พนักงานการบินไทย หืดจับชิงที่นั่ง 1.8 พันตำแหน่งคัดเข้าโครงสร้างใหม่ครั้งที่2

13 เม.ย. 2564 | 04:25 น.

การบินไทยเดินหน้ากระบวนการคัดเลือกพนักงานเข้าโครงสร้างองค์กรใหม่ ครั้งที่ 2 เปิดทางพนักงาน 4,250 คน ยื่นความจำนง 12-16 เม.ย.นี้ เผยมีตำแหน่งรับสมัครเพียง 1,851 ตำแหน่งเท่านั้นทั้งชั่วคราว-ถาวรพนักงาน 2,399 คนหมดสิทธิ์ไปต่อ

หลังจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศผลพนักงานที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองสู่โครงสร้างองค์กรใหม่ 2564  ครั้งที่1 ( RELAUNCH ครั้งที่1)เมื่อวันที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีพนักงานที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 9,304 คนจากจำนวนพนักงานที่แสดงความจำนงเข้าร่วมทั้งสิ้น 13,554 คน 

ดังนั้นพนักงานที่เหลืออีก 4,250 คน ซึ่ง ณ ปัจจุบันถูกจัดอยู่ใน “กลุ่มฟ้าใหม่” ที่ยังต้องการไปต่อกับการบินไทย จะต้องยื่นแสดงความจำนงอีกครั้งเพื่อเข้าสู่กระบวน การกลั่นกรองเข้าสู่โครงสร้างองค์กรใหม่2564 ครั้งที่2 (RELAUNCH ครั้งที่2)

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ“ฐานเศรษฐกิจ” ว่าตั้งแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 12 เมษายน 2564 จนถึงเวลา 23.59 น. ของวันที่ 16 เมษายน 2564 การบินไทยจะให้พนักงานจำนวน 4,250 คนที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรก เข้ามายื่นแสดงความจำนงรับเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองในครั้งที่ 2

โดยจะมีการเปิดตำแหน่งให้ยื่นความจำนงรวมจำนวนราว 1,851 ตำแหน่ง แบ่งเป็นตำแหน่งงานถาวรจำนวน 1,630 ตำแหน่ง และตำแหน่งงานชั่วคราวจำนวน 221 ตำแหน่ง

เนื่องจากเป็นตำแหน่งงานที่ยังว่างอยู่จากกรณีที่มีพนักงานที่ผ่านการกลั่นกรองครั้งที่ 1 สละสิทธิ์ ตำแหน่งที่ไม่มีคนสมัครตำแหน่งที่ยังไม่มีผู้เหมาะสม รวมถึงการเปิดตำแหน่งงานใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงสร้างองค์กรใหม่

อาทิ กฎหมาย,การขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจ(Chief Transformation Officer - CTO) ,ทำแผนฟื้นฟู,สร้างความรักองค์กร) และตำแหน่งที่มีการหยุดระยะยาว(Long Leave without Pay)โดยไม่รับค่าตอบแทนที่จะมีทั้งตำแหน่งชั่วคราว 1-3 ปี และตำแหน่งถาวร

พนักงานการบินไทย หืดจับชิงที่นั่ง 1.8 พันตำแหน่งคัดเข้าโครงสร้างใหม่ครั้งที่2

 

ทั้งนี้การบินไทยเปิดให้พนักงานสามารถแสดงความจำนงเข้าสู่กระบวนกลั่นกรองฯ ได้ในตำแหน่งงานถาวรและตำแหน่งงานชั่วคราว หรืออย่างใดอย่างหนึ่งได้สูงสุด 4 ตำแหน่ง

 2 ตำแหน่งสำหรับตำแหน่งงานถาวรและ 2 ตำแหน่งสำหรับงานชั่วคราว ซึ่งเป็นตำแหน่งในสายงานเดิมหรือสายงานอื่นได้ แต่จะได้รับการคัดเลือกเพียงตำแหน่งเดียว ซึ่งจะมีการประกาศผลในวันที่ 28 เมษายนนี้

ขั้นตอนการฟื้นฟู

อย่างไรก็ตามด้วยจำนวนตำแหน่งที่เปิดรับสมัครราว1,851 ตำแหน่ง จากจำนวนพนัก งาน4,250 คนที่แสดงความจำนงเข้ารับการกลั่นกรองในรอบที่1 แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ทำให้จะยังมีพนักงานราว2,399 คนที่จะไม่ได้ไปต่อกับการบินไทยตามโครงสร้างองค์กรใหม่

พนักงานเหล่านี้จะอีกทางเลือกในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร (MSP B  และ MSP C ) Block 4 ที่ได้ขยายเวลาออกเข้าร่วมโครงการออกไปเป็นวันที่ 12-29 เมษายน2564

พนักงานที่สมัครเข้าโครงการ MSP B จะจ่ายชดเชยแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน 12 งวด กำหนดง่ายงวดแรกเดือนกันยายนนี้  ส่วนกำหนดเวลาการจ่ายเงินบำเหน็จของ MSP B จะเริ่มจ่ายในเดือนมิถุนายน 2564 โดยผ่อนชำระ 4 งวด

ส่วนโครงการMSP C จะจ่ายชดเชยแบ่งจ่ายรายเดือน 14 งวด งดแรกจ่ายในเดือนธันวาคม2564 ส่วนการจ่ายเงินบำเหน็จจะเริ่มจ่ายเดือนกันยายน 2564 ผ่อนชำระ 4 งวดเช่นเดียวกัน 

ขณะที่พนักงานที่ได้รับการกลั่นกรองในรอบที่แรก จำนวน 9,304 คนพนักงานจะเริ่มเข้าทำงานตามโครงสร้างองค์กรใหม่และสภาพการจ้างใหม่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภา คมนี้โดยนับอายุงานต่อเนื่อง 

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาพนักงานการบินไทย ต่างรู้สึกหนักใจ เพราะในกระบวนการเปิดให้พนักงานมานยื่นความจำนงคัดเลือกพนักงานเข้าโครงสร้างองค์กรใหม่ ก็มีการวิ่งเต้นมีชื่อรอไว้แล้วว่าจะได้ไปต่อก่อนการคัดเลือกส่วนหนึ่ง

ประกอบกับตำแหน่งงานที่มีจำกัดก็ทำให้การแข่งขันสูงมาก แต่พนักงานที่อยากไปต่อกับการบินไทย ก็ต้องยอมลุ้นที่จะยื่นสมัครคัดเลือกต่อ

ส่วนคนที่ไม่สมัคร หรือไม่แสดงความจำนงใดๆ ก็ยังคงรับเงินเดือนเท่าเดิม ราว600คน รอจนกว่าจะเจรจาเสร็จ ได้ทำงานต่อ หรือไม่ ก็จ้างออกด้วยอัตราเงินเดิม สภาพการจ้างเดิม  รอสหภาพฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 

ศาลแรงงานกว่าจะได้เงินชดเชยต้องรอให้แผนฟื้นฟูเสร็จสิ้นใช้เวลา5+1+1= 7ปี ซึ่งการเปลี่ยนสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นต้องตีความว่าจะสามารถเอาผิดผู้บริหารแผนฟื้นฟูได้ เพราะผู้บริหารทำตามแผนที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง(ศาลอนุมัติแผน)รวมทั้งต้องฟ้องสู้เอาผิดผู้บริหารต้องผ่าน3ศาล ศาลชั้นต้น ศาลอุธรณ์ ศาลฎีกา รวม8ปี

อย่างไรก็ตามหลังจากการบินไทย จัดประ ชุมเจ้าหนี้ในวันที่12 พ.ค.นี้ หากเจ้าหนี้สนับสนุนแผนฟื้นฟูการบินไทย การบินไทยจะมีการก่อหนี้ตามแผน ไม่น้อยกว่า 50,000 ล้านบาทช่วง2-3ปี ด้วยการขายหุ้นเพิ่มทุนให้นักลงทุนรายใหม่/ผู้ถือหุ้นเดิม25,000 ล้านบาท ขอสนับสนุนสินเชื่อใหม่จากสถาบันการเงิน/เจ้าหนี้การบินไทยราว25,000ล้านบาท 

สำหรับเงินที่ได้จะถูกนำมาใช้เป็นสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจการบินซึ่งการบินไทยมีแผนจะทยอยกลับมาเปิดทำการบินระหว่างประเทศ ตามนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล และการนำเงินมาจ่ายพนักงานที่เข้าร่วมโครงการร่วมใจเสียสละเพื่อองค์กร ราว 3,000 คน(ก่อนประกาศผลการคัดเลือกพนักงานรอบที่1)  เป็นกลุ่มแรก

ที่มา: หน้า 1 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,670 วันที่ 15 - 17 เมษายน พ.ศ. 2564

ข่าวที่เกี่ยวข้อง: