จากชุมชน ที่หากพบเห็นปัญหาความรุนแรงเกิ ดขึ้นในครอบครัว ขออย่าเพิกเฉย ซึ่งเรามักพบว่า เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแล้ว เพื่อนบ้านหรือคนรอบข้าง มักจะให้ข้อมูลว่า เห็นความรุนแรงเกิดขึ้ นในครอบครัวนั้นเป็นประจำ เช่น เห็นตีเด็กเป็นประจำ หรือ ทะเลาะวิวาท ตบตีกันเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้พบเห็น สามารถแจ้ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่ อทำการแทรกแซงหรือให้การช่วยเหลือ เพื่อหยุดพฤติกรรมที่เกิดขึ้ นได้ ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถู กกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้ผู้กระทำความผิดมี โอกาสกลับตัว และยับยั้งการกระทำผิดซ้ำ รวมทั้งสามารถรักษาความสัมพันธ์ อันดีในครอบครัวไว้ได้ ประกอบกับ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวก็มีสิทธิได้ รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่ เป็นธรรมหัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุ ขภาพจิต กล่าว