นักศึกษามทร.ธัญบุรีคิดสูตรอาหารกินได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง

04 ก.ย. 2559 | 08:36 น.
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตร บูรณาการวิชาเรียนวิชาการจัดการฟาร์มสุนัขและแมว คิดสูตรคุกกี้สำหรับคนรักสุนัขและแมว กินได้ทั้งคนและสัตว์

นายอมร อัศววงศานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ และอาจารย์ประจำวิชาการจัดการฟาร์มสุนัขและแมว เล่าว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการดูแลสุขภาพสัตว์ การเลี้ยงและการผลิตสัตว์ โดยศึกษาวิชาทางสัตวศาสตร์ : สัตวแพทย์ (40 : 60) เช่นเภสัชวิทยา ศัลยศาสตร์เบื้องต้น โรคสัตว์ พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์เบื้องต้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมการขาย เปิดร้านขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงสัตว์ โดยเป็นนักสัตวบาลที่มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์
สำหรับวิชาเรียนวิชาการจัดการฟาร์มสุนัขและแมว เป็นวิชาเลือกของนักศึกษาในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ ที่ต้องการให้นักศึกษาที่เรียนในรายวิชานี้ การดูแลสุขภาพสัตว์เบื้องต้น สามารถนำความรู้ในการนำไปบูรณาการทำธุรกิจ รวมไปจนถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ที่สามารถนำไปสร้างรายได้ให้กับนักศึกษา จากการออกไปดูงามตามการจัดการต่างๆ นักศึกษาจะได้ไอเดียมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ “คุกกี้คนรักสุนัขและแมว” เป็นผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาและตนเองได้คิดสูตรขึ้น ซึ่งเป็นสูตรง่ายๆ ที่สามารถรับประทานได้ทั้งคน สุนัขและแมว ซึ่งอาหารสุนัขและแมวค่อนข้างมีราคาแพง เป็นทางเลือกให้คนรักสัตว์อีกทางหนึ่ง

image ส่วนผสมของคุกกี้สุนัขและแมว 1. แป้งคุกกี้ 200 กรัม 2. ไข่ไก่ 1 ฟอง 3. เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา 4.ไก่ย่างหรือไก่อบ (ส่วนสะโพก.) 1 ชิ้น 5.แครอทครึ่งหัว 6. ฟักทอง ¼ ของหัว (นึกแล้วบด) 7.เนยเค็ม ¼ ของก้อน วิธีการทำ เริ่มจากการนำแป้ง 200 กรัม มาเทใส่กะละมัง จากนั้นใส่ไข่ 1 ฟอง ตามด้วยเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา ใส่แครอท ฟักทองบดที่เตรียมไว้ จากนั้นค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อยๆ จนแป้งติดกัน ใส่เนื้อไก่อบที่เป็นชิ้นเล็กๆ ที่เตรียมไว้ลงไป นวดให้เข้ากัน เมื่อนวดแป้งเข้ากัน นำใส่แป้นพิมพ์ ต่อด้วยนำไปอบไฟ 200 องศาเซลเซียส 20-30 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาของคุกกี้ รอให้เย็นเก็บใส่กระปุก ซึ่งคุกกี้สามารถเก็บไว้ได้ประมาน 3 วัน ส่วนคุกกี้แมวส่วนผสมและขั้นตอนเหมือนกัน แต่เปลี่ยนจากไก่อบ เป็นเนื้อปลาทู หรือปลาซาบะแทน

“เจน” นางสาวเจนจิรา พานตะโก นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ เล่าว่า ด้วย
ส่วนตัวที่บ้านเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงแมว 6 ตัว จึงเลือกเรียนวิชานี้ ซึ่งเมื่อได้เรียนนี้ สามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้ อย่างเช่น คุกกี้แมว ตนเองได้นำสูตรไปลองทำที่บ้าน แมวที่บ้านกินหมด เป็นการประหยัดค่าอาหารแมว ตอนนี้คิดว่าจะนำไปต่อยอด ถ้ามีเวลาคิดว่าจะทำขาย เพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน
เช่นเดียวกับ “เกมส์” นายกิดานันท์ รุ่งเรือง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ เล่าว่า โดยส่วนตัวที่เลือกเรียนสาขาวิชานี้ อยากเปิดร้านคาเฟ่สุนัข ให้บริการสุนัขเป็นทางเลือกของคนรักสัตว์ ในการเรียนวิชานี้ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการดูแลสุขภาพสัตว์ ก่อนที่จะนำไปพบสัตว์แพทย์