อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดตลาดในประเทศ “แข็งค่า”ที่ระดับ 31.36 บาท/ดอลลาร์ฯ

14 พ.ค. 2564 | 11:53 น.

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลง

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 31.36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ “แข็งค่า”ขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 31.39 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า  อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงหลังรองประธานเฟดออกมาย้ำสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างต่อเนื่อง และมองว่า ภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ จะเป็นเพียงภาวะชั่วคราว  

 

สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์ในวันนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยที่ 2,259.06 ล้านบาท และ 2,948 ล้านบาทตามลำดับ 

 

ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนจากข้อมูลของธนาคาร 10 แห่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 โดยธปท. อยู่ที่ -0.46 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 3.91 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)

 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้า คาดไว้ที่ 31.15-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ  โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ข้อมูลจีดีพีไตรมาสที่ 1/64 และข้อมูลการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทย ตลอดจนสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดนิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟีย และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และบันทึกการประชุมเฟด (27-28 เม.ย.) นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูล PMI ของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น (เบื้องต้น) เดือนพ.ค. รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR เดือนพ.ค. และข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนเม.ย. ด้วยเช่นกัน

ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนจากข้อมูลของธนาคาร 10 แห่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 14 พฤษภาคม 2564 โดยธปท. อยู่ที่ -0.46 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 3.91 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)

 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้า คาดไว้ที่ 31.15-31.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ  โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ข้อมูลจีดีพีไตรมาสที่ 1/64 และข้อมูลการส่งออกเดือนเม.ย. ของไทย ตลอดจนสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดนิวยอร์ก ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดฟิลาเดลเฟีย และดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. และบันทึกการประชุมเฟด (27-28 เม.ย.) นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูล PMI ของสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น (เบื้องต้น) เดือนพ.ค. รวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR เดือนพ.ค. และข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนเม.ย. ด้วยเช่นกัน