ศก./การเมืองระหว่างประเทศตัวฉุดส่งออกไทยครึ่งปีหลัง

01 ส.ค. 2559 | 09:10 น.
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ที่ปรึกษาคณะกรรมการสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก แถลงข่าวร่วมกับนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออก นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อ านวยการบริหารสภาผู้ส่งออก และ อ.ดร.รติดนัย หุ่นสวัสดิ์ ที่ปรึกษาโครงการดัชนีการส่งออก ถึงสถานการณ์ส่งออกในเดือนมิถุนายน 2559  เมื่อวันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2559 ว่า การส่งออกในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้รับอานิสงส์จากมูลค่าการส่งออกทองคำที่สูงถึง 781.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือขยายตัว 365% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 2558 รวมถึงการขยายตัวของการส่งออกรถยนต์และสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มีมูลค่า การส่งออกเท่ากับ 18,146 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ -0.08% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY)

ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 642,388 ล้านบาท ขยายตัว 6.5% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกครึ่ง ปีแรก มีมูลค่า 105,137 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -1.60% แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ทั้งในด้านการจ้างงาน การบริโภคครัวเรือน ความเชื่อมั่นผู้บริโภค และ การลงทุนภาคเอกชนจะมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

ขณะที่ผลกระทบจาก BREXIT ระยะสั้นจะหมดไป และการเคลื่อนย้ายเงินทุน ออกจากยุโรปไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ จะส่งผลให้มีการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจของจีนที่มีแนวโน้มที่ดี ขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ 360 องศา ทำให้ภาคการผลิตกลับมาขยายตัวอีกครั้งในรอบ 8 เดือน และเชื่อว่า เศรษฐกิจจีนจะเติบโตอย่างน้อย 6.5% ในปีนี้ แต่จากภาพรวมทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่หลายฝ่ายยังคง คาดการณ์ว่าจะเติบโตน้อยลง เมื่อรวมกับความผันผวนของค่าเงินจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนจ านวนมาก ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศทั้งในทะเลจีนใต้ การสู้รบและการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในตะวันออกกลางและยุโรปตะวันออก รวมถึงสถานการณ์การก่อการร้ายและความรุนแรงในสหภาพยุโรป จากปัจจัยที่กล่าวมาเชื่อว่าจะส่งผลต่อการส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลัง และทำให้ทิศทางการส่งออกของไทยในปี 2559 หดตัวเท่ากับ -2%

อนึ่ง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารโลกได้ออกรายงานดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ประจ าปี 2016 หรือ Logistics Performance Index (LPI) 2016 ซึ่งมีขอบเขตการประเมินใน 6 ด้านที่สำคัญประกอบไปด้วย 1) ประสิทธิภาพด้านศุลกากร 2) คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางการค้าและการขนส่ง 3) ความสามารถและคุณภาพของการ ให้บริการโลจิสติกส์ 4) ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนโลจิสติกส์ 5) ความสามารถในการตรวจติดตามการเคลื่อนย้าย และสถานะของสินค้า และ 6) ระยะที่ใช้ในกระบวนการขนส่งและโลจิสติกส์โดยมีสาระสำคัญในรายงาน 4 ประการ ประกอบ ด้วย ประการแรก การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในกลุ่มประเทศที่มีประสิทธิภาพโลจิสติกส์ดี ทำให้เกิดช่องว่างมากขึ้นระหว่าง ประเทศประเทศผู้น าด้านโลจิสติกส์ และประเทศที่มีการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในระดับต่ำ

ประการที่สอง ความน่าเชื่อถือในการ ให้บริการโลจิสติกส์และซัพพลาย และคุณภาพในการให้บริการโลจิสติกส์ ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับประเทศที่มีการพัฒนาโล จิสติกส์ระดับสูง ประการที่สาม ประเทศที่มีการพัฒนาโลจิสติกส์ในระดับต่างๆ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการค้าและการขนส่ง เพราะเป็นพื้นฐานที่สำคัญ และประการสุดท้าย ประเทศที่มีระดับการพัฒนาโลจิสติกส์สูง จะต้องสามารถบริหารจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อน การกำหนดนโยบายต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ในขณะที่ต้องคำนึงถึงแรงกดดันด้านความสามารถในการแข่งขันทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและระดับประเทศ ในส่วนของประเทศไทยมีอันดับในภาพรวมลดลงจาก 35 ในปี 2014 เป็นอันดับที่ 45 ในปี 2016 โดยมีคะแนนรวม ลดลงจาก 3.43 ในปี 2014 เป็น 3.26 ในปี 2016 และมีคะแนนในแต่ละด้านเปรียบเทียบในปี 2014 และปี2016 ได้แก่

1) ประสิทธิภาพด้านศุลกากร จากอันดับที่ 36 คะแนน 3.21 เป็นอันดับที่ 46 คะแนน 3.11 2) คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทาง การค้าและการขนส่งจากอันดับที่ 30 คะแนน 3.40 เป็นอันดับที่ 46 คะแนน 3.12 3) ความสามารถและคุณภาพของการ ให้บริการโลจิสติกส์ จากอันดับที่ 38 คะแนน 3.29 เป็นอันดับที่ 49 คะแนน 3.14 4) ความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนโล จิสติกส์ ปรับตัวดีขึ้นจากอันดับที่ 39 คะแนน 3.30 เป็นอันดับที่ 38 คะแนน 3.37 5) ความสามารถในการตรวจติดตามการ เคลื่อนย้ายและสถานะของสินค้า จากอันดับที่ 33 คะแนน 3.45 เป็นอันดับที่ 50 คะแนน 3.20 และ 6) ระยะที่ใช้ใน กระบวนการขนส่งและโลจิสติกส์จากอันดับที่ 29 คะแนน 3.96 เป็นอันดับที่ 52 คะแนน 3.56 ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เห็นว่าการยกระดับประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของประเทศมีประเด็น พิจารณาที่สำคัญประกอบไปด้วย

1) การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ฉบับที่ 3 ต้องกำหนด วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศ 2) ต้องยกระดับและเร่งรัดโครงการโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งที่สำคัญ ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน 3) ต้องเร่งรัดการปรับปรุงมาตรฐานธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโลจิสติกส์ ตาม แนวทางของ UN/CEFACT 4) ต้องปฏิรูปกระบวนการท างานภาครัฐให้ทันสมัย และแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้ สอดคล้อง 5) ต้องสร้างกลไกควบคุมการให้บริการ การแข่งขัน และการกำหนดราคาค่าบริการให้เป็นธรรม 6) ต้องส่งเสริมการ สร้างเครือข่ายการให้บริการของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย เพื่อให้พร้อมสำหรับการเปิดเสรีการค้าบริการ สาขาการขนส่งและโล จิสติกส์ระหว่างประเทศ 7) ต้องเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการไทย และ ประเทศเพื่อนบ้านให้ทัดเทียม 8) ต้องให้ความสำคัญกับโลจิสติกส์เพื่อสิ่งแวดล้อม อาทิ พัฒนากระบวนการวัด carbon footprint และพลังงานสีเขียว สำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ เป็นต้น และ 9) ต้องให้ความสำคัญและ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ อนึ่ง ประเด็นเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องเร่งด าเนินการแก้ไขคือ การกำหนดกระบวนการที่เหมาะสมในการแจ้งน้ำหนักและ ควบคุมการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการแจ้งน้ำหนักสินค้าและตู้สินค้า หรือ VGM Fee ที่สายเรือและผู้รับจัดการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศเรียกเก็บจากผู้ส่งออกของไทยในปัจจุบัน ส าหรับการปฏิบัติตามมาตรฐานรับรองน้ำหนักตู้สินค้า หรือ Container Weight Verification Rule ซึ่งในเรื่องนี้โกลบอลชิปเปอร์อัลลายแอนซ์ (Global Shippers’ Alliance) ได้ออก แถลงการร่วมให้สายเรือและผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ชี้แจงถึงกระบวนการที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นจาก มาตรการรับรองน้ าหนักตู้สินค้า ซึ่งนำมาถึงการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย VGM Fee เนื่องจากมีข้อสังเกตว่ากระบวนการท างานไม่ได้ เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญเพราะการปฏิบัติงานและการแจ้งข้อมูล ได้ทำตามรูปแบบและแนวทางเช่นที่เคยปฏิบัติมาเกือบ ทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐที่ท าหน้าที่ในการก ากับดูแลในแต่ละประเทศจ าเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมในการ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าว และควบคุมให้เกิดความเป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ผู้ใช้บริการ ซึ่งในส่วนของไทยนั้น สภาผู้ส่ง สินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ส่งหนังสือหารือไปยังกรมการค้าภายใน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และกรมเจ้าท่าเพื่อพิจารณาโดยละเอียดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมทมี่ผ่านมา