“อิหร่าน” ประกาศยกเลิกจำกัดพื้นที่ปลูกข้าว

20 มี.ค. 2564 | 09:15 น.

ทูตพาณิชย์ กรุงเตหะราน ส่งสัญญาณเตือนส่งออกไทย หลัง “รัฐบาลอิหร่าน” ประกาศยกเลิกจำกัดพื้นที่ปลูกข้าว  ผวาโดนหั่นเป้านำเข้า

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน  รายงาน ประเทศ อิหร่านยกเลิกประกาศการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าวในปีงบประมาณ 2564  สืบเนื่องจากในปี งบประมาณ 2561 รัฐบาลอิหร่านได้ออกประกาศห้ามปลูกข้าวทั่วประเทศยกเว้นในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำอุดมสมบูรณ์ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศ คือ จังหวัดมาซันดารานและจังหวัด กีลาน ที่ตั้งอยู่ในแถบชายฝั่งตอนใต้ของทะเลสาปแคสเปี้ยน และบางพื้นที่ของจังหวัดคูซิสตานที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิหร่านเท่านั้น

 

เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2564  รัฐบาลได้มีการแก้ไขคำสั่งดังกล่าวพร้อมขยายพื้นที่ปลูกข้าวเป็นการชั่วคราวในจังหวัดที่พบว่ามีน้ำอุดมสมบูรณ์อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้อิหร่านประสบปัญหาเรื่องน้ำและภาวะภัยแล้งมาเป็นเวลากว่า 50 ปี

 

โดยข้อมูลจากหน่วยงานทรัพยากรทางธรรมชาติของอิหร่านระบุว่า อิหร่านจัดเป็นประเทศในภูมิภาคร้อนแห้งของโลก มีปริมาณฝนตกในแต่ละปีค่อนข้างน้อยมีส่วนแบ่งทรัพยากรน้ำของโลกน้อยกว่าร้อยละ 1 อิหร่านมีปริมาณแหล่งน้ำใต้ดินร้อยละ 61.5 โดยปริมาณความต้องการใช้น้ำในประเทศของประชากรอยู่ที่ 82 ล้านคิวบิกเมตรคิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณน้ำจืดสำรองทั้งหมด

 

อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านการทรัพยากรธรรมชาติของอิหร่านได้พยายามแนะนำให้รัฐบาลประกาศใช้ข้อบังคับการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าวมาโดยตลอด โดยได้เสนอให้มีการเพาะปลูกข้าวเฉพาะในจังหวัดที่มีปริมาณน้ำเพียงพอและห้ามการปลูกข้าวในจังหวัดที่มีการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำค่อนข้างมากในการเพาะปลูก เฉลี่ยที่ประมาณเฮกเตอร์(6.25 ไร่) ละ 13,000–17,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่ร้อนแห้งและขาดแคลนน้้าจะสร้างปัญหาและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของประเทศ

 

ด้วยเหตุนี้ในปีงบประมาณ 2021 ซึ่งเป็นปีงบประมาณใหม่ของอิหร่าน (21 มีนาคม 2021–20 มีนาคม 2022) รัฐบาลจึงยกเลิกประกาศการจ้ากัดพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศเนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ซึ่งจ้านวนพื้นที่เพาะปลูกที่จะอนุญาตให้อยู่ในดุลพินิจของศูนย์บริหารจัดการน้ำของจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ

 

 

ชาวนา "อิหร่าน"

 

สถานการณ์ข้าวในปัจจุบัน ชาวอิหร่านมีความเชื่อว่าที่ผลิตได้ในประเทศเป็นข้าวคุณภาพดีเป็นข้าวหอมที่หุงสุกแล้วมีเมล็ดร่วนซุย นุ่มลิ้น ซึ่งเป็นรสชาติที่นิยมของชาวอิหร่าน แต่ทว่าข้าวที่ผลิตได้ในประเทศมีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับข้าวน้าเข้าเพราะมีต้นทุนในการผลิตสูง

 

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ราคาข้าวในตลาดอิหร่านมีการขยายตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ชาวอิหร่านจะมีความต้องการบริโภคข้าวเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่และเทศกาลถือศีลอด คือช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี ซึ่งข้าวถือเป็นอาหารหลักที่ชาวอิหร่านนิยมบริโภคมาก รองจากข้าวสาลี ดังนั้น เพื่ออุดหนุนและชวยเหลือกลุมผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวราคาถูกจากต่างประเทศพร้อมกระจายให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นการรักษาสมดุลด้านปริมาณและราคาข้าวในตลาดอีกทางหนึ่งด้วย

 

จากการสำรวจตลาดขายปลีก และห้างสรรพสินค้าในกรุงเตหะรานของสำนักงานฯ พบว่าปัจจุบันมีข้าวบรรจุถุงของไทย (ข้าวขาว 100เปอร์เซ็นต์เกรด B) ขนาดถุงละ 10 กิโลกรัมวางขายในตลาดในราคาถุงละ 1,250,000 เรียล (ประมาณ 913 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางอิหร่านวันที่ 13 มีนาคม 2021 ที่อัตรา 100 บาท = 136,762 เรียล) ซึ่งทั้งหมดเป็นข้าวที่นำเข้าเพื่อรักษาสมดุลด้านปริมาณและราคาจึงมีการเขียนข้อความบนบรรจุภัณฑ์ว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมสมดุลในตลาดเท่านั้น”

 

โดยข้าวเหล่านี้นำาเข้าโดยหน่วยงาน Government Trading Corporation  หรือที่รู้จักกันในนามว่าหน่วยงาน GTC ของอิหร่านเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตร จีฮัด (Ministry of AgricultureJihad) ซึ่งมีอำนาจในน้าเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จ้าเป็นและขาดแคลนของอิหร่าน รวมทั้งอำนาจในการวางแผนตารางเวลาน้าเข้าและจัดซื้อสินค้าแต่ละชนิดที่จำเป็นในแต่ละปี

 

โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก ในแต่ละปี GTC อาจดำเนินการนำาเข้าสินค้าเองหรือแต่งตั้ง/มอบหมายตัวแทนภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาต เป็นผู้ดำเนินการแทนพร้อมกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกทั่วประเทศ โดยสินค้าที่อยู่ภายใต้ความรับชอบของ GTC ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าควบคุมปริมาณและราคา ได้แก่ แป้งสาลี ข้าว น้ำตาล ไก่สด/แช่แข็ง นมผงสำหรับเด็กทารก กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ข้าวไทยบรรจุถุงดังกล่าวสามารถซื้อหาได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปทุกสาขา เช่น ห้างShahrvand ห้าง Refah ห้าง Chanbo และห้าง Ofoq Kourosh เป็นต้น

 

บทสรุป “อิหร่าน” มีความต้องการบริโภคข้าวปีละประมาณ 3.2 ล้านตัน ในขณะที่ผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณสูงสุด ไม่เกิน 2.2 ล้านตันในแต่ละปี ดังนั้น การประกาศลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวในช่วงปี 2018-2020 จึงท้าให้ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในประเทศลดน้อยลงไปอีก ความจำเป็นในการน้าเข้าข้าวจากต่างประเทศจึงพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์

 

โดยในช่วงปี 2019-2020 มีการคาดการณ์ว่าอิหร่านนำเข้าข้าวสูงถึงปีละประมาณ 1.5 ล้านตันในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เป็นการน้าเข้าข้าวบาสมาติจากอินเดีย การยกเลิกคำสั่งจำกัดพื้นที่เพาะปลูกข้าวในปีนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความพยายามของรัฐบาลอิหร่านที่ต้องการผลักดันการเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศท่ามกลางสภาพภูมิอากาศเป็นใจ โดยตั้งความหวังไว้ว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศที่มีอยู่จ้านวน 840,000 เฮกตาร์ จะถูกใช้ประโยชน์สูงสุดอีกครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม กว่าที่การเพาะปลูกในฤดูกาลผลิตปี 2021 จะให้ผลผลิต อิหร่านยังมีความจำเป็นในการน้าเข้าข้าวจากต่างประเทศอีกเป็นจ้านวนมากเพื่อรักษาสมดุลภายในประเทศและความมั่นคงด้านอาหาร โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณสูงถึง 1 ล้านตัน (เป็นปริมาณคงค้างที่ไม่สามารถน้าเข้าได้จากปัญหาขาดแคลนเงินสำรองในธนาคารอินเดีย 2 แห่งที่อิหร่านใช้ในการจ่ายค่าข้าวจากอินเดียแบบหักบัญชี+ความต้องการในช่วงเทศกาลสำคัญ)โดยเริ่มนำเข้าจากเดือนมีนาคมดึงเดือนกรกฎาคม 2021 ก่อนจะห้ามน้าเข้าชั่วคราวในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศระหว่างเดือนสิงหาคมพฤศจิกายน 2021

 

ทั้งนี้ ก่อนการคว่ำบาตรรอบล่าสุดภาคเอกชนอิหร่านได้นำเข้า "ข้าวหอมมะลิ" ของไทยไปจำหน่ายในอิหร่านในปริมาณค่อนข้างมากเนื่องจากมีคุณสมบัติและรสชาติที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมของอิหร่าน ท้าให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคพอสมควร  แต่ด้วยสาเหตุที่ข้าวหอมมะลิมีราคาค่อนข้างแพง ประกอบกับผู้บริโภคอิหร่านยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิกับข้าวขาวของไทย รัฐบาลอิหร่านโดยหน่วยงาน GTC จึงเลือกที่จะน้าเข้าข้าวขาวธรรมดาแทน ทำให้หลังการคว่ำบาตรเป็นต้นมา

 

“ข้าวขาวร้อยเปอร์เซ็นต์” จะเป็นข้าวที่อิหร่านนำเข้าจากไทยมากที่สุด และปี 2021 นี้ นับเป็นปีแรกที่ผู้บริโภคอิหร่านสามารถหาซื้อข้าวไทยได้ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถซื้อหาได้ง่ายในกรุงเตหะราน จะมีวางขายเฉพาะในร้านค้าสหกรณ์ของรัฐตามต่างจังหวัด หรือสั่งซื้อตามร้านค้าออนไลน์เท่านั้น