เอสซีจีรวมพลังขุด"สระพวง"เก็บน้ำใช้ยามแล้ง

14 พ.ค. 2559 | 07:22 น.
image เอสซีจี ส่งเสริมชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบรวมพลังขุด “สระพวง” เก็บน้ำใช้ยามแล้ง เน้นชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน

เอสซีจีเดินหน้าส่งเสริมชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ขุดสระพวงกักเก็บน้ำแก้ปัญหาน้ำแล้ง ต่อยอดการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ภายใต้โครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” พร้อมเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ สนับสนุนการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้นให้ชุมชนมีน้ำกินน้ำใช้ พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน และเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในอนาคต

นายอาสา สารสิน ประธานคณะกรรมการกิจการสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เอสซีจี กล่าวในพิธีเปิดกิจกรรม “สระพวง...รวมใจสู้ภัยแล้ง” ณ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ว่า เอสซีจีตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาเป็นแนวปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “เอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต” เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบที่ทำให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้

“กิจกรรมสระพวงรวมใจสู้ภัยแล้ง เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน นอกจากชุมชนได้สร้างฝายชะลอน้ำ จนทำให้ระบบนิเวศฟื้นคืนสู่ความสมดุลและมีน้ำใช้ตลอดทั้งปีแล้ว ชุมชนยังต่อยอดไปสู่การสร้างสระพวง เพื่อเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ นำน้ำจากฝายชะลอน้ำมาสู่สระพวงเพื่อการเกษตร แก้ปัญหาการทำเกษตรในหน้าแล้งได้ อีกทั้งสระพวงยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำฝน ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาทั้งน้ำเกินและน้ำแล้งได้อย่างยั่งยืน” นายอาสา กล่าว

นายสุรชัย นิ่มละออ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นโอกาสอันดีที่เอสซีจีได้รวมพลังกัลยาณมิตรมาร่วมกับขุดสระพวงให้กับชุมชนบ้านสาแพะ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องตามแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่า “น้ำคือชีวิต” โดยเอสซีจี ภายใต้โครงการเอสซีจี รักษ์น้ำเพื่ออนาคต ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาน้ำขาด น้ำเกิน และน้ำเสีย ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศและคืนคุณภาพชีวิตที่ดีและความสุขสู่สังคมในระยะยาว

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำที่เอสซีจีดำเนินงานนั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชุมชนที่
ดำเนินงาน อาทิ ชุมชนที่อยู่ติดแม่น้ำ เอสซีจี ร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนให้ชุมชนวางแผนบริหารจัดการน้ำด้วยตนเอง ตัวอย่างเช่น ชุมชนบ้านโนนเขวา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมาอย่างยาวนาน แต่พอฤดูน้ำหลากน้ำก็ท่วมเป็นบริเวณกว้าง ชุมชนจึงร่วมกับมูลนิธิอุทกพัฒน์ วางแผนแก้ปัญหาด้วยการสำรวจพื้นที่ ขุดคลองเชื่อมแม่น้ำต่อกับหนองน้ำ พัฒนาเป็นระบบแก้มลิง ทำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้ และยังสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อีกด้วย

ส่วนชุมชนที่อยู่ต้นน้ำ เอสซีจี ส่งเสริมให้ชุมชนบริหารจัดการน้ำด้วยการสร้างฝายชะลอน้ำจนได้น้ำกลับมา เช่น ชุมชนบ้านสาสบหก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง เมื่อชุมชนร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำแล้วทำให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังมีการต่อยอดจากฝายชะลอน้ำไปสู่การสร้างสระพวงเพื่อกักเก็บน้ำในพื้นที่ชุมชนที่อยู่บนสันเขา เช่น ชุมชนบ้านสาแพะ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง ประสบปัญหาภัยแล้งจากการมีพื้นที่อยู่บนสันเขา จึงไม่มีแหล่งเก็บน้ำ ชุมชนจึงร่วมกันขุดสระพวง โดยแบ่งเป็นการขุดสระน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บน้ำ เรียกว่า “สระแม่” ส่งน้ำต่อไปยังสระเล็กๆ ที่เรียกว่า “สระลูก สระหลาน” ใกล้ๆ หมู่บ้าน เชื่อมต่อกันเป็นระบบ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรได้ทั้งหมู่บ้าน

ด้าน นายคงบุญโชติ กลิ่นฟุ้ง ผู้ใหญ่บ้านสาแพะ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง กล่าวว่า เนื่องจากบ้านสาแพะตั้งอยู่บนสันเขาและไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ เมื่อมีการสร้างฝายชะลอน้ำคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศน์ จึงมีน้ำใต้ดิน เมื่อป่าให้น้ำแล้วเราต้องคิดต่ออีกว่าจะนำน้ำเข้ามาใช้ในหมู่บ้านได้อย่างไร เลยได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานการขุดสระพวงกับโครงการปิดทองหลังพระที่จังหวัดน่าน และนำแนวคิดมาปรับใช้กับพื้นที่บ้านสาแพะ

“ไม่เพียงแต่ช่วยกันขุดสระเท่านั้น แต่ชาวบ้านยังต้องปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรด้วยการหันมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยอย่างมะระ ขายเมล็ดพันธุ์ส่งออกต่างประเทศ อีกทั้งยังหันมาใช้ระบบน้ำหยดทำให้ประหยัดน้ำมากขึ้นหลายเท่า ทุกวันนี้ถึงแม้จะมีน้ำใช้ตลอดในฤดูแล้ง แต่ชาวชุมชนบ้านสาแพะก็ยังคงร่วมมือร่วมใจใช้น้ำทุกหยดอย่างรู้คุณค่า” นายคงบุญโชติ กล่าว

เอสซีจีให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ชุมชนตระหนักถึง
ทรัพยากรน้ำ พร้อมสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างต่อเนื่อง และผลักดันให้เกิดการต่อยอดแนวคิดกระจายไปสู่คนในสังคมและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อให้ชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ พึ่งพาตนเองได้ และเป็นชุมชนที่เข้มแข็งในอนาค