ยกอุตสาหกรรมระบบราง เร่งเครื่องไทยแลนด์ 4.0 ตั้งเป้าพัฒนากำลังคนทะลุ 20,000 ราย ใน 5 ปี

01 ก.ย. 2559 | 08:56 น.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อประเทศไทย 4.0" ในโอกาสเป็นประธานเปิดงานประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ครั้งที่ 3 ปี 2559 จัดโดย สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นสูง (THAIST) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) และหน่วยงานเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุ มไบเทค บางนา

ระบบราง_6770 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อประเทศไทย 4.0” ในการประชุมวิชาการระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยครั้งที่ 3 ประจำปี 2559 โดยระบุถึงนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่จะมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “Value-Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อแก้ปัญหาหลักของประเทศไทย ได้แก่ กับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุลของการพัฒนา ซึ่งปัจจุบันมีมาตรการส่งเสริม Research Innovation and Enterprise ตั้งแต่ระดับการวิจัยพื้นฐาน จนถึงการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยอุตสาหกรรมระบบรางจะมีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ในการเชื่อมโยงโครงข่ายโลจิสติ กส์ ซึ่งการพัฒนาด้านระบบขนส่ งทางรางได้ร่วมกันดำเนิ นการโดยเครือข่ายพัฒนากำลั งคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางราง ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานทั้ งจากทางภาครัฐ ภาคการศึกษาและวิจัย และภาคอุตสาหกรรมและผู้ ประกอบการเดินรถ ซึ่งความร่วมมือลักษณะนี้เป็นสิ่ งสำคัญในการพั ฒนาระบบรางของประเทศให้เกิ ดความก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่ าการกระทรวงคมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “อุตสาหกรรมระบบรางเพื่ อประเทศไทย 4.0” โดยระบุถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้ นฐานด้านระบบขนส่ งทางรางของประเทศ ความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ ตามแผนแม่บทปี 2558 – 2565 ครอบคลุมถึงโครงการรถไฟฟ้าขนส่ งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟความเร็วสูง และนวัตกรรมรถโดยสารและรถสินค้า รวมถึงความสามารถของอุ ตสาหกรรมประเทศไทยในการผลิตชิ้ นส่วนต่าง ๆ เช่น หมอนรองราง และแผ่นยางรองราง โดยทิศทางการพัฒนาอุ ตสาหกรรมระบบรางของประเทศไทย จะสนับสนุนให้มีการถ่ ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเป็ นกลไกในการเพิ่มขี ดความสามารถในการส่งเสริมการใช้ วัสดุภายในประเทศต่อไป

สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีการจัดให้มีการนำเสนอบทความวิ จัย บทความวิชาการ  การปาฐกถาพิเศษจากวิทยากรผู้ ทรงคุณวุฒิจาก สหพันธรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ทั้งทางด้านการพัฒนาระบบขนส่ งทางรางโดยใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 การพัฒนาระบบขนส่งทางรางสำหรั บเมืองใหญ่ การสร้างระบบขนส่ งทางรางในประเทศจีนและการใช้งาน การพัฒนาและการทดสอบรถไฟความเร็ วสูงในประเทศจีน ระบบความปลอดภัยของระบบขนส่ งทางและแนวทางการซ่อมบำรุ งของประเทศเกาหลี และการป้องกันการกรัดกร่อนเนื่ องจากกระแสไฟรั่ว นอกจากนั้นเพื่อให้ผู้เข้าร่ วมงานประชุมได้เรียนรู้ถึงการพั ฒนางานวิจัยจากทั้งนักวิจั ยไทยและต่างประเทศ เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการพัฒนาระบบขนส่งทางรางที่ดี นอกจากนี้ สวทน. ได้ร่วมกับเครือข่าย 27 หน่วยงาน ในการพัฒนากำลังคนทางเทคโนโลยี ระบบขนส่งทางรางเป็นจำนวนปี ละกว่า 2,000 คน โดยมีแผนเพิ่มจำนวนไห้ได้ตามเป้ าหมายเป็นจำนวน 21,000 คนภายในปี พ.ศ. 2565 และผลักดันเครือข่ายไปสู่Thailand Rail Academy ในอนาคต