"ต้นแบบเลิกจ้าง"รง.น้ำตาลกุมภวาปี"ให้"มากกว่ากฎหมาย

11 มิ.ย. 2564 | 06:09 น.

ดูแลเต็มที่รง.น้ำตาลกุมภวาปีเติมเงินช่วยเหลือพิเศษลูกจ้างประจำ 282 คน โอนสัญญาลูกไร่ไปโรงงานในเครือ หน่วยงานจังหวัดอุดรฯผนึกกำลัง ทั้งอบรมเพิ่มทักษะ หาตำแหน่งงานใหม่ ให้คำปรึกษาทำการเกษตร  

ดูแลเต็มที่รง.น้ำตาลกุมภวาปีเติมเงินช่วยเหลือพิเศษ ลูกจ้างประจำ 282 คน เพิ่มจากขั้นต่ำตามกฎหมาย โอนสัญญาลูกไร่ไปโรงงานในเครือ หน่วยงานจังหวัดอุดรฯผนึกกำลัง ทั้งอบรมเพิ่มทักษะ หาตำแหน่งงานใหม่ ให้คำปรึกษาทำการเกษตร   
    

การประกาศปิดโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี โดยนายฮิเดยุกิ มุราคามิ  ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564  ปิดฉากโรงงานน้ำตาลเก่าแก่กว่า 50 ปี ที่เคยส่งผลผลิตป้อนตลาดญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันดีในนามน้ำตาลทรายตราช้อน(Spoon Brand) และเป็นความภาคภูมิใจของชาวกุมภวาปี โดยเร่งเยียวยาลูกจ้างและลูกไร่โดยด่วนแล้ว 
     "ต้นแบบเลิกจ้าง"รง.น้ำตาลกุมภวาปี"ให้"มากกว่ากฎหมาย

นายชัยวัฒน์  ศรมณี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดอุดรธานี เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ได้รับแจ้งรายละเอียดเป็นเอกสารเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางจังหวัดอุดรธานีโดย นายจำรัส กังน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยสำนักงานสวัสดิการและคุ้มแรงงานจังหวัด และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานทั้ง 5 หน่วย และหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร หน่วยงานข้างเคียง ได้เข้าไปจัดการให้การช่วยเหลือลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีแล้ว
      

ทั้งนี้ได้รับการชี้แจงรายละเอียดว่า ลูกจ้างของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี มีทั้งหมดจำนวน 374 คน แยกเป็นลูกจ้างประจำ 282 คนม   ซึ่งได้แจ้งความสมัครใจเข้าร่วมในโครงการ”มิราอิ”(MIRAI) หรือโครงการจากกันด้วยดีสู่อนาคตใหม่ นอกจากที่จะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายจำนวนหนึ่งแล้ว ทางโรงงานจะจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษอีกส่วนหนึ่ง ที่ลูกจ้างประจำแต่ละคนจะได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษดังกล่าวแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอายุงานของแต่ละคน (ตามตารางที่แนบมาให้) 
    

อีกส่วนหนึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราวเฉพาะตามฤดูกาลก่อนเปิดฤดูกาลหีบอ้อยอีก 92 คน  เป็นลูกจ้างชั่วคราว 2 เดือนก่อนเปิดฤดูหีบอ้อย ให้เข้ามาดูแลซ่อมแซมเครื่องจักรและระบบการทำงานในกระบวนการผลิต ก่อนถึงฤดูกาลเปิดหีบอ้อย 2 เดือน ที่เป็นแรงงานทักษะเชี่ยวชาญ ก็จะได้รับเงินชดเชยค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน ซึ่งกรณีนี้เป็นไปตามกฎฆมาย    
"ต้นแบบเลิกจ้าง"รง.น้ำตาลกุมภวาปี"ให้"มากกว่ากฎหมาย  

   

 

"ต้นแบบเลิกจ้าง"รง.น้ำตาลกุมภวาปี"ให้"มากกว่ากฎหมาย

ส่วนการช่วยเหลือลูกจ้างโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ทุกฝ่าย ทั้งจังหวัดร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานทั้ง 5 หน่วยงานได้แก่ สนง.แรงงานจังหวัด สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สนง.ประกันสังคม สนง.จัดหางานจังหวัด สนง.พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด ได้เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือดูแล ให้ลูกจ้างได้รับการชดเชยตามกฎหมายและเป็นธรรม 
    

รวมทั้งช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แก่ลูกจ้างดังกล่าว ให้สามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้ เช่น การฟื้นฟูฝึกฝนอาชีพ การจัดหาตำแหน่งงานใหม่ ฯลฯ หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตร คือ สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัด สนง.เกษตรจังหวัด สนง.สหกรณ์จังหวัด เข้ามาช่วยเหลือให้การปรึกษาด้านอาชีพการเกษตร โดยเฉพาะในกรณีของสหกรณ์ออมทรัพย์ฯลฯ และหน่วยงานข้างเคียง ได้ระดมให้การช่วยเหลือแก่ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการปิดกิจการของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีดังกล่าวอย่างเต็มที่  
    

ส่วนชาวไร่อ้อยที่ทำสัญญาซื้อ-ขายไว้กับโรงงานน้ำตาลกุมภภวาปีทุกราย  ทางโรงงานเกษตรผล ซึ่งเป็นโรงงานที่อยู่ในเครือเดียวกัน จะเป็นผู้รับผิดชอบสัญญาซื้อ-ขายดังกล่าว เนื่องจากว่าเป็นโรงงานน้ำตาลขนาดใหญ่และกำลังมีการก่อสร้างขยายโรงงานอยู่ 
             

 “ถือว่าในกรณีของโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทางบริษัทแม่และในเครือได้แก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างรับผิดชอบต่อลูกจ้างทั้งหมดทุกคน ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ประกอบการที่เมื่อเกิดปัญหาก็ปิดกิจการหนีความรับผิดชอบไปเลย” นายชัยวัฒน์ฯกล่าว 
    

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่างจากการเลิกกิจการส่วนใหญ่โดยเฉพาะช่วงนี้ที่เผชิญการระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ส่วนใหญ่ลูกจ้างจะได้รับการชดเชยเพียงขั้นต่ำตามกฎหมาย และกว่าจะได้รับก็มักมีเงื่อนไขปลีกย่อยทำล่าช้ายืดเยื้อ หรือไม่เต็มจำนวน และบางรายไม่สามารถจ่ายได้ตามกฎหมาย จนเป็นข้อพิพาทแรงงาน
             
 

"ต้นแบบเลิกจ้าง"รง.น้ำตาลกุมภวาปี"ให้"มากกว่ากฎหมาย

มีข้อมูลจากศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี ในพื้นที่ อ.กุมภวาปี นอกจากโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีแล้ว  ยังมีโรงงานน้ำตาลเกษตรผล ซึ่งเป็นโรงงานน้ำตาลในเครือเดียวกัน โดยกิจการโรงงานน้ำตาล เป็นสิ่งที่ชาวกุมภวาปีและจังหวัดอุดรธานี มีความภาคภูมิใจ สำหรับโรงงานน้ำตาลกุมภวาปีนี้ เปิดดำเนินการผลิตน้ำตาลทรายขาวมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี 
           

ตลอดระยะเวลาการดำเนินการ มีการขายกิจการต่อไปให้กับบริษัทและหน่วยงานของรัฐหลายครั้ง กระทั่้งมาอยู่ใต้การดูแลของ บริษัท บุญเกื้ออุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งต่อมาก็ได้ขายกิจการให้กลุ่มบริษัมมิตซุย  ซูการ์ จำกัด  เมื่อปี 2517 และเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท น้ำตาลกุมภวาปี จำกัด หรือ  KP Sugar Group ผลิตน้ำตาลทรายภายใต้ตราช้อน หรือ SPOON    ซึ่งผลผลิตน้ำตาลกว่า 80%   ถูกส่งป้อนให้ตลาดน้ำตาลของประเทศญี่ปุ่น จนเป็นที่รู้จักกันดีในประเทศญี่ปุ่น 
             

ปี 2561 บริษัท มิตซุย ซูการ์ จำกัด จับมือกับ บริษัท โทเร อินดัสตรี้ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น  โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายองค์กรของประเทศญี่ปุ่น ระดมทุนกว่า 1,700 ล้านบาท ก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำตาลเซลลูโลสจากอ้อยแห่งแรกของโลก ภายใต้ชื่อว่า บริษัท เซลลูซิก ไบโอแมส เทคโนโลยี่ จำกัด ขึ้นภายในบริเวณเดียวกันกับพื้นที่โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง