ซีอีโอ "สาระ ล่ำซำ" เผยช่วงที่เหลือเน้น Conservative หลังฝ่าโควิด 4เดือนแรก

23 มิ.ย. 2564 | 00:43 น.

ซีอีโอ "สาระ ล่ำซำ" เผยช่วงที่เหลือเน้น Conservative หลังฝ่าโควิด 4เดือนแรก - หวังนโยบายภาครัฐเป็นตัวช่วยหนุน “เบี้ยต่ออายุ”ส่อติดลบโงกลับขึ้นมา ถ้าสามารถฟื้นเศรษฐกิจได้เร็ว

ซีอีโอ "สาระ ล่ำซำ" เผยช่วงที่เหลือเน้น Conservative หลังฝ่าโควิด 4เดือนแรก

นายสาระ   ล่ำซำ   กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเมืองไทยประกันชีวิตจำกัด (มหาชน)หรือMTL และในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย (TLAA)เปิดเผยว่า แนวโน้มช่วงที่เหลือของปี 2564 ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตยังคงเป้าหมายจะมีเบี้ยประกันรับ 5-6.1แสนล้านบาทหรืออัตราเติบโตติดลบ1ถึงบวก1%ต่อปี  ซึ่งค่อนข้าง Conservative โดยยอมรับว่าจำนวนผู้ติดเชื้อและการระบาดของCovid ระลอก 3 รุนแรงขึ้นเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย อย่างไรก็ตาม 4 เดือนแรกของปีนี้แม้เบี้ยประกันภัยรับยังขยายตัว 1.95แสนล้านบาทหรือเติบโตในอัตรา 3.25% แต่เริ่มเห็นแนวโน้มการปรับลดลงตั้งแต่เดือนแรกของปี  แต่ที่สำคัญภาพการเติบโตของการจ่ายเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว(Single Premium) และแบบประกันควบการลงทุน (Unit Linked)จะส่งผลต่อปีถัดไป ซึ่ง Single Premiumนั้นจะออกมาในรูปของสินเชื่อเครดิตไลฟ์ที่ยังเติบโตล้อกับการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร โดยเฉพาะภาคธนาคารหันมาทำตลาดยูนิตลิงค์มากขึ้น ส่วนเบี้ยประกันสุขภาพเติบโต6%จากเดิมเคยขยายประมาณ9-10% เนื่องจากเบี้ยประกันรับใหม่ที่โตมาจาก Single Premium และ Unit linked ซึ่งเป็นการใช้ประกันชีวิต ความคุ้มครอง  และบวกส่วนควบต่างๆ เช่น  ประกันสุขภาพหรือสัญญาเพิ่มเติมประกันโรคร้ายแรง ซึ่งทั้งประกันสุขภาพและโรคร้ายแรงยังเป็นพอร์ตใหญ่ของธุรกิจประกันชีวิตโดยมีสัดส่วนประมาณกว่า 80%หากไม่รวมโควิดจะอยู่ประมาณ90%

ซีอีโอ "สาระ ล่ำซำ" เผยช่วงที่เหลือเน้น Conservative หลังฝ่าโควิด 4เดือนแรก

ขณะที่ สังคมผู้สูงวัยที่กำลังเติบโตภัยของการมีรายได้ที่ไม่เพียงพอไม่ล้อไปกับอายุที่ยืนขึ้นจึงเป็นที่มาสมาคมประกันชีวิตไทยหารือคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)มาอย่างต่อเนื่องเพื่อทบทวนเรื่องแบบประกันบำนาญที่แท้จริง คือ การพัฒนาฟีเจอร์เพื่อให้มีรายได้หรือเงินเดือนเพียงพอที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้หลังวัยเกษียณ โดยเฉพาะในสภาวะ Yield Curve ตก

"ไม่ว่าในมุมของสมาคมหรือMTLเราเน้น Conservative เพราะนอกจากพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงกระบวนการทางความคิดแต่ละช่วงวัย(Generation และDemographics) หรือDigital  Disruption และอีกหลายเรื่องที่ยอมรับว่า การระบาดของ covid -19ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ได้ผลักดันให้เกิดขึ้น  รวมถึงมาตรฐานสากล ของกฎหมายและกฎระเบียบของคปภ.หรือ กติกาการลงทุนและการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที 2(RBC) พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล มาตรฐานบัญชีIFRS17 เรื่องสังคมผู้สูงวัยที่ยังไม่มีการบูรณาการชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะประกันชีวิตเท่านั้นแต่จะเป็นความท้าทายของประเทศ  ภายใต้สถานการณ์โควิด-19ที่จะส่งผลยืดเยื้อ หรือแนวโน้มเศรษฐกิจจะฟื้นกลับมาในช่วงไหน และระดับใด  เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องดูให้ดี"

               จากปัจจัยดังกล่าว มองไปข้างหน้า ความท้าทายมาจากเบี้ยต่ออายุกำลังจะติดลบ โดยเบี้ยต่ออายุที่เติบโต่แค่ 1% เพราะคนไทยยังเห็นความสำคัญของประกันชีวิต ส่วนหนึ่งมีการชำระเบี้ยครบกำหนดแต่ยังคงให้ความคุ้มครองอยู่ จึงยังไม่เห็นตัวเลขผิดปกติจากการยกเลิกกรมธรรม์ที่มาจากปัจจัยเศรษฐกิจและกำลังซื้อ  อย่างไรก็ตาม หากการแก้ไขปัญหาของนโยบายภาครัฐสามารถฟื้นเศรษฐกิจกลับมาได้เร็ว สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยทำให้เบี้ยประกันรับโงกลับขึ้นมา

นายสาระ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของเมืองไทยประกันชีวิต (MTL) ยังมุ่งมั่นตอบโจทย์และความต้องการเฉพาะตัวของลูกค้า(Personal Lifezation) ภายใต้MTL Trusted  Lifetime Partner โดยพยายามพัฒนาทั้งช่องทางให้บริการทั้งออฟไลน์ ออนไลน์   และรูปแบบกรมธรรม์ประเภทต่าง โดยใช้เทคโนโลยีและนวตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น อำนวยความสะดวกกับลูกค้า  สิ่งที่เห็นชัดในช่วงต้นปีที่ผ่านมาลูกค้าของMTLหันมาใช้แพลตฟอร์ม MTL Click เกือบ 5แสนคนซึ่งเพิ่มขึ้นจากต้นปีมีอยู่ประมาณ 3.16แสนคนซึ่งสะท้อนข้อดีจากการระบาดของโควิดที่ส่วนใหญ่ส่งผลกระทบเชิงลบ 

ซีอีโอ "สาระ ล่ำซำ" เผยช่วงที่เหลือเน้น Conservative หลังฝ่าโควิด 4เดือนแรก

สำหรับรูปแบบกรมธรรม์เมืองไทยประกันชีวิตได้มีการพัฒนาเพื่อยกระดับบริการอย่างต่อเนื่องเช่นกัน    เช่น "วัคซีนโควิดอุ่นใจ"  หรือ Convertible Option เป็นการพัฒนาโปรดักส์เพิ่มเติมเพื่อจะตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าผู้ถือกรมธรรม์ดีเฮลท์ (D -Health) มาแล้วอย่างน้อย 5 ปีซึ่งอนาคตไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณโดยเปิดให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนแปลงความรับผิดส่วนแรกโดยไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพใหม่  ไม่มีระยะเวลารอคอยและไม่เพิ่มโรคที่เป็นมาก่อนสำหรับผู้เอาประกันที่มีอายุ 55 ถึง 65 ปี

"ผมพยายามผลักเรื่องประกันชีวิตควบการลงทุนหรือILP และประกันโรคร้ายแรง ขณะเดียวกันจะมีฟีเจอร์ของแบบประกันต่างๆไม่ว่าคลินิกเฮลท์ ,เฮลท์ แคร์ พลัส  เพื่อเป็นทางเลือก โดยยังคงเป้าเบี้ยรับทั้งปีนี้"

ด้านแนวโน้มการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนนั้น นายสาระ ระบุว่า บริษัทยังมองหาโอกาสและศึกษาความเป็นไปได้ในแง่ของการลงทุน ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายไทยและกฎหมายของแต่ละประเทศที่จะเข้าไปลงทุนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประกันชีวิตหรือวินาศภัย  โดยปัจจุบันยังเปิดสำนักงานผู้แทน(Representative) กรุงย่างกุ้ง เมียนมา  ส่วนผลการดำเนินงาน บริษัทประกันชีวิ( บริษัท โสวรรณภูมิ ไลฟ์ แอสชัวรันส์ จำกัด (มหาชน) ) และบริษัทประกันวินาศภัย(บริษัท ดาราอินชัวร์รันส์ จำกัด(มหาชน)มีอัตราเติบโตที่ดีทั้งในสปป.ลาว และกัมพูชา  เห็นได้จาก บริษัทโสวรรณภูมิไลฟ์ฯ มีอัตราการเติบโตเป็นอันดับ 2ในจำนวน 12บริษัทประกันชีวิตในกัมพูชา มีส่วนแบ่งทางการตลาด ประมาณ 25%และบริษัทดาราอินชัวร์รันส์ ส่วนใหญ่เน้นทำตลาดประกันวินาศภัยผ่านบริษัทขนาดใหญ่โดยมีผลดำเนินงานติดอันดับ 5ในจำนวน 11บริษัทขณะที่อนาคตต่อไปบริษัทจะเริ่มทำตลาดรายย่อย(ประกันภัยรถยนต์)  ถัดมาคือ MB Ageas Life มียอดขายประกันชีวิตเป็นอันดับ 1ในเวียดนาม โดยไตรมาส1ของปี2564นี้มีการเติบโตเฉพาะตัวแทนในอัตรา 280%ซึ่งสูงกว่าตลาดที่ช่องทางตัวแทนเติบโตกว่า 20%ขณะเดียวกันบริษัทได้รีครูตตัวแทนเข้ามาเกือบ 2หมื่นคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: