“มท.2”สั่งระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ"กระทบเหนือ อีสาน กลาง

13 มิ.ย. 2564 | 07:49 น.

“มท.2”สั่งระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ" กระทบภาคเหนือ อีสาน กลาง กำชับบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ ลดความรุนแรงฝนทิ้งช่วง ห่วงฝนตกสลับร้อน ทำเจ็บป่วยได้ง่าย 

วันที่ 13 มิถุนายน 2564 นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ในฐานะกำกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์พายุ “โคะงุมะ” โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 ระบุถึงอิทธิพลของพายุโซนร้อนโคะงุมะที่ขึ้นฝั่งประเทศเวียดนาม เช้าวันนี้(13 มิ.ย.) ส่งผลให้ร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือและประเทศลาวตอนบน และส่งผลกระทบต่อภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี นั้น 

นายนิพนธ์ กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สถานการณ์ไม่รุนแรงมากไปกว่าที่จะเป็น 

ทั้งนี้ได้กำชับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้เตรียมการรับมือสถานการณ์พายุ “โคะงุมะ” ให้ได้เตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานทั้งเครื่องสูบน้ำ จุดอพยพพี่น้องประชาชน เครื่องมือในการช่วยเหลือชีวิต พร้อมบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ หน่วยงานภาคีต่างๆ เพื่อลดความรุนแรงของสถานการณ์ ลดความสูญเสียด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน  

ส่วนประชาชนขอให้ติดตามข่าวสารสภาพอากาศและสถานการณ์พายุอย่างเนื่อง โดยเฉพาะประชาชนที่ปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากสภาวะดินสไลด์ กระแสน้ำป่าไหลหลากที่รุนแรง 

ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องเฝ้าระวังเตรียมการอพยพให้พร้อม โดยเฉพาะประชาชนที่ปลูกบ้านเรือนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ราบเชิงเขา อาจได้รับผลกระทบจากสภาวะดินสไลด์ กระแสน้ำป่าไหลหลากที่รุนแรง ส่วนพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็ต้องเฝ้าระวังเตรียมการอพยพให้พร้อม ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าไปดูแลอย่างใกล้ชิด 

                                      “มท.2”สั่งระดมความพร้อมรับมือพายุโซนร้อน"โคะงุมะ"กระทบเหนือ อีสาน กลาง

ขณะเดียวกัน ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพร่วมกับกรมชลประทาน องค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อเก็บกักน้ำไว้ประโยชน์ในฤดูแล้งปีหน้าและบรรเทาความรุนแรงในสภาวะฝนทิ้งช่วง อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อเกิดสภาพอากาศที่มีฝนตกสลับอากาศร้อนอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย พี่น้องประชาชนต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้มีภูมิต้านทานเพื่อป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคโควิด-19 ที่ทั้งผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและผู้ที่เพิ่งได้รับวัคซีนไปยังคงต้องระมัดระวังตนเองอย่างมากเช่นเดิม และปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างสม่ำเสมอ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :