ประมงแจ้งเตือนฝนหนักอากาศแปรปรวนหวั่นโรคระบาดปลา

23 ส.ค. 2559 | 06:52 น.
[caption id="attachment_88588" align="aligncenter" width="409"] นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง[/caption]

นายมีศักดิ์  ภักดีคง รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ที่ประเทศไทยเริ่มย่างเข้าสู่ช่วงฤดูมรสุม และมีคำประกาศแจ้งเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา ทั้งในเรื่องของปริมาณฝนที่ตกหนักและสภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้คุณภาพน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ทั้งอุณหภูมิของน้ำที่แตกต่างกันมากในรอบวัน ความเป็นกรดเป็นด่าง ความขุ่นของน้ำ ส่งผลให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างมาก  ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม ภัยธรรมชาติและโรคสัตว์น้ำชายฝั่งที่จะพบได้บ่อย ได้แก่ หอยแมลงภู่ตาย ปลาในกระชังตายเนื่องจากน้ำในกระชังตื้น น้ำร้อนและเกิดปรสิต ปลาในกระชังตายเนื่องจากเกิดโรคปรสิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำอย่างเฉียบพลันหลังฝนตก โรคตายด่วน (EMS) โรคตัวแดงดวงขาว ที่มักจะแพร่ระบาดและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงนี้

ดังนั้น เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นขอแนะนำให้เกษตรกรเตรียมการป้องกัน ดังนี้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  1. เมื่ออากาศมืดครึ้มยาวนาน 2-3 วัน หรือหลังฝนหยุดตก ควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อคลุกเคล้าน้ำฝนกับน้ำในบ่อให้เข้ากัน ป้องกันการแบ่งชั้นน้ำ  2. เมื่อฝนตกหนักทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลง ปลาจะลดการกินอาหาร ดังนั้น ควรลดปริมาณอาหารให้น้อยลง หรืองดอาหารในวันที่ฝนตกหนัก  3. ควรโรยปูนขาวรอบคันบ่อ ประมาณ 30-50 กิโลกรัมต่อบ่อขนาด 1 ไร่ เมื่อฝนตกจะช่วยปรับ pH น้ำได้ดีขึ้น 4. สาดเกลือแกงลงในบ่อ หลังฝนตก ประมาณ 60-100 กิโลกรัมต่อไร่ จะช่วยลดพิษของแอมโมเนีย และช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกายของปลา  5.  หากจำเป็นต้องเลี้ยงสัตว์น้ำ  ควรปล่อยในอัตราที่หนาแน่นน้อยกว่าปกติ  6.  เมื่อปลาแสดงอาการผิดปกติ อาจจะผสมยาในอาหารให้ปลากิน แต่ควรปฏิบัติตามฉลาก ที่กำหนดอย่างเคร่งครัด หรือปรึกษา ศูนย์วิจัยหรือสำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้าน

ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง   ในช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูมรสุมของภาคใต้ ช่วงนี้ฝนตกชุก ความเค็มก็จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลาในกระชังต้องระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากความต้านทานเชื้อของปลาจะลดน้อยลงในช่วงนี้ การให้อาหารปลาก็จะต้องลดลง ช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม  ภัยธรรมชาติและโรคสัตว์น้ำชายฝั่งที่จะพบได้บ่อย ได้แก่ หอยแมลงภู่ตาย ปลาในกระชังตายเนื่องจากน้ำในกระชังตื้น น้ำร้อนและเกิดปรสิต ปลาในกระชังตายเนื่องจากเกิดโรคปรสิตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำอย่างเฉียบพลันหลังฝนตก โรคตายด่วน (EMS) โรคตัวแดงดวงขาว ที่มักจะแพร่ระบาดและมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงนี้