หมอประเวศชี้ทิศทางการปฏิรูปต้องปฏิวัติจิตสำนึก

20 ส.ค. 2559 | 05:20 น.
สสส.เดินหน้า“สานพลังการเรียนรู้ เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน” หมอประเวศชี้ทิศทางปฏิรูปการเรียนรู้ ต้องปฏิวัติจิตสำนึกและสัมพันธภาพแบบใหม่ เปลี่ยนจากความสัมพันธ์แนวดิ่งเป็นแนวราบ ชี้คนไทยขาดความอดทน-ทักษะการจัดการ เหตุเน้นสอนท่องวิชา เปลี่ยนคาบเร็ว หนุนทุกภาคส่วนร่วมปฏิรู ประบบการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผจก.สสส.ชี้โจทย์ท้าทายสุขภาวะเด็กเยาวชนไทย “โรคอ้วน-สังคมก้มหน้า-เกิดน้อยด้อยคุณภาพ” สู่การสร้างทักษะพลเมืองยุคศตวรรษที่ 21 นักวิชาการชี้จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้เพื่อต้องเคลื่อนตั วจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาคนของจังหวัด เตรียมจัดทำหลักสูตรภูมิสั งคมหนุนการพัฒนากำลังคน

เมื่อวันที่ 20-21 สิงหาคม ที่โรงแรมเซ็นทราศูนย์ ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการประชุมเวทีวิชาการ “สานพลังการเรียนรู้ เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน : วิถีสู่โรงเรียนคุณภาพเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน” โดยมีเครือข่ายครูและบุ คลากรทางการศึกษา และภาคีเครือข่ายคนทำงานเพื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อวิถีสู่ การสร้างโรงเรียนคุณภาพเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน : รากฐานของการพัฒนาประเทศว่า เด็กและเยาวชนเป็นสะพานสู่การพั ฒนาทั้งหมดเพราะเชื่อมโยงกับโรงเรียน ภาคเอกชน ประชาสังคม ท้องถิ่น ชุมชน อย่างไรก็ตามสัมพันธภาพในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นสัมพั นธภาพเชิงอำนาจแนวดิ่งแม้บางครั้ งจะเป็นเจตนาที่ดีก็ตามแต่ ธรรมชาติของสมองจะมีปฏิกิริยาต่ อสู้ โรงเรียนจึงต้องเปลี่ ยนจากอำนาจแนวดิ่งเป็นสัมพั นธภาพแนวราบโดยเปิดออกไปสัมพั นธ์กับความจริงของชีวิตและสิ่ งแวดล้อม เชื่อมโยงกับชุมชน ท้องถิ่น ภาคธุรกิจ

“การพัฒนาเด็กและเยาวชนต้องตระหนักว่าไม่มีใครเหมือนกันในโลก อย่าทำลายเยาวชนด้วยการยัดเยี ยดให้ท่องวิชาเหมือนกัน เยาวชนทุกคนต้องเก่งในทางที่ต่างกัน คนไทยทุกวันนี้ขาดความอดทน ไม่มีสมาธิอยู่ได้นานๆเพราะวิธีการเรียนที่เปลี่ยนเป็นคาบๆ ไม่มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ชอบได้ นานๆ ดังนั้นการศึกษาต้องวางแผนให้ เด็กได้ทำสิ่งที่ชอบได้นานๆ ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิและความอดทน คนไทยยังขาดทักษะการจัดการซึ่ งเป็นอันตรายมากในการทำงาน เพราะการศึกษาเน้นแต่ท่องวิชา หากให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจะเป็ นการฝึกทักษะการจัดการ ทั้งนี้สังคมไทยเป็นสังคมที่มี ความซับซ้อนไม่สามารถแก้ปั ญหาได้เพียงลำพังต้องอาศัยศั กยภาพสูงสุดของมนุษย์ร่วมกันนั่ นคือ การปฏิวัติจิตสำนึกและสัมพั นธภาพแบบใหม่ เพราะทุกคนมีจิตสำนึกมีสมองส่ วนหน้าเหมือนกัน ครูจึงมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยให้ ทุกคนได้ค้นพบและเป็นเมล็ดพันธุ์ ความดีที่จะช่วยกู้สิ่งเหล่านี้ ”ศ.นพ.ประเวศ กล่าว

ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีสุ ขภาวะที่ดีการให้ความรู้เพี ยงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรั บการเป็นพลเมืองของโลกในยุ คศตวรรษที่ 21 จึงต้องสร้างทักษะที่จำเป็ นโดยเฉพาะทักษะที่ ตลาดแรงงานโลกต้องการในอีก 4 ปีข้างหน้า ได้แก่ ทักษะการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การจัดการบุคคล และการทำงานร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีโจทย์ท้าทายต่ อการเสริมสร้างสุขภาวะเด็ กและเยาวชน ทั้งภาวะน้ำหนักเกินพบว่า1 ใน 4 ของเยาวชนไทยเป็นโรคอ้ วนโดยพบแนวโน้มการกินเครื่องดื่ มหวานในกลุ่มเด็กเล็กเพิ่มขึ้น ภาวะสังคมก้มหน้าซึ่งปัจจุบันคนไทยใช้เวลากับโทรศัพท์มือถื อถึง4.2 ชั่วโมงต่อวัน โดยส่วนใหญ่ใช้งานไปกับสื่ อโซเซียลมีเดียรวมถึ งกระแสโปเกม่อนที่กำลังเป็นที่ นิยมของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน  และภาวะการเกิดน้อยด้อยคุณภาพในปี 2557 มีทารกที่เกิดจากแม่วัยรุ่นวั นละ 334 คน โรงเรียนจึงถือเป็ นฐานการทำงานที่สำคัญเพราะส่งผล ถึงเด็กและเยาวชนโดยตรง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การทำให้ผู้เรียนเป็นสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ ทักษะชีวิต ความเป็นพลเมืองดี และความรักในการเรียนรู้ จึงต้องทำทั้งการลดปัจจัยเสี่ยง จัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ให้โรงเรียน สภาพแวดล้อม ครอบครัว และชุมชนเป็นพื้นที่ปลอดภัย โดยทำงานร่วมกันของคน 4 กลุ่ม คือ ผู้ปกครองและชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร  และครู

ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายการศึกษาที่ผ่านมาล้ มเหลวโดยสิ้นเชิงเพราะการจัดทำแผนเชิงนโยบายส่วนใหญ่วางแล้วให้ผู้อื่นรับไปทำ การถ่ายทอดนโยบายจึงเป็นการทำงานจากบนลงล่างโดยใช้วิธี การฝึกอบรม ทำเอกสาร งานนำร่อง การตีความจึงเป็นไปคนละทิ ศทางกลายเป็นภาระของครู และโรงเรียน ขณะเดียวกันในระดับสถานศึกษามี หลายแห่งที่ถูกพัฒนาจากล่างขึ้ นบน แต่ไม่สามารถขยายผลได้ เพราะขาดการเชื่อมโยงกับระดับนโยบายซึ่งเป็นข้อจำกัดของการศึกษา แต่ขณะนี้ได้มีการเปลี่ ยนบทบาทการจัดการศึกษาที่ส่วนกลางจะเล็กลง ทำหน้าที่กำกับเชิงนโยบายเพื่ อกระจายอำนาจให้จังหวัดเป็นฐานเพื่อเชื่อมโยงจากบนสู่ล่างและล่างขึ้นบน โดยแบ่งการปฏิรูปการศึกษาออกเป็น 77 จังหวัดตามความหลากหลายและบริ บทของพื้นที่ ดังนั้นสิ่งที่จังหวัดต้องเคลื่อนตัวครั้งสำคัญคือการจัดทำยุ ทธศาสตร์การพัฒนาคนของจังหวัดและการบริหารบุคคล จึงร่วมกับสสส.ในการจัดทำหลักสู ตรภูมิสังคมโดยมองถึงคุณลักษณะและสมรรถนะของเด็กในแต่ละบริบทพื้นที่เพื่อนำไปสู่หลักสูตรการปรับใช้เป็นหลักสูตรของสถานศึกษาในทางปฏิบัติ