เช็กด่วน ขึ้นรถเมล์ 2 สายนี้ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

02 พ.ค. 2564 | 09:19 น.

ขสมก.เปิดไทม์ไลน์พนักงานติดโควิดเพิ่ม 2 ราย หลังเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด-ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ

รายงานข่าวจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 พนักงานขับรถโดยสารปรับอากาศ สาย 132 (ปฏิบัติหน้าที่ขับรถโดยสารช่วงกะบ่าย) เพศชาย อายุ 59 ปี ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19)  ณ โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์  โดยแพทย์ได้ให้พนักงานพักอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อกักตัวและรอผลการตรวจ  ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 แพทย์ได้แจ้งให้ทราบว่า พนักงานคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์

 

 

สำหรับไทม์ไลน์ของพนักงานติดเชื้อโควิด สรุปได้ ดังนี้

     วันที่ 21 เมษายน 2564 พนักงานไปช่วยปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 206 หมายเลข 3 – 44056 ตั้งแต่เวลา 14.15 – 23.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที โดยพนักงานเริ่มมีอาการเจ็บคอ

     วันที่ 22 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุด เวลา 16.00 น. เดินทางไปที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ เพื่อรักษาอาการเจ็บคอ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 18.00 น. ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่าพนักงานเป็นไข้หวัด และให้พนักงานหยุดงาน พักผ่อนอยู่ที่บ้านเป็นเวลา 3 วัน โดยพนักงานเริ่มมีไข้ ภายหลังกลับจากโรงพยาบาล

     วันที่ 23 – 24 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

     วันที่ 25 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

     วันที่ 26 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

     วันที่ 27 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุด เวลา 16.00 น. เดินทางไปที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ เพื่อรักษาอาการไข้ และเดินทางกลับบ้าน ในเวลา 18.00 น.

วันที่ 28 – 29 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อนอยู่ที่บ้าน

     วันที่ 30 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อน เวลา 05.00 น. เดินทางไปที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ซึ่งแพทย์ได้ให้พนักงานพักอยู่ที่โรงพยาบาล เพื่อกักตัวและรอผลการตรวจ

     วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ แจ้งให้ทราบว่า พนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์

 

ทั้งนี้พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงกะบ่าย ซึ่งเป็นกะสุดท้ายของแต่ละวัน จึงไม่มีพนักงานขับรถคนใดนำรถไปขับต่อ อีกทั้ง เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้ องค์การได้พักการใช้งานรถโดยสารปรับอากาศ สาย 206 จำนวน 1 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ ได้แก่ รถโดยสารหมายเลข 3 – 44056 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร  ขณะเดียวกันได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานเก็บค่าโดยสาร จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ จึงให้พนักงานเก็บค่าโดยสารดังกล่าวหยุดงานไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หากได้ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

เช็กด่วน ขึ้นรถเมล์ 2 สายนี้ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

รายงานข่าวจากขสมก. แจ้งว่า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 พนักงานเก็บค่าโดยสารรถปรับอากาศ สาย 509 (ปฏิบัติหน้าที่เก็บค่าโดยสารช่วงกะบ่าย) เพศหญิง อายุ 45 ปี ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ แจ้งให้ทราบว่าพนักงานคนดังกล่าวเป็นผู้ติดเชื้อฯ จึงให้อยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาลมารับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลบางขุนเทียน ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2564

 

 

สำหรับไทม์ไลน์ของพนักงานสรุปได้ ดังนี้

     วันที่ 20 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56119 ตั้งแต่เวลา 13.40 – 22.20 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 21 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56019 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 21.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 22 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56115 ตั้งแต่เวลา 13.30 – 22.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที โดยพนักงาน

ได้รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับเจ้าหน้าที่งานบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อฯ ตามที่องค์การ

ได้ประกาศ เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564

วันที่ 23 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56108 ตั้งแต่เวลา 14.20 – 22.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 24 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56108 ตั้งแต่เวลา 13.30 – 22.40 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 25 เมษายน 2564 วันหยุดประจำสัปดาห์ พนักงานพักอาศัยอยู่ที่บ้าน

     วันที่ 26 เมษายน 2564 พนักงานลาหยุดพักผ่อน เนื่องจากมีไข้

     วันที่ 27 เมษายน 2564 เวลา 07.00 น. พนักงานและสามีของพนักงาน ได้เดินทางไปที่โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เพื่อเข้ารับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) หลังจากการตรวจเสร็จสิ้น ได้มาปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข 6 – 56096 ตั้งแต่เวลา 14.50 – 23.00 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 28 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56043 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 23.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

     วันที่ 29 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56108 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 23.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

      วันที่ 30 เมษายน 2564 ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 หมายเลข

6 – 56106 ตั้งแต่เวลา 15.00 – 23.10 น. หลังเลิกงานได้กลับที่พักอาศัยทันที

      วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้แจ้งให้ทราบว่า พนักงานเป็นผู้ติดเชื้อฯ แต่สามีของพนักงานไม่พบเชื้อ จึงให้พนักงานอยู่ที่บ้าน เพื่อรอรถพยาบาล

มารับไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลบางขุนเทียน

      วันที่ 2 พฤษภาคม 2564 เวลา 11.00 น. เจ้าหน้าที่ฯ นำรถพยาบาลมารับพนักงาน

ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลบางขุนเทียน    

3. พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงกะบ่าย ซึ่งเป็นกะสุดท้ายของแต่ละวัน จึงไม่มีพนักงานขับรถคนใดนำรถไปขับต่อ อีกทั้ง เมื่อพนักงานขับรถโดยสารนำรถกลับเข้าอู่ในแต่ละรอบ จะมีการฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารทันทีด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ 70 % จึงมั่นใจได้ว่ารถโดยสารขององค์การมีความสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) นอกจากนี้ องค์การ

ได้พักการใช้งานรถโดยสารปรับอากาศ สาย 509 จำนวน 7 คัน ที่พนักงานผู้ติดเชื้อได้ปฏิบัติหน้าที่

ได้แก่ รถโดยสารหมายเลข 6 – 56119, 6 – 56019, 6 – 56115, 6 – 56108, 6 – 56096, 6 – 56043

และ 6 – 56106 เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อทำการฉีดพ่น ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในรถ รวมถึง อู่จอดรถและท่าปล่อยรถโดยสาร

4. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้มีการตรวจสอบ พบว่าพนักงานขับรถโดยสาร จำนวน 1 คน ปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสารคันเดียวกับพนักงานผู้ติดเชื้อ คือ สามีของพนักงาน ซึ่งผลการตรวจปรากฏว่าไม่พบเชื้อฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างกักตัวและตรวจหาเชื้อฯ รอบที่ 2

 

เช็กด่วน ขึ้นรถเมล์ 2 สายนี้ เสี่ยงติดเชื้อโควิด-19

อย่างไรก็ตาม ขสมก.ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) อย่างเคร่งครัด ได้แก่ การสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะปฏิบัติหน้าที่บนรถโดยสาร การล้างทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์  การฉีดพ่นทำความสะอาดภายในรถโดยสารด้วยแอลกอฮอล์ ทั้งก่อนและหลังนำรถออกวิ่งให้บริการ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเดินทาง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง