5 เทรนด์เทคโนโลยี ที่องค์กรต้องรู้เพื่อรับมือสถานการณ์(1)

11 เม.ย. 2564 | 07:50 น.

5 เทรนด์เทคโนโลยี ที่องค์กรต้องรู้เพื่อรับมือสถานการณ์(1) : บทความ โดย... เอกภาวิน สุขอนันต์ ผู้จัดการวีเอ็มแวร์ประจำประเทศไทย หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3,669 หน้า 5 วันที่ 11 - 14 เมษายน 2564

แน่นอนว่าทุกๆ ปี แต่ละองค์กรจะต้องมีแผนการทำธุรกิจ ซึ่งในปี 2563 ที่ผ่านมา แต่แผนที่วางไว้กลับไม่สามารถนำมาใช้ได้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกันองค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ประกาศใช้แผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็วและพักแผนงานใหม่ๆ ไว้ก่อน ซึ่งบางคนอาจคิดว่าปีที่ผ่านมาไม่ได้เป็นปีที่จะเห็นได้เทคโนโลยีเกิดใหม่ด้วยซํ้า แต่แท้จริงแล้วเรากลับได้เห็นองค์กรต่างๆ รับมือความท้า ทายที่เกิดขึ้นด้วยการปรับใช้โซลูชันหลากหลาย

ข้อมูลต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งได้มาจากการสังเกตการณ์ในปี 2563 และการคาดการณ์ทิศทางของเทคโนโลยีระดับองค์กร 5 เทรนด์ในปี 2564

1. เทคโนโลยี Edge กลายเป็นหน้าด่านสำหรับนวัตกรรมใหม่

สิ่งอัศจรรย์ที่กำลังเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี Edge ซึ่งได้ปรากฏให้เราเห็นอย่างชัดเจนในปี 2563 ที่ผ่านมา ตัวอย่างหนึ่งคือการที่ United Overseas Bank (UOB) ซึ่งเป็นธนาคารชั้นนำในเอเชียก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในองค์กรที่เร็วที่สุดในอาเซียน สามารถติดตั้งเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยให้กับเวอร์ชวลเดสก์ท็อป (secure virtual desktop) สำหรับทีมนักพัฒนาไอที 3,000 คน โดยดำเนินการเสร็จในเวลาเพียง 21 วัน จากปกติที่ต้องใช้เวลาถึงสามเดือน

หลายองค์กรในภูมิภาคนี้กำลังลงทุนในเทคโนโลยี Edge ที่มีอยู่แล้ว เพื่อรับมือและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปีหน้าเราจะยังคงเห็นการลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี Edge อย่างต่อเนื่อง

ความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของเครือข่ายส่งผลโดยตรงต่อประสบการณ์ของพนักงานและลูกค้า ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การเปิดตัว SD-WAN ที่ขยายขอบเขตในเทคโนโลยี Edge ให้กว้างขึ้นไปถึงระดับโฮมออฟฟิศ ด้วย SaaS-delivered solutions (รวมถึงฮาร์ดแวร์) อย่างง่าย จะช่วยปรับปรุงความปลอดภัยและประสบการณ์ของผู้ใช้ ให้ดียิ่งขึ้นในทุกที่ที่พนักงานเลือกทำงาน และนี่จะเป็นจุดเริ่มต้นเทรนด์ด้วยโซลูชั่นเหล่านี้เป็นบรรทัดฐาน

นอกจากนี้ ผมคาดหวังว่าองค์กรต่างๆ จะนำโซลูชัน Secure Access Service Edge (SASE) มาใช้มากขึ้น เนื่องจากในอนาคตเราจะพึ่งพาแอปพลิเคชันและบริการผ่านโครงสร้างพื้นฐานอันเนื่องมาจากการทำงานของซอฟต์แวร์ การ deployed และการจัดการเพื่ออัปเดตซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนากระบวนการจัดซื้อแบบเดิม องค์กรต่างๆ จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพและความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

เทคโนโลยี Edge กำลังถูกเพิ่มความชาญฉลาดให้มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความสามารถในการเรียนรู้ ตอบสนองและสามารถปรับใช้ให้เหมาะสมได้อย่างเรียลไทม์ นอกจากนี้เรายังเห็นโอกาสใหม่ๆ ในการรวมโครงสร้างพื้นฐานเข้าด้วยกัน, ลดจำนวน appliances เฉพาะที่ต้องใช้เพื่อตอบสนองความต้องการด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่น่าตื่นเต้นเนื่องจากเป็นการเปิดประตูสู่โซลูชันอันคุ้มค่าที่นับว่าเป็นการปรับปรุงให้ดีขึ้นไปโดยอัตโนมัติ, ทั้งด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนไปในคราวเดียวกัน

 

2. การกระจายอำนาจของ Machine Learning

เราเริ่มเห็นการนำ Federated Machine Learning (FML) มาใช้งานในกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในทุกอุตสาหกรรม องค์กรต่างๆ กำลังคิดค้นกระบวนการที่จะทำให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาขับเคลื่อนการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกับการใช้ประโยชน์จากการตามรอยต้นแบบเทคโนโลยีที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

 

5 เทรนด์เทคโนโลยี ที่องค์กรต้องรู้เพื่อรับมือสถานการณ์(1)

 

ด้วยความสามารถในการประมวลผลได้ทุกที่ การเรียนรู้แบบรวมศูนย์ (Federated Learning) ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถสอนโมเดล ML โดยใช้ชุดข้อมูลที่พวกเขามี โปรเจกโอเพนซอร์ส เช่น FATE และ Kubeflow กำลังได้รับความสนใจ ผมคาดว่าการเกิดขึ้นของแอปพลิเคชันที่ใช้งานง่ายบนแพลตฟอร์มเหล่านี้จะช่วยเร่งให้เกิดการนำไปใช้

จากการนำ ML มาใช้อย่างต่อเนื่องในภูมิภาคนี้ เป็นตัวเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนโซลูชันแบบครบวงจรที่ต้องการสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ “ผู้ใช้งานทุกคน” องค์กรเหล่านี้จะได้รับประโยชน์จากการใช้ ML โดยไม่ต้องลงทุนสูงสร้างทีมวิทยาการข้อมูล (data science teams) - อันเป็นเรื่องยากที่ท้าทายขององค์กร เนื่องจากปัจจุบันยังขาดแคลนในส่วนของนักวิทยาการข้อมูล

 

3. แรงหนุนต่ออายุโครงการ Workplace 2.0 

จากการแพร่ระบาดของโควิดทำ ให้เกิดแรงผลักดันมากมายเกี่ยวกับ Workplace 2.0 ขึ้นอีกครั้ง 

AR และ VR กำลังได้รับความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาใช้ฝีกอบรมพนักงาน การนำ AR มาใช้ในการนำทาง (เช่น นำมาใช้ค้นหาที่ตั้งสาขาในองค์กร) และในการประชุมออนไลน์ ถึงแม้จะยังต้องการการผลักดันให้เกิดการยอมรับและมีการนำหลักการนี้ไปประยุกต้ใช้มากขึ้น ในปี 2564 เราจะเห็นได้ว่ามีการนำ AR และ VR มาใช้มากขึ้นอันเนื่องมาจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีระดับองค์กรที่มุ่งเน้นในเรื่องของความปลอดภัย, ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และโซลูชันต่างๆ เพื่อการบริหารจัดการอุปกรณ์

ช่องว่างที่ใหญ่ที่สุดสำหรับ VR ในความคิดของผมคือ ไม่มี Microsoft PowerPoint ที่รองรับการใช้งาน VR กล่าวอีกนัยหนึ่งในอนาคต หากผมสามารถทำคอนเทนท์ 3 มิติได้อย่างรวดเร็วที่สามารถใช้ใน VR ได้ วันนี้ยังไม่มีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างคอนเทนท์ 3 มิติที่สมบูรณ์ได้ทุกมิติอย่างรวดเร็วที่ใช้ประโยชน์จากภาพพาโนรามา 360 องศา ผ่าน VR ผมหวังว่านี่จะเป็นจุดที่นักพัฒนาเทคโนโลยี AR และ VR จะมุ่งเน้นต่อไปในอนาคต