‘ปลัดแรงงาน’ พร้อมใช้กฎหมายเข้มข้น

18 พ.ค. 2559 | 10:42 น.
Breaking-News ก.แรงงาน แจงสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEP) ประเด็นด้านแรงงาน ‘ปลัดแรงงาน’ ย้ำพร้อมใช้กฎหมายเข้มข้น

หม่อมหลวงปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับนางบุษยา มาทแล็ง เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม และนายเฆซูส มิเกล ซันส์ (Mr. Jesús Miguel SANZ) เอกอัครราชทูตและหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย (EU) พร้อมได้หารือกับสมาชิกรัฐสภายุโรป (Member European Parliament : MEP) และคณะนำโดยนายวาเนอร์ แลนเกน (Mr.Werner LANGEN) ในประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรป(EU) กับประเทศไทยในการแก้ไขปัญหา IUU การบริหารจัดการแรงงานเคลื่อนย้าย และสภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมประมงและแปรรูป รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการปรับระบบการนำเข้าแรงงานโดยถูกกฎหมาย การจดทะเบียนแรงงาน แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย และการเพิ่มมาตรการควบคุมและการปรับสภาพการทำงานโดยเฉพาะในเรือประมงและอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเผยภายหลังการหารือกับสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEP) และคณะ ว่า ผู้แทนสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEP) ขอรับฟังเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานผิดกฎหมายของประเทศไทยว่าดูแลอย่างไร รวมถึงการควบคุมดูแลสายนายหน้า และสิทธิของแรงงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ นำเสนอในประเด็นด้านแรงงานที่ ดำเนินการแล้ว ได้แก่ กฎหมายการคุ้มครองแรงงานประมง กฎหมายการจำกัดอายุแรงงานเด็กที่ทำงานในภาคประมงว่าต้องมีอายุ ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป รวมถึงกฎหมายที่บังคับใช้ร่วมกับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 ด้วย ซึ่งประเทศไทยมีการบังคับใช้ กฎหมายอย่างเข้มข้น และกฎหมายฉบับล่าสุดที่อยู่ ระหว่างทบทวนให้รอบคอบ คือ ร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. ... สาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้ ครอบคลุมถึงความรับผิดชอบของบริษัทจัดหางาน กำหนดข้อปฏิบัติในการนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงกำหนดบทลงโทษ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้ บริษัทที่จ้างแรงงานต่างด้าวต้องมีความรับผิดชอบในการดูแลสวัสดิการ สิทธิประโยชน์และการคุ้มครองแรงงานต่างด้าวตามกฎหมาย เช่นเดียวกับบริษัทจัดหางาน เพื่อแก้ปัญหาบริษัทจ้างแรงงานต่างด้าวในลักษณะแรงงานรับเหมาช่วง (ซับคอนแทรก) ที่ไม่ได้รับสวัสดิการจากบริษั ทที่ทำงานให้ ทั้งนี้กฎหมายฉบับนี้ถือเป็ นการจัดระเบียบนายหน้าจั ดหางานด้วย

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อว่า กรณี อนุสัญญาฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง ค.ศ. 2007 อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมายซึ่ งเป็นการทำงานร่วมกัน 5 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)  กระทรวงสาธารณสุ ขและกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำหรับประเด็นการบริหารจั ดการแรงงานต่างด้าวได้ชี้แจงว่า ประเทศไทยเน้นเรื่ องของการทบทวนบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) โดยพลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญในการทำงานอย่ างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเดินทางไปประชุมร่วมกันเพื่ อทบทวนเรื่องบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา ลาว เวียดนาม และกัมพูชา และปัจจุบันอยู่ระหว่ างการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ส่วนการจดทะเบียนแรงงานต่างด้ าวผิดกฎหมาย ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้ต่ออายุ ใบอนุญาตทำงาน จนถึง 29 กรกฎาคม 2559 ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ แรงงานผิดกฎหมายเป็นแรงงานถู กกฎหมาย ในกรณีของแรงงานในภาคประมงก็อนุ ญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้ ถือได้ว่าประเทศไทยให้การดู แลแรงงานต่างด้าวในภาคประมงอย่ างยืดหยุ่นพอสมควร

ปลัดกระทรวงแรงงาน ได้กล่าวในตอนท้ายว่าภายหลังจากสมาชิกรัฐสภายุโรป (MEP) ได้รับฟังการชี้แจงรายละเอียดต่ อข้อซักถามต่างๆ   ได้แสดงความพึงพอใจและเข้ าใจในการทำงานของประเทศไทยมากขึ ้น ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภายุโรป (MEP) ได้เดินทางมาเข้าพบกระทรวงต่างๆ เพื่อรับฟังรายละเอียดการดำเนิ นการที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ได้มารั บฟังข้อมูลหลายๆ ด้าน เป็นการยืนยันความจริงใจจริงจั งในการทำงานของประเทศไทย