ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

10 มิ.ย. 2564 | 23:30 น.

ครัวเรือนไทยหลังเจอโควิดระลอก 3 หนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

ผลสำรวจหนี้สินครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในกลุ่มเปราะบางที่มีสัดส่วน22.1% ซึ่งเพิ่มเป็นดับเบิ้ล จาก 10.8%เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา    ในแง่ของสัดส่วนหนี้ต่อรายได้(DSR) ที่อยู่ในช่วง 41-50%ซึ่งเป็นรายที่ปริ่มเกณฑ์นั้นหลังเจอการระบาดของโควิดระลอก 3 ทำให้สัดส่วนกลุ่มที่หนี้เกิน 50%เพิ่มขึ้นมาที่เกือบ 40%

ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจสถานการณ์หนี้สินของภาคครัวเรือนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 300ตัวอย่าง  โดยนางสาวธัญญลักษณ์  วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า   สัญญาณหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น   หลังจากเกิดการระบาดของโควิดรอบ 3  โดยพบว่า สถานการณ์หนี้ ถดถอยลงหลายส่วน  เช่น  บัญชีสินเชื่อต่อรายเพิ่มขึ้น ,ภาระหนี้ต่อรายได้หรือ DSRปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคมอยู่ที่  42.8% เพิ่มเป็น 46.9%  ในความหมายคือ รายได้ 100บาท จะต้องจัดสรรเป็นภาระจ่ายหนี้ทั้งเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยเกือบ 50% ซึ่งกดดันรายได้ที่ไม่ปกติอยู่แล้ว เนื่องจากต้องเผชิญปัญหาถูกลดชั่วโมงการทำงานลง หรือรายได้ปรับลดลง  แม้ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือต่างๆก็ตาม

ขณะเดียวกันในเดือนมิถุนายนยังพบว่ามีสัดส่วนผู้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่ม 39%  แต่ในส่วนที่ยังไม่เข้ามาตรการประมาณ 61%นั้น เนื่องจากตระหนักในความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนของรายได้ โดยกว่าครึ่งยังสนใจจะเข้ามาตรการช่วยเหลือทางการเงินในอนาคต

  ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

ที่สำคัญเมื่อพิจารณาหนี้สินภาคครัวเรือนมีความกังวลเพิ่มขึ้นในกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มที่ภาวะการเงินกำลังวิกฤติ) ซึ่งมี 3เงื่อนไข ได้แก่ รายได้ลดลง ,ค่าใช้จ่ายทรงตัว หรือปรับเพิ่มขึ้นและสัดส่วนหนี้ต่อรายได้(DSR)มากกว่า 50%  โดยพบว่า กลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มที่ภาวะการเงินกำลังวิกฤติ มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 22.1% จาก 10.8% เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตาม รายที่ปริ่มเกณฑ์ ในแง่ของสัดส่วนหนี้ต่อรายได้(DSR) ซึ่งอยู่ในช่วง 41-50% หมายถึงเดิมทีมีภาระหนี้ 41-50 บาทต่อรายได้ 100บาทในแต่ละเดือน  หลังจากเจอสถานการณ์โควิดระบาดรอบ 3  ไหลเพิ่มขึ้นเป็นกลุ่มที่มีหนี้เกิน 50%ทำให้สัดส่วนกลุ่มที่หนี้เกิน 50%เพิ่มขึ้นมาที่เกือบ 40%

ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

มองไปข้างหน้า  เนื่องจากความไม่แน่นอนที่กระทบรายได้และค่าครองชีพสูงขึ้น ซึ่งลูกหนี้มีความกังวลต่อสถานการณ์หนี้เพิ่มขึ้น  เห็นได้จากผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าหนี้ของตัวเองแย่ลงเดิมอยู่ที่ 7.8% ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาที่ เกือบ 27% ซึ่งนอกจากรายได้ยังกังวลต่อค่าครองชีพ การตกงานและต้องพึ่งหนี้นอกระบบ

สำหรับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐหลายส่วนทั้ง สภาพคล่อง มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน ซึ่งจากสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลงทำให้สัดส่วนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือสภาพคล่องเฉพาะหน้า เพิ่มขึ้น 46.6%  รองลงมาเป็นความต้องการให้ช่วยเหลือการทำงานเพื่อให้มีรายได้  

ขณะที่ประเด็นดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับเรื่องอัตราการเร่งฉีดวัคซีน หรือการกลับมาบริโภค จับจ่ายใช้สอย และทยอยเปิดประเทศซึ่งจะทำให้การแก้ไขสถานการณ์หนี้มีความยั่งยืนขึ้น

นางสาวธัญญลักษณ์  วัชระชัยสุรพล ยังกล่าวว่า  ผลสำรวจในรอบไตรมาสสองของปีนี้   ยังประเมินกรณีสถานการณ์เร่งฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมาย   ร้านค้ากลับมาเปิด  เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  เชื่อว่ามาตรการที่อยู่อาจจะช่วยลูกหนี้ได้  เพียงแต่ต้องปรับปรุงในทางปฏิบัติเพื่อให้โครงการต่างๆมีความคล่องตัวและเบิกใช้ได้ดีขึ้น  ขณะที่โจทย์ของธนาคารพาณิชย์จะเน้นเตรียมสภาพคล่องรองรับธุรกิจแทนการแก้หนี้ แต่หากเกิดการฉีดวัคซีนชะลอลง  หรือกลายพันธุ์ของไวรัสสัญญาณลบอาจทำให้ทางการต้องพิจารณา มาตรการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม

ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด

ขณะเดียวกัน สถานการณ์หนี้ครัวเรือนยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มเล็กน้อยคาดว่าสิ้นปีจะแตะระดับ 90%จาก 89.3%เมื่อสิ้นปีก่อนและคงจะเป็นประเด็นที่ต้องกลับมาหารืออย่างจริงจัง หลังผ่านสถานการณ์โควิดหรือเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว

ในส่วนของคุณภาพหนี้ของธนาคารพาณิชย์ แนวโน้มยังปรับเพิ่มขึ้นแต่ไม่รุนแรง คาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่  3.20-3.50% ซึ่งขยับเพิ่มขึ้นจาก 3.12%เมื่อสิ้นปีก่อน ส่วนใหญ่ยังได้อานิสงค์จากมาตรการภาครัฐ โดยเฉพาะการผ่อนคลายการจัดชั้นหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)  แต่เอ็นพีแอลยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามใน 1-3ปีข้างหน้าแม้ว่าเศรษฐกิจจะมีโมเมนตั้มดีขึ้นก็ตาม

ไตรมาส2ของปี2564 ครัวเรือนไทยหนี้และค่าใช้จ่ายเพิ่ม รายได้ลด