คิดและแก้ปัญหาสู่ความสำเร็จ แบบ Elon Musk

16 มี.ค. 2564 | 11:48 น.

สลิงชอท วิเคราะห์ 3 ขั้นตอน ความสามารถในการคิด และตีโจทย์ปัญหา นำ "อีลอน มัสก์" สู่ความสำเร็จ

จาก บริษัท เทสลา อิงค์ (Tesla Inc.) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ที่ยื่นรายงานต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐ (SEC) เมื่อวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ชื่อเรียกตำแหน่งอย่างเป็นทางการของ อีลอน มัสก์ ได้เปลี่ยนจาก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ เป็น Technoling of Tesla แล้วอย่างเป็นทางการ และยังเปลี่ยนตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน เป็น มาสเตอร์ ออฟ คอยน์ 

การเปลี่ยนชื่อเรียกตำแหน่งครั้งนี้ คาดว่ามีนัยสำคัญอะไรซักอย่าง เพียงแต่ยังไม่มีการชี้แจงที่ชัดเจนแต่อย่างใด  

แต่สำหรับนักบริหารที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นมนุษย์อัจฉริยะคนหนึ่งของโลกปัจจุบัน การเปลี่ยนแลงครั้งนี้ มีอะไรที่น่าจับตาแน่นอน 

นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร สลิงชอท กรุ๊ป กล่าวว่า อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เขาเกิดในประเทศแอฟริกาใต้ มีพ่อเป็นชาวแอฟริกัน แม่เป็นลูกครึ่งแคนนาดา–อเมริกัน ชีวิตในวัยเด็กหมกมุ่นอยู่กับคอมพิวเตอร์และเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วยตัวเอง จนสามารถเขียนโค้ดวิดีโอเกมขายได้ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ


เขาเป็นผู้ก่อตั้งธุรกิจ Pay Pal ก่อนที่จะขายให้กับ E Bay ไปในราคา 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แล้วมาก่อตั้งบริษัท Tesla บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง ปัจจุบันเขาสนใจธุรกิจยานอวกาศและกำลังทดลองโครงการ SpaceX ที่จะส่งคนไปดาวอังคาร

อีลอน มัสก์ มีความสามารถในการคิดและตีโจทย์ปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย ด้วยขั้นตอนง่ายๆ 3 สเต็ป

 1. Break Down Problem – แตกรายละเอียดของปัญหาให้ย่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

 2. Examine Assumptions – วิเคราะห์องค์ประกอบสำคัญของปัญหาที่แตกย่อยออกมา

 3. Create Solutions – สร้างนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ จากองค์ประกอบย่อยตามข้อ 2

ยกตัวอย่างให้ฟัง อาจเข้าใจได้ง่ายขึ้น ครั้งหนึ่ง อีลอน มัสก์อยากสร้างแบตเตอรี่ชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแต่ราคาถูกลง เพื่อมาใช้กับรถไฟฟ้าของเขา
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 1 : เขานำแบตเตอรี่ที่มีอยู่ท้องตลาดมาแกะออกดูว่า ข้างในมีส่วนประกอบอะไรบ้าง พบว่าประกอบไปด้วย Cobalt, Nickel, Aluminum และ Carbon เป็นต้น

 ขั้นที่ 2 : วิเคราะห์ส่วนประกอบแต่ละชิ้นว่ามันทำงานร่วมกันอย่างไร และราคาของชิ้นส่วนเหล่านั้นมีมูลค่าเท่าไร

 ขั้นที่ 3 : หลังจากพบว่า ส่วนประกอบแต่ละชิ้นมีราคาน้อยมากคิดเป็นเพียงแค่ไม่เกิน 20% ของราคาขายแบตเตอรี่ที่ทำสำเร็จแล้ว เขาจึงจ้างวิศวกรมาคิดวิธีการประกอบชิ้นส่วนและวัตถุดิบต่างๆ เข้าด้วยกัน จนกลายมาเป็นแบตเตอร์รี่แบบใหม่ ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3,000% แต่ราคาถูกลง 50%

แนวทางการคิดแบบนี้ คือเบื้องหลังความสำเร็จซ้ำแล้วซ้ำเล่าของอีลอน มัสก์ เขาเรียกวิธีการนี้ว่า The First Principle